ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลีบ มหิธร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 7:
| birth_place = ตำบลสำราญราษฎร์
| death_date = [[พ.ศ. 2504]]
| death_place =
| residence =
| nationality =
| known_for =
| employer =
| occupation =
| term =
| parents = หมื่นนรารักษ์ (ปิ่น บางยี่ขัน)<br />นางหุ่น สนธิรัตน์
| spouse = [[เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)]]
| children =
| relatives =
| signature =
บรรทัด 23:
}}
 
'''ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร''' (สกุลเดิม '''บางยี่ขัน''', เกิด [[พ.ศ. 2419]] — ถึงแก่อนิจกรรม [[พ.ศ. 2504]]) ภรรยาของ[[เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)]] และเป็นมารดาของ[[ดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา|ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา]]
 
เธอเป็นผู้รจนาตำราอาหารชื่อ ''หนังสือกับข้าวสอนลูกหลานของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร'' ซึ่งถือเป็นตำราอาหารตำรับชาววังหนึ่งในสี่ตำรับ แต่ตำรับของท่านผู้หญิงกลีบมีลักษณะอันพิเศษ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในอาหารชาววังตำรับนี้<ref>สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 101</ref>
 
== ประวัติ ==
ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ ปีชวด [[พ.ศ. 2419]] ที่ตำบลสำราญราษฎร์<ref name="kleab">[http://www.reurnthai.com/index.php?action=printpage;topic=3287.0 เรือนไทย - ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร]</ref> เป็นธิดาของหมื่นนรารักษ์ (ปิ่น บางยี่ขัน) เจ้าของสวนแถบ[[บางยี่ขัน]] [[ธนบุรี|ฝั่งธนบุรี]] ส่วนมารดาชื่อนางหุ่น (สกุลเดิม สนธิรัตน์)<ref>สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 98</ref>
 
ท่านผู้หญิงเกิดและเติบโตในบ้านของเจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์) ที่ตำบลสำราญราษฎร์ โดยมีเจ้าจอมพุ่ม (สนธิรัตน์) ในรัชกาลที่ 3 เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ต่อมาเมื่อเจ้าจอมพุ่มถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจึงได้รับการอุปการะจาก[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจามรี|พระองค์เจ้าจามรี]] ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปุก (สนธิรัตน์) ในรัชกาลที่ 3<ref name="kleab"/>
 
แต่หลังการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าจามรี ท่านผู้หญิงจึงตกอยู่ในการอุปการะของ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี|พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี]] แต่ด้วยอัธยาศัยอันดีของท่านผู้หญิง เจ้าจอมมารดาท่านหนึ่งจึงมีดำริที่จะถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 4 ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของผู้เป็นบิดา บิดาจึงมารับตัวและมอบให้นางคำ บางยี่ขัน ผู้เป็นย่าเลี้ยงดูแทน<ref name="kleab"/>
 
== ชีวิตส่วนตัว ==
ท่านผู้หญิงกลีบเป็นสตรีผู้ที่มีรูปโฉมอันงดงาม ประกอบกิริยามารยาทอันดี แม้จะอาศัยอยู่ในสวนร่วมกับย่า แต่ก็มีความรู้และมีความสุภาพกว่าชาวบ้านทั่วไป<ref name="kleab"/>
 
ท่านผู้หญิงกลีบ ได้สมรสกับ[[เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)]]<ref>[http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/mahitorn.html พิพิธภัณฑ์ศาลไทย - เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)]</ref> ทั้งสองมีบุตรด้วยกันหลายคน หนึ่งในนั้นคือ [[ดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา|ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา]]
บรรทัด 43:
ท่านผู้หญิงกลีบ ได้ถึงแก่อนิจกรรม และพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ [[วัดเทพศิรินทราวาส]] ในเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2504]]<ref>[http://wimon141.tarad.com/product.detail.php?id=2347647?lang=th&lang=th ร้านหนังสือเก่าป้าวิมล]</ref>
 
== ตำรับอาหาร ==
ท่านผู้หญิงกลีบมีความสามารถในการทำอาหาร และต้องการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้แก่ลูกหลาน จึงได้เขียนตำราอาหารขึ้น มีชื่อว่า ''หนังสือกับข้าวสอนลูกหลานของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร'' ซึ่งมีวัตถุประสงค์โดยตรงคือเพื่อถ่ายทอดสู่ลูกหลาน โดยตำรับอาหารดังกล่าวถือเป็นมรดกตกทอดของสกุลไกรฤกษ์และสกุลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง<ref>สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 99</ref>
 
อาหารในตำราของท่านผู้หญิงกลีบเป็นอาหารประเภทข้าวหลายชนิดที่มีกลิ่นอายของอาหารจีนที่ถูกปรับใช้เป็นอาหารไทยมากมายหลายชนิด เช่น ข้าวต้มกุ้ง. ข้าวต้มปลา, ข้าวต้มเนื้อไก่ (เซ่งจี๊ ตับเหล็ก), ข้าวผัดเต้าหู้ยี้ และข้าวผัดลูกหนำเลี๊ยบหรือหนำพ๊วย เป็นต้น<ref name="kleab1">สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 100</ref> ทั้งมีการบันทึกอาหารขึ้นชื่อประจำตระกูลไกรฤกษ์ คือ แกงบวน<ref name="kleab1"/> และนอกจากนี้ยังมีอาหารพิเศษ ที่ผสมผสานความเป็นไทย, จีน และแขกด้วยกัน คือ แกงจีจ๋วน ซึ่งเป็นแกงกะทิใส่ไก่มีเครื่องแกงแดง แต่ใส่โป๊ยกั๊กของจีน, ขมิ้นผงของแขก, ส้มซ่าของไทย และพริกหยวก<ref name="kleab1"/>
 
อย่างไรก็ตามตำรับอาหารของท่านผู้หญิงกลีบ ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของอาหารจีนในอาหารไทยที่ปรากฏในอาหารทั้งคาวและหวาน แต่อาหารตะวันตกก็มีอิทธิพลในตำราของท่านด้วยเช่นกันแม้จะไม่มากเท่าอิทธิพลของจีนก็ตาม ซึ่งอิทธิพลอาหารจีนถือเป็นอิทธิพลเฉพาะที่มาจากสายตระกูลไกรฤกษ์ที่สืบเชื้อสายมาแต่[[ประเทศจีน]]<ref>สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 101</ref>
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 2nd Class lower (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น [[ทุติยจุลจอมเกล้า]] เมื่อ พ.ศ. 2465<ref name="พ.ศ. 2465">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2465/D/2347.PDF พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า], เล่ม ๓๙, ตอน ๐ ง, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕, หน้า ๒๓๔๗ </ref>
* [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 3rd Class lower (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น [[ตติยจุลจอมเกล้า]] เมื่อ พ.ศ. 2455<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1783.PDF วันที่ ๙ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐], เล่ม ๒๘, ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๑๗๙๗ </ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}