ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบทูด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 21:
มีลักษณะ ปลายปากเรียวแหลมจนเห็นได้ชัด ส่วนลำตัวอ้วนใหญ่ ผิวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่สะดุดตาดูคล้ายเป็นผิวหนังเรียบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง ริมฝีปากดำ มีขีดดำจากท้ายตาลากมาจนถึงเหนือวงแก้วหู บริเวณสีข้างอาจมีลาย หรือจุด[[สีดำ]] [[สีน้ำตาล|น้ำตาล]]เข้ม ส่วนขามีลายเข้มคาด เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่ามันสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวไปตามที่อยู่อาศัย เช่น ลำตัวของมันจะมีสีน้ำตาลแดงเมื่ออาศัยอยู่ตามพงหญ้าแห้ง หรือมีสีดำเมื่อหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ กบทูดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหากินตอน[[กลางคืน]] ชอบสภาพอากาศค่อนข้าง[[เย็น]] เวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดทึบ เช่น โพรงไม้, หลุม, พงหญ้า บริเวณเหล่านี้ล้วนมีสภาพ[[ชุ่มชื้น]]อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกบทูดไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งหรือร้อนจัดได้นาน เพราะสภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง อาจทำให้[[ตาย]]ได้
 
ความแตกต่างเพศผู้เพศเมีย สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู ตัวผู้จะมีระยะห่างดังกล่าวนี้ยาวกว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
 
ฤดู[[ผสมพันธุ์]]ของกบทูดอยู่ระหว่างเดือน[[มกราคม]]-[[มีนาคม]] เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่มันขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร
บรรทัด 27:
กบทูด จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ใน[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]] แต่จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ <ref>[http://www.ubonzoo.com/law/law_department/law_department6.htm กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535]</ref>
 
ปัจจุบัน กบทูดเป็นสัตว์ที่หายากชนิดหนึ่งในประเทศไทย อันเนื่องจาก[[สิ่งแวดล้อม|สภาพแวดล้อม]]และถิ่นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็น[[สัตว์เศรษฐกิจ]] โดยทาง[[กรมประมง]] เช่น [[สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน ]] สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ<ref>[http://www.fisheries.go.th/sf-maehongson/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=17&Itemid=22 เขียดแลว]</ref>
และกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้วในขณะนี้<ref>[http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0544010545&srcday=2008/05/15&search=no การเพาะเลี้ยงกบทูด หรือกบภูเขา หรือเขียดแลว]จาก[[มติชน]]</ref>
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กบทูด"