ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองซ้อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Makecat-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: eo:Staplo (komputado)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 4:
{{กล่องข้อมูล แบบชนิดข้อมูลนามธรรม
|ชื่อ=กองซ้อน
|ภาพ=
|description=
|order=''FILO (First In Last Out)''
|same=อนุญาตให้ซ้ำกันได้
|access=PUSH/POP
|accesstime=[[สัญกรณ์โอใหญ่|O(1)]]
|children=
}}
 
'''กองซ้อน''' หรือ '''สแต็ก''' ({{Lang-en|Stack}}) หมายถึง [[แบบชนิดข้อมูลนามธรรม]]ที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล ในการเข้า-ออกในลักษณะเข้าก่อนออกทีหลัง ''FILO (First In Last Out)'' กล่าวคือข้อมูลที่เข้าใหม่ๆจะได้ออกก่อน คล้ายกองที่ทับถมซึ่งสิ่งที่เข้ามาใหม่จะอยู่ด้านบนๆ จึงเรียกว่า กองซ้อน (stack) กองซ้อนมีการดำเนินการพื้นฐานเพียง 3 อย่าง ได้แก่ push, pop และ top กองซ้อน โดยที่การ push คือการใส่ข้อมูลลงไปในกองซ้อน ซึ่งจะกระทำได้หากกองซ้อนยังว่างอยู่ หากไม่มีที่ว่างในกองซ้อนเหลืออยู่หรือกองซ้อนเต็ม กองซ้อนนั้นจะอยู่ในสภาวะะสภาวะล้นหรือมากเกินเก็บ (overflow) การ pop คือการนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของกองซ้อน นอกจากนี้ การ pop จะเผยข้อมูลที่ถูกผิดอยู่ก่อนหน้า หรือทำให้กองซ้อนว่างได้ แต่ถ้ากองซ้อนนั้นว่างอยู่แล้ว การ pop จะทำให้อยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บ (underflow) (นั่นคือ ไม่มีข้อมูลให้นำออกแล้ว) การ top กองซ้อน จะดึงข้อมูลที่อยู่บนสุดและส่งค่านั้นให้ผู้ใช้โดยที่ไม่ได้ลบทิ้งไป การ top กองซ้อนอาจทำให้กองซ้อนอยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บได้เช่นกัน หากกองซ้อนว่างอยู่แล้ว
 
กองซ้อนจึงเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็น[[โครงสร้างข้อมูล]]ที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิการสร้าง subroutine การเรียงลำดับนิพจน์ ฯลฯ
บรรทัด 30:
 
 
การเก็บข้อมูลใหม่เข้าในกองซ้อนเรียกว่า PUSH ทำได้โดยการเพิ่มค่าดัชนีบนสุดของกองซ้อนไปหนึ่ง (increment)และเก็บข้อมูลใหม่ไว้ในดัชนีนั้น หรือเพิ่มเข้าไปที่ตัวแรกสุดของ[[รายการโยง]] การนำข้อมูลตัวบนสุดของกองซ้อนออกเรียกว่า POP ทำได้โดยการคืนค่าข้อมูลที่เก็บไว้ใน[[แถวลำดับ]] ดัชนีบนสุดและลดค่าดัชนีบนสุดลงมาอีกหนึ่ง(decrement) หรือเอาตัวแรกสุดของ[[รายการโยง]]ออก สำหรับ การหาตัวบนสุด(Top)นั้นก็ได้มาจากการคืนค่าข้อมูลในดัชนีบนสุดหรือข้อมูลตัวแรกสุดของ[[รายการโยง]]นั้นเอง
 
== ดูเพิ่ม ==