ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบุกครองนอร์ม็องดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 18:
| หมายเหตุ =
}}
'''การรุกรานนอร์มังดี''' คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะ[[นาซีเยอรมนี]]ที่ประจำการอยู่ใน[[ยุโรปตะวันตก]] กับกองกำลัง[[สัมพันธมิตร]]กว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้าม[[ช่องแคบอังกฤษ]]มาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของ[[ประเทศอังกฤษ]] (ส่วนใหญ่มาจากเมือง[[พอร์ทสมัธ]]) มายังหัวหาด[[นอร์มังดี]]ใน[[ฝรั่งเศส]]ที่กองทัพเยอรมันยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผน[[ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด]] (Operation Overlord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ [[6 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2487]] โดยทหารสัมพันธมิตรเรียกวันนี้ว่า ''ดี-เดย์'' (D-Day)
 
กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วยทหารจากหลายประเทศด้วยกันได้แก่[[สหรัฐอเมริกา]] [[สหราชอาณาจักร]] และ[[แคนาดา]] นอกจากนี้ทหารจาก[[กองกำลังฝรั่งเศสเสรี]]และ[[โปแลนด์]]ก็ได้รวมเข้ากับกองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทหารที่ทำการจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตรหลังจากนั้นด้วย ได้แก่ [[เบลเยียม]] [[เชโกสโลวาเกีย]] [[กรีซ]] [[เนเธอร์แลนด์]] และ[[นอร์เวย์]]
บรรทัด 26:
แผนการครั้งนี้ ถูกกำหนดวันไว้คือวันที่ 5 มิถุนายน โดยจะมีพลร่มลงไปหลังแนวก่อน คือวันที่ 4 มิถุนายน แต่สภาพอากาศเลวร้าย จึงเลื่อนมาอีก 1 วัน เมื่อถึงเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน พลร่ม และเครื่องร่อนได้ลงหลังแนวรบ เพื่อตัดกำลัง และ คุมสะพาน ไม่ให้พวกเยอรมันที่อยู่หลังแนวรบ ส่งกำลังมาหน้าแนวได้ทัน ได้มีการทิ้งหุ่นพลร่มปลอมในบางจุดด้วย
 
เมื่อเช้าวันที่ 6 มิถุนายน กองทัพเรือขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ยาตราเข้ามาในอ่าวนอร์มังดี บนหาดมีเครื่องกีดขวางมากมาย ทำให้แม้แต่เรือเล็กก็ไม่สามารถเข้าหาตัวหาดได้มากนัก เมื่อขึ้นไปบนหาด ถูกต่อต้านโดยปืนใหญ่ ปืนกลหนัก เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนต่อต้านรถถังเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีรั้วลวดหนาม คูดักรถถัง และกับระเบิดบนหาด ทำให้เป็นการเสียชีวิตทหารมากมายก่อนจะยึดหัวหาดได้ โดยเฉพาะที่หาดโอมาฮ่า
 
แผนการของนายพลรอมเมล คือต้องการสร้างเครื่องกีดขวางและเครื่องป้องกันหาดต่างๆบนหาดให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อหาดถูกบุก หาดจะถูกป้องกันพวกพันธมิตร จะต้องตายคาหาด แต่ฮิตเลอร์ไม่เห็นด้วย ท่านเห็นว่าการตั้งรับควรจะอยู่หลังแนวหาดมากกว่า คือถ้าหาดถูกบุก ควรจะปล่อยให้พวกพันธมิตรเข้ามาในแผ่นดินยุโรบก่อน แล้วค่อยจัดการบนบกหลังแนวดีกว่า ด้วยความคิดของฮิตเลอร์นี้เอง นอร์มังดีจึงแตก
 
== ประวัติ ==
สงครามโลกครั้งที่สอง นั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ผู้นำของเยอรมนีได้ประกาศสงครามกับ[[โปแลนด์]]และสั่งเคลื่อนพลจำนวนมหาศาลบุกโปแลนด์ โดยใช้กลยุทธการบุกแบบ[[การโจมตีสายฟ้าแลบ]] (Blitzkrieg) ในวันที่ [[1 กันยายน]] [[พ.ศ. 2482]] (1939) และสามารถยึดโปแลนด์ได้อย่างรวดเร็ว ขอบเขตของสงครามได้ขยายออกไปเมื่อเยอรมนีประกาศสงครามและทำการบุก[[นอร์เวย์]] [[เดนมาร์ก]] [[เนเธอร์แลนด์]] [[เบลเยียม]] และ[[ลักเซมเบิร์ก]] จนกระทั่งกองทัพเยอรมันสามารถยึด[[ฝรั่งเศส]]ได้สำเร็จ ทำให้เยอรมนีเป็นผู้ครอบครอง[[ยุโรปตะวันตก]]ได้ทั้งหมด ยกเว้น[[เกาะบริเตนใหญ่]]ของ[[สหราชอาณาจักร]] ที่ในตอนนี้เป็นเพียงชาติเดียวที่เผชิญหน้ากับนาซีเยอรมัน และเสี่ยงต่อการถูกบุกโดยเยอรมนีมากที่สุด แต่ก่อนที่จะทำการบุกเกาะอังกฤษ กองทัพเยอรมันพยายามที่จะทำลายกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักรเสียก่อน เพื่อช่วงชิงความเหนือกว่าทางอากาศซึ่งจะทำให้การบุกเกาะอังกฤษง่ายยิ่งขึ้น และเปิด[[ศึกแห่งบริเตน]]กับสหราชอาณาจักร
 
ผลการรบที่ออกมากลับเป็นชัยชนะของสหราชอาณาจักรภายใต้การนำของ[[วินสตัน เชอร์ชิลล์]] ทำให้กองทัพอากาศนาซีอ่อนแอลงอย่างมากและเบนความสนใจจากการยึดเกาะบริเตนไปยัง[[ปฏิบัติการบาร์บารอสซา|การบุกสหภาพโซเวียต]]แทน เปิดโอกาสให้สหราชอาณาจักรได้ตั้งหลัก และผูกมิตรกับ[[สหรัฐอเมริกา]] และ[[สหภาพโซเวียต]]ที่ในขณะนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เมื่อกองทัพเยอรมันสามารถบุกทะลวงดินแดนโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว แต่ท้ายที่สุดแล้วสามารถยับยั้งกองทัพเยอรมันไว้ได้ที่[[ยุทธการแห่งมอสโก|มอสโก]] และเริ่มทำการโจมตีสวนกลับ จนสามารถยึดดินแดนโซเวียตที่เยอรมนียึดมาได้แทบทั้งหมด ในปี [[พ.ศ. 2486]] เยอรมนีกลับตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม และฝ่ายพันธมิตรที่มีกำลังแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มคิดแผนการที่จะตอบโต้การรุกรานของเยอรมนีด้วยการโจมตีส่วนใดส่วนหนึ่งของยุโรปตะวันตก ท้ายที่สุดในการประชุมที่เตหะราน ที่สามผู้นำหลัก ([[ประธานาธิบดี]][[แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์]]จากสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์จากสหราชอาณาจักร และ[[โจเซฟ สตาลิน]]จากสหภาพโซเวียตของฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงที่จะเปิดการโจมตีที่หัวหาดนอร์มองดีฝรั่งเศส ตามข้อเรียกร้องของโซเวียตขอให้เปิดแนวรบที่สอง เพื่อลดความกดดันแนวรบทางตะวันออก และเพื่อบีบให้ฝ่ายอักษะต้องกระจายกำลังออกไปทั้ง[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบตะวันออก]]และ[[แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|ตะวันตก]]