ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎอัยการศึก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: et:Kaitseseisukord
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 6:
กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่มีอยู่ในเวลาปกติ แต่ไม่ได้ใช้บังคับ โดยเมื่อจะใช้บังคับจะต้องประกาศ และกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับ ในหลายประเทศจะไม่มีการตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น [[สหรัฐอเมริกา]] [[อังกฤษ]] ในบางประเทศจะตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น [[ฝรั่งเศส]] [[ไทย]]
 
กฎอัยการศึก ในประเทศอังกฤษเริ่มใช้เมื่อ [[ค.ศ. 1628]] (พ.ศ. 2151) และฝรั่งเศสมีกฎอัยการศึกใช้ตั้งแต่ [[ค.ศ. 1849]] (พ.ศ. 2392)
 
กฎอัยการศึกของไทย มีศักดิ์เทียบเท่ากับ [[พระราชบัญญัติ]] ตราขึ้นครั้งแรกในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อ [[พ.ศ. 2450]] เรียกว่า '''กฎอัยการศึก ร.ศ. 126''' มีทั้งสิ้น 9 มาตรา โดยถอดแบบมาจากกฎอัยการศึกของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาใน [[พ.ศ. 2457]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงเห็นว่าอำนาจของทหารตามกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 นั้นยึดตามแบบฝรั่งเศส แต่ไทยใช้[[ตำราพิชัยสงคราม]]ตามแบบ[[อินเดีย]] ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงทรงยกเลิกกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 และตรา '''กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457'''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/A/388.PDF พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗]</ref> ขึ้นใช้แทน มีทั้งสิ้น 17 มาตรา และยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมรวม 5 ครั้ง