ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระดูกไหปลาร้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Justincheng12345-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: nn:Kragebein
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 16:
ใน[[กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์]] '''กระดูกไหปลาร้า''' ({{lang-en|Clavicle}}) เป็น[[กระดูกแบบยาว]] (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของ[[กระดูกส่วนไหล่]] (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าใน[[ภาษาอังกฤษ]] ''Clavicle'' เป็นคำที่มาจาก[[ภาษาลาติน]] ''clavicula'' ซึ่งแปลว่า ''กุญแจเล็กๆ'' เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่[[แขน]]กางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมี[[ไขมัน]]ในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า
 
นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบใน[[สัตว์สี่ขา]] (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วน[[รยางค์]]หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง
 
กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว
 
กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป
บรรทัด 31:
=== ลักษณะทั่วไป ===
กระดูกไหปลาร้าเป็นกระดูกแบบยาวที่มีแนวโค้งสองแนว ทำให้มีรูปร่างคล้ายตัว S และเชื่อมระหว่างส่วนลำตัวและส่วนแขนของร่างกาย เราจึงแบ่งส่วนของกระดูกไหปลาร้าได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ ตามปลายทั้งสองด้านของกระดูก ได้แก่
* '''ปลายด้านกระดูกอก''' (sternal end) มีลักษณะกลมมนและมีลักษณะโค้งออกมาทางด้านหน้า ติดต่อกับ[[กระดูกอก]]โดย[[ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์]] (sternoclavicular joint)
* '''ปลายด้านกระดูกสะบัก''' (acromion end) มีลักษณะแบนออกและโค้งเว้าไปทางด้านหลัง และยังมีรอยต่างๆบนกระดูกจำนวนมาก เนื่องจากมี[[เอ็น]]และ[[กล้ามเนื้อ]]หลายมัดที่มายึดเกาะกับกระดูกไหปลาร้าในบริเวณนี้ โดยเฉพาะเอ็นของ[[ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์]] (acromioclavicular) ซึ่งติดต่อกับส่วน[[อโครเมียน]] (acromion) ของ[[กระดูกสะบัก]] (scapula)
 
บรรทัด 40:
<br clear="all">
{| class="wikitable"
| '''พื้นผิวบนกระดูกไหปลาร้า''' || '''กล้ามเนื้อ/เอ็น''' || '''บริเวณที่เกาะบนกระดูก'''
|-
| พื้นผิวด้านบนและขอบด้านหน้า || [[กล้ามเนื้อเดลทอยด์]] (Deltoid muscle) || [[ปุ่มเดลทอยด์]] (deltoid tubercle) ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของปลายด้านกระดูกสะบัก
|-
| พื้นผิวด้านบน || [[กล้ามเนื้อทราพีเซียส]] (Trapezius muscle) || ปลายทางด้านกระดูกสะบัก เยื้องไปทางด้านหลัง
|-
| พื้นผิวด้านล่าง || [[กล้ามเนื้อใต้ไหปลาร้า]] (Subclavius muscle) || [[ร่องใต้ไหปลาร้า]] (Subclavian groove)
|-
| พื้นผิวด้านล่าง || [[เอ็นโคนอยด์]] (Conoid ligament) ซึ่งเป็นเอ็นด้านแนวกลางของ[[เอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์]] || [[ปุ่มโคนอยด์]] (conoid tubercle)
|-
| พื้นผิวด้านล่าง || [[เอ็นทราพีซอยด์]] (Trapezoid ligament) ซึ่งเป็นเอ็นด้านข้างของ[[เอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์]] || [[แนวทราพีซอยด์]] (trapezoid line)
|-
| ขอบด้านหน้า || [[กล้ามเนื้อเพคทอราลิส เมเจอร์]] (Pectoralis major muscle) || ปลายด้านกระดูกอก
|-
| ขอบด้านหลัง || ปลายส่วนกระดูกไหปลาร้าของ[[กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์]] (Sternocleidomastoid muscle) || ทางด้านบนของส่วนกลางของกระดูก
|-
| ขอบด้านหลัง || [[กล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์]] (Sternohyoid muscle) || ทางด้านล่างของส่วนกลางของกระดูก
|-
| ขอบด้านหลัง || [[กล้ามเนื้อทราพีเซียส]] (Trapezius muscle) || ปลายทางด้านกระดูกสะบัก
|}