ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4268285 สร้างโดย OctraBot (พูดคุย)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 3:
== ประวัติ ==
=== จุดเริ่มต้น ===
จากหลักฐาน พฤติกรรมรักร่วมเพศมาตั้งแต่ในอดีต ในทางพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลได้มีเรื่องกล่าวขานเกี่ยวข้องไว้พอสมควร ทั้งในส่วน[[พุทธชาดก]] อีกทั้งภาพพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ในประเทศไทย
 
นอกจากนี้ในพระไตรปิฎก ยังได้ระบุคำสำคัญอย่าง "กะเทย" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะก์" ที่มีความหมายว่า "ชายที่มีราคะจัด ชอบประพฤตินอกรีตในการเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้ประพฤติตาม" และยังบัญญัติบุคคลที่ไม่สามารถบวชได้ในทางพุทธศาสนา "บันเฑาะก์" เป็นข้อห้ามที่ไม่ยินยอมให้บวช และใน[[ไตรภูมิพระร่วง]] ยังกล่าวถึงคน คนที่เกิดเป็นกะเทยเนื่องจากผลกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนๆ คือ เป็นชายที่ผิดเมียผู้อื่น ซึ่งหากตกนรกปีนต้นงิ้วแล้ว ยังต้องไปเกิดเป็นกะเทยอีก 1000 ชาติ จึงจะพ้นกรรม<ref>[http://gotoknow.org/blog/thaikm/151017 กะเทย / บั๊ณเฑาะก์ / ขันที / นักเทษ] gotoknow.org</ref>
 
คำว่ากะเทย (เขียนว่า "กเทย") ยังพบอยู่ใน "พะจะนะพาสาไท" ที่เขียนโดย [[พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์|บาทหลวงปาลเลอกัวซ์]] ในปี พ.ศ. 2397 โดยเป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า "Hermaphrodite"<ref>ปาลเลอกัวร์, พะจะนะพาสาไท (พระนคร : ม.ป.ท., 2397) </ref>
 
จากหลักฐานใน[[พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์]] ร.2 เขียนไว้เกี่ยวกับ พระสังฆราช[[วัดมหาธาตุ]]มีพฤติกรรม[[รักร่วมเพศ]]กับลูกศิษย์หนุ่ม ในการสัมผัสจับต้อง ลูบคลำอวัยวะเพศ ได้ถูกถอดจากสมณศักดิ์และเนรเทศให้ออกไปจาก[[วัดมหาธาตุ]]
 
อีกเหตุการณ์ในสังคมไทยในอดีต<ref>เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.2</ref> ในปี ค.ศ. 1634 อดีตเจ้าหน้าที่การค้าของฮอลันดา ประจำกรุงศรีอยุธยา ที่ชื่อนายโยส สเคาเต็น ถูกลงโทษประหารชีวิตโดยรัฐบาลฮอลแลนด์ที่เมือง[[ปัตตาเวีย]] ในข้อหามีพฤติกรรมรักร่วมเพศซึ่งเป็นความผิดอย่างร้ายแรงใน สังคมตะวันตก
 
โดยนายสเคาเต็นยอมรับสารภาพและอ้างว่า ได้รับตัวอย่างพฤติกรรมรักร่วมเพศจากคนในกรุงศรีอยุธยา แต่ถึงกระนั้น บันทึกและเรื่องบอกเล่าในหลักฐานของประวัติศาสตร์ไทยก็มีไม่มาก เนื่องจากเป็นพฤติกรรมน่ารังเกียจ น่าอับอาย เป็นเรื่องอัปมงคล สมควรแก่การปกปิดหากกระทำผิดต่อวงศ์ตระกูลและครอบครัว ในทัศนคติของสังคมสมัยนั้น
บรรทัด 18:
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีกรณีของ[[กรมหลวงรักษรณเรศร]] พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีคณะโขนละครในวังที่ผู้เล่นเป็นผู้ชายล้วน ได้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศกับบรรดาโขนละครที่เลี้ยงไว้ ไม่สนใจเลี้ยงลูกเมียจนเป็นที่รับรู้กันทั่วไป ทำให้เกิดขัดเคืองพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าให้ ถอดจากกรมหลวงให้เรียกว่า "หม่อมไกรสร" แล้วให้ไป[[สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์]]ที่[[วัดปทุมคงคา]]<ref>พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, กรมศิลปากร, 2538, น.131-132</ref> แต่อย่างไรก็ตาม บางกระแสก็ระบุว่าการตัดสินประหารชีวิต เป็นเหตุผลด้านการเมือง ว่าเป็นผู้มักใหญ่ใฝ่สูง มากกว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศ ส่วนพี่ชายของกรมหลวงรักษรณเรศร ก็เป็นผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ โดยไม่อยู่กินกับลูกเมียเช่นกัน แต่กลับไม่ถูกตำหนิหรือลงโทษแต่ประการใด
 
หลักฐานพฤติกรรมชายที่รักร่วมเพศ หรือที่เรียกว่า "เล่นสวาท" ยังปรากฏหลักฐานในประชุมประกาศในรัชกาลที่ 4 ที่บันทึกพฤติกรรมของพระภิกษุที่ว่า
 
"...บางจำพวกเป็นคนเกียจคร้าน กลัวจะเกณฑ์ให้ราชการ หลบลี้หนีเข้าบวชเป็นภิกษุ สามเณร อาศัยพึ่งพระศาสนาเลี้ยงชีวิต แล้วประพฤติอนาจารทุจริตต่างๆ จนถึงเล่นสวาทเป็นปาราชิกก็มีอยู่ โดยมาก..."<ref>พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า, ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2399-2400</ref>
 
โดยคำว่า "เล่นสวาท" ยังถูกใช้อย่างกว้างขวางในยุคนั้น ส่วนพฤติกรรมการ "เล่นเพื่อน" ที่เป็นพฤติกรรมของหญิงที่รักร่วมเพศ มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงชาววังเพราะอยู่รวมกันหลายคน จึงมีการประกาศใช้กฎมณเฑียรบาลข้อที่ 124 ดังความว่า "อนึ่งสนม กำนัลคบผู้หญิงหนึ่งกัน ทำดุจชายเป็นชู้เมียกัน ให้ลงโทษด้วยลวดหนัง 50 ที ศักคอประจานรอบพระราชวัง ที่หนึ่งให้เอาเป็นชาวสตึง ที่หนึ่งให้แก่พระเจ้าลูกเธอหลานเธอ" พฤติกรรมของผู้หญิงในพระราชสำนักเป็นที่โจษจัน มากจนในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเคยมีพระราชหัตถเลขากำชับสั่งพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทั้งหลายห้ามเล่นเพื่อนด้วย
 
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงออกออกกฎหมายที่พาดพิงถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศ อย่างเช่น [[ประมวลกฎหมาย]]ลักษณะ ร.ศ.127 ในส่วนที่ 6 ที่ว่าด้วยความผิดที่กระทำอนาจาร หมวดที่ 1 ความผิดฐานกระทำอนาจารเกี่ยวกับสาธารณะ มาตรา 124 ที่กล่าวว่า "ผู้ใดกระทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์ ด้วยชายก็ดี หญิงก็ดี หรือกระทำ ชำเราด้วยสัตว์เดียรฉานก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องรวางโทษติดคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป จนถึง 3 ปี แลให้ปรับตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไปถึง 500 บาทด้วยอิกโสด 1"<ref>กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ส่วนที่ 6 หมวดที่ 1 มาตรา 242, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, มร.5ย/24</ref>
 
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่สังคมได้ได้รับวัฒนธรรมตะวันตกค่อนข้างมาก พระองค์ยังทรงเข้าใจเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศได้เป็นอย่างดี ถึงขนาดทรงนิพนธ์บทความในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตของพระองค์ ในหัวเรื่อง "กะเทย" และ "ทำไมกะเทยจึงรู้มากในทางผัวๆ เมียๆ ?" ที่ให้ความรู้ อธิบายความเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่เกิดการรังเกียจหรือทำร้ายบุคคลในกลุ่มดังกล่าว
บรรทัด 31:
 
=== ยุคเริ่มต้นประชาธิปไตย ===
ในยุคนี้พฤติกรรมรักร่วมเพศ ได้เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปมากขึ้น ประชาชนสามารถสื่อสารเรื่องราวนี้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น[[หนังสือพิมพ์รายวันศรีกรุง]] ฉบับประจำวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ระบุว่ามีการเปิด[[ซ่อง]]ที่มีเฉพาะ[[โสเภณีชาย]]ของนายถั่วดำ หรือการุณ ผาสุก โดยนายถั่วดำล่อลวงเด็กชายวัย 10-16 ปี มาร่วมอยู่ด้วยใน[[ห้องแถว]]เช่า ตำบลตรอกถั่วงอก อำเภอป้อมปราบ พร้อมทั้งสอนวิธีสำเร็จความใคร่ให้กับเด็ก และให้เด็กสำเร็จความใคร่กับแขก ได้รับเงินค่าขายบริการเยี่ยงหญิงโสเภณี ซึ่งเรื่องราวของนายถั่วดำ ทำให้กลายเป็นคำสแลงที่เรียกพฤติกรรมรักร่วมเพศจนถึงปัจจุบัน<ref>[http://variety.teenee.com/foodforbrain/233.html จากถั่วดำถึงตุ๋ย]</ref>
 
อีกข่าวดัง จากการลงข่าวใน[[หนังสือพิมพ์สยามนิกร]] ประจำวันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2493 ที่รายงานถึงพฤติกรรมของเหล่านักโทษในคุก ที่มักเสพเมถุนทางทวารหนัก หรือ[[เว็จมรรค]] ทำให้เรื่องราวพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นที่รับรู้ในสังคมมากขึ้น และตอกย้ำถึงความผิดธรรมชาติ ผิดศีลธรรม โดยคนส่วนใหญ่ในยุคนั้น ถือกันว่าเป็นเรื่องงน่าอับอาย และน่ารังเกียจต่อผู้มีพฤติกรรมดังกล่าว
 
=== หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ===
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัย และตั้งบ้านเรือนย่านถนนสีลมและพัฒน์พงษ์ มากขึ้น เหล่าชาวต่างชาติได้นำวัฒนธรรมรักร่วมเพศอย่างตะวันตก เข้ามาเผยแพร่ด้วย
 
เช่น ใช้พื้นที่สวนสาธารณะต่างๆ ในย่าน[[สนามหลวง]] [[สะพานพุทธ]] [[สวนลุมพินี]] และ[[วังสราญรมย์]] แสดงความรักต่อกันโดยไม่อายสายตา หรือการรื่นเริงสังสรรค์ที่มีกะเทยแต่งตัวเป็นหญิง และจากข้อมูลในคอลัมน์ คุยเฟื่องเรื่องเซ็กส์" ของ[[ลุงหนวด]] ใน[[นิตยสารคู่ทุกข์คู่ยาก]] ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2526 เขียนไว้ว่า
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กะเทยไทยเริ่มออกค้าประเวณีกับทหารสหประชาชาติ ในสมัยนั้นสังคมไทยยังคิดว่า กะเทยเป็นกลุ่มเดียวเท่านั้นที่เป็นพวกรักร่วมเพศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 เริ่มมีธุรกิจการขายบริการทางเพศในประเทศไทย เพื่อสนองความต้องการให้กับชาวต่างชาติเป็นหลัก ตามย่านถนนสีลมและพัฒน์พงษ์ เป็นต้น ในข่าวจากหนังสือพิมพ์สยามนิกรในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2508 พูดถึงการกวาดล้างกะเทยที่มั่วสุม ขายบริการทางเพศ ย่าน[[ประตูน้ำ]] [[ถ.เพชรบุรี]] และ[[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] ทั้งยังก่อ[[อาชญากรรม]] โดยการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และฆ่าฝรั่งที่มาซื้อบริการทางเพศ
 
สีเสียด แห่ง[[หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ]] เขียนวิจารณ์ในคอลัมน์ "สารพันปัญหา" ว่า
"พฤติกรรมประเภทนี้เกิดขึ้นในสังคมไทย และเป็นความวิปริตหรือเป็นโรคจิตอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เป็นเพราะรับเอาวัฒนธรรมดังกล่าวมาจากประเทศตะวันตก ที่ยอมรับและชื่นชอบต่อพฤติกรรมดังกล่าวเข้ามาในสังคมไทย โดยชาวต่างชาติและคนไทยที่ไปศึกษาในต่างประเทศ เป็นผู้นำมาประพฤติปฏิบัติในสังคม อันถือว่าเป็นความเสื่อมทรามและไม่เหมาะสมในสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง"
 
ส่วนทางด้านงานวิชาการ ดร.ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า สื่อมวลชนมักนำเสนอเกย์ในสังคมไทยในเรื่องที่เสื่อมเสีย เช่นเรื่องอาชญากรรม การล่อลวงเด็ก การขายตัว ต่างชาติมาถ่ายภาพยนตร์และวิดีโอเกย์ลามกในประเทศไทย การระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มเกย์ ดังนั้นเกย์ในสังคมไทยยังไม่กล้าที่จะเปิดเผยตัวเองนัก และสังคมไทยยังสับสนกับกลุ่มผู้รักร่วมเพศ โดยมองว่ากลุ่มผู้รักร่วมเพศ เป็นพวกกะเทยหรือลักเพศมากกว่าความหมายทางด้านพฤติกรรมรักร่วมเพศ
 
=== ยุคสื่อสิ่งพิมพ์เฟื่องฟู ===
สื่อสิ่งพิมพ์ เริ่มได้รับความนิยมอย่างมาก โดย[[นิตยสารแปลก]] เป็นนิตยสารที่กลุ่มผู้รักร่วมเพศนิยมอ่านกันมากที่สุด โดยเฉพาะคอลัมน์ของ "[[โก๋ ปากน้ำ]]" ที่นำเสนอเรื่องเล่า การระบายความในใจ ประสบการณ์ การมีเพศสัมพันธ์แบบชายกับชาย ทำให้ "โก๋ ปากน้ำ" โด่งดัง และส่งผลทำให้ยอดจำหน่ายขายดีในท้องตลาด นิตยสารแปลกยังได้บัญญัติคำอย่าง "เกย์คิงและเกย์ควีน" ให้เป็นที่รู้จักในสังคมไทย
 
นิตยสารอื่นที่กำเนิดขึ้นมาเพื่อกลุ่มรักร่วมเพศ อย่าง "[[บีอาร์]]" ของ[[บุรินทร์ วงศ์สงวน]] นิตยสารสำหรับสตรี ที่มีรูปการตีพิมพ์ภาพหนุ่มหล่อกึ่งเปลือย และยังมีนิตยสารแนวเกย์เขียนโดย [[อาทิตย์ สุรทิน]] ควบคู่กันไป
 
และยังมี[[นิตยสารแมน]] "MAN" ของพจนาถ เกศจินดา ได้ปรากฏ ตัวเข้ามาเพื่อกลุ่มรักร่วมเพศโดยเฉพาะ ซึ่งมีภาพเปลือยของดาราชายพร้อมบทสัมภาษณ์เป็นจุดขาย นอกจากนี้ยังมีนิตยสารบันเทิงชื่อ "[[จักรวาลดาว]]" ของพิชัย สัตยพันธ์ ที่นำเสนอภาพกึ่งเปลือยของดาราชาย
 
ส่วน[[นิตยสารหนุ่มสาว]] ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับผู้ชายและผู้หญิง เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ บันเทิง และสาระความรู้ทั่วไป ที่ระยะหลังเริ่มตีพิมพ์ผู้ชายกึ่งเปลือยเพิ่มมากขึ้น และในปี 2524 ได้มีนิตยสารสำหรับกลุ่มเกย์และเลสเบียนโดยเฉพาะที่ชื่อ "เชิงชาย" ทั้งเนื้อหาและรูปภาพภายในของชายและหญิง ในปี 2526 นิตยสารมิถุนา ได้ออกมาสู่ท้องตลาด เป็นเล่มขนาดใหญ่ ต่อมา[[นิตยสารนีออน]] โดย ปกรณ์ พงษ์วราภา เป็นนิตยสารเกย์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2528
 
ในระยะนี้เกิดนิตยสารเกย์เป็นจำนวนมาก เช่น [[นิตยสารมรกต]] (ชื่อเดิมเพทาย) และเกสร ([[นิตยสารในเครือมิถุนา]]) ปี 2529 มิดเวย์ ปี 2530 Him ปี 2531 เกิดนิตยสาร My way และในปีต่อมาได้แก่ The Guy ในช่วงกลางศตวรรษที่ 2530 ต่อมาได้พัฒนาเป็นนิตยสารสำหรับผู้อ่านกลุ่มผู้รักร่วมเพศ ได้แก่ Violet ลับเฉพาะชาวสีม่วง เมล์ (Male) ฮีท (Heat) ไวโอเล็ท ฮอทกาย แมน และจีอาร์ เป็นต้น และในช่วงศตวรรษที่ 2540 มีนิตยสารออกหลายฉบับอย่างเอ็มคอร์ เคเอกซ์เอ็ม ดิ๊ก เอชเอ็มแอนด์เอ็ม เกย์ และแม็กซ์ เป็นต้น
บรรทัด 60:
=== กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสื่อ ===
[[ไฟล์:Nongthoomfairtex.jpg|thumb|น้องตุ้ม นักมวยสาวประเภทสอง]]
นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์ในยุคเริ่มต้นแล้ว สังคมไทยเริ่มเข้าใจต่อกลุ่มผู้รักร่วมเพศดีขึ้น แม้ในระยะแรกจะมีภาพทางลบ ในสื่อภาพยนตร์ยังถ่ายทอดเรื่องราว อย่างเรื่อง "เกมส์" ในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องเกย์เป็นครั้งแรก แต่นำเสนอเกี่ยวกับความเสียใจของผู้หญิง ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ชายที่เป็นเกย์
 
ต่อมา[[พิศาล อัครเศรณี]] นำเสนอภาพยนตร์เกี่ยวกับสาวประเภทสองคณะโชว์[[คาบาเร่ต์]]แห่งเมืองพัทยา เรื่อง "[[เพลงสุดท้าย]]" ภาคที่ 1 ในปี พ.ศ. 2528 และภาคที่ 2 ในปี พ.ศ. 2529 ต่อมา [[เสรี วงษ์มณฑา|ดร.เสรี วงษ์มณฑา]] นำเสนอละครเวทีที่โด่งดังอย่างมากเรื่อง "ฉันผู้ชายนะยะ" ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2516 เริ่มปรากฏ[[นวนิยาย]]เรื่อง "รักร่วมเพศ" ทั้งนำเสนอเรื่องราวของคนรักร่วมเพศโดยตรง และการนำมาใช้สร้างเป็นตัวละครในนวนิยาย<ref>[http://www.arts.chula.ac.th/~complit/thesis/thesis_th/2526.htm การใช้เรื่องรักร่วมเพศในนวนิยายไทย พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2525]</ref>
 
ส่วนละครโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์เช่น น้ำตาลไหม้ ชายไม่จริงหญิงไม่แท้ รักไร้อันดับ ซอยปรารถนา 2500 ท่านชายกำมะลอ ปัญญาชนก้นครัว รักเล่ห์เพทุบาย ไม้แปลกป่า เมืองมายา สะพานดาว กามเทพเล่นกล รัก 8009 เป็นต้น ที่มีนักแสดงบางส่วนเป็นเกย์และที่ไม่ได้เป็น มาสวมบทบาท