ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มวยสากล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Jack Johnson1.jpg|thumb|200px|right|แจ๊ค จอห์นสัน แชมป์โลกเฮฟวี่เวทผิวดำคนแรกของโลก]]
'''มวยสากล''' ({{lang-en|Boxing}}) เป็นศิลปะการต่อสู้ชนิดหนึ่งที่สู้กันด้วยหมัดทั้ง 2 ข้าง มีการแข่งขันตั้งแต่สมัย[[กีฬาโอลิมปิก]]ยุคโบราณ และเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน
 
== กำเนิดมวยสากล ==
มวยสากลเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีมาแต่โบราณ โดยเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของทหารในสนามรบ และกลายเป้นเกมกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิคยุคโบราณ โดยที่นักมวยในยุคนั้นไม่มีการจำกัดน้ำหนัก ไม่สวมเครื่องป้องกันตัว และไม่จำกัดว่าต้องใช้ได้เพียงหมัด สามารถกัดหรือถองคู่ต่อสู้ได้ โดยไม่มีกติกามากนัก เพียงแต่นักมวยทั้งคู่ต้องถอดเสื้อผ้าให้หมดทั้งตัว เพื่อไม่ให้ซ่อนอาวุธเอาไว้ จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2236]] [[เจมส์ ฟิกซ์]] (James Figg) ผู้ชนะเลิศการต่อสู้ด้วยมิอเปล่าชาวมือเปล่าชาว[[อังกฤษ]]ได้กำหนดกฎกติกาในการชก จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น " บิดาแห่งมวยสากล " และต่อมาก็ได้มีผู้สร้าง[[นวม]]ขึ้นมา แต่ยังไม่มีการใช้ จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2432]] [[จอห์น แอล ซัลลิแวน]] (John L. Sulrivan) ผู้ชนะเลิศการชิงแชมป์มวยด้วยมือเปล่า ประกาศว่าจะไม่ขอขึ้นชกด้วยมือเปล่าอีกต่อไป เป็นจุดเริ่มต้นของการชกด้วยการสวมนวม และได้พัฒนาจนมาเป็นเกมกีฬาที่มีกติกาชัดเจนเช่นในปัจจุบัน
 
== มวยสากลในทวีปเอเชีย ==
เส้น 18 ⟶ 19:
ในประเทศญี่ปุ่นมีการตั้งสมาคมมวยแห่งญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2489 และเปลี่ยนเป็น[[คณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่น]]ใน พ.ศ. 2495 ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์ก็มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นดูแลกีฬามวยสากลอย่างเป็นทางการส่วนในระดับภูมิภาค ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และ[[ไทย]] ทั้ง 3 ประเทศนี้เป็นประเทศร่วมก่อตั้ง[[สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก]] (OPBF)
 
บุคคลสำคัญในวงการมวยสากลเอเชียยุคเริ่มต้นได้แก่ ยูจิโร วาตานาเบ้ นักมวยที่ผันตัวเองเป็นโปรโมเตอร์ วาตานาเบ้ไปชกมวยในสหรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2453 กลับมาโตเกียวเมื่อ พ.ศ. 2464 และตั้งค่ายมวยขึ้น คนอื่นๆที่มีบทบาทสำคัญคือ ซัม อิชิโนเซะ ชาวฮาวาย เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2451 มีพ่อแม่เป็นชาวญี่ปุ่น เขาเข้าสู่วงการมวยโดยเริ่มจากการเป็นเทรนเนอร์ ช่วงหลังสงครามโลกเขาได้เปลี่ยนมาเป็นโปรโมเตอร์และผู้จัดการ อีกคนคือ[[โลเป ซาเรียล]] นายหน้าและผู้จัดการนักมวยชาวฟิลิปปินส์ที่มีส่วนสร้างนักมวยระดับแชมป์โลกหลายคน เช่น [[แฟลซ อีลอสเด้]] [[โยชิโอะ ชิราอิ]] และแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์
 
 
 
=== มวยสากลในประเทศไทย ===
เส้น 51 ⟶ 50:
ค่ายมวยสากลในประเทศญี่ปุ่น เกิดขึ้นครั้งแรกที่[[กรุงโตเกียว]] เมื่อ [[พ.ศ. 2464]] โดยนักมวยชาวญี่ปุ่นชื่อ ยูจิโร่ วาตานาเบ้ ซึ่งเคยผ่านการชกที่[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]มาก่อน จนได้รับการขนานนามว่า "ราชันย์สี่ยก" ต่อมาใน [[พ.ศ. 2495]] [[โยชิโอะ ชิราอิ]] ได้ประสบความสำเร็จเป็นนักมวยชาวญี่ปุ่นรายแรกที่ได้เป็นแชมป์โลก
 
วงการมวยสากลของญี่ปุ่นถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดในช่วง[[คริสต์ทศวรรษ 1960]] ถึง[[คริสต์ทศวรรษ 1970]] เมื่อ [[ไฟติ้ง ฮาราด้า]] สามารถครองแชมป์โลกได้ถึง 2 รุ่น คือ [[ฟลายเวท]]และ[[แบนตั้มเวท]]ในเวลาต่อมา ซึ่งฮาราด้าได้มีชื่อบรรจุอยู่ใน[[หอเกียรติยศ]]ของวงการมวยสากลระดับนานาชาติด้วย ซึ่งฮาราด้าสามารถที่จะเอาชนะ [[อีดอร์ โจเฟร่]] นักมวยชาวบราซิล ซึ่งก็มีชื่อบรรจุอยู่ในหอเกียรติยศด้วยเช่นกัน และได้รับการยอมรับว่าเป็นนักมวยรุ่นแบนตั้มเวทที่ดีที่สุดในโลกในขณะนั้น
 
ต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และ[[คริสต์ทศวรรษที่ 1980]] ต่อมาถึง[[คริสต์ทศวรรษที่ 1990]] และจนถึงปัจจุบัน มีนักมวยญี่ปุ่นหลายรายได้เป็นแชมเปี้ยนโลก เช่น [[โยโกะ กูชิเก้น]] ซึ่งเป็นแชมป์โลกในรุ่น[[ไลท์ฟลายเวท]]ของ[[สมาคมมวยโลก]] (WBA) เป็นนักมวยที่ป้องกันแชมป์ได้ 13 ครั้งนับว่าสูงสุดของวงการมวยญี่ปุ่นด้วย, [[จิโร วาตานาเบ้]] ได้เป็นแชมป์โลกในรุ่น[[ซูเปอร์ฟลายเวท]]ถึง 2 สถาบัน, [[คัตสุย่า โอนิซูกะ]] แชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทของสมาคมมวยโลก และ[[โจอิชิโร่ ทัตสุโยชิ]] แชมป์โลกในรุ่น[[แบนตั้มเวท]]ของ[[สภามวยโลก]] (WBC) 2 สมัย นับเป็นนักมวยที่สามารถเรียกผู้ชมใน[[วัยรุ่น]]และกลุ่มคนที่ไม่ได้ชื่นชอบกีฬาประเภทนี้ให้มาสนใจขึ้นได้
 
โดยแชมป์โลกในรุ่นใหญ่ที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นเคยมี คือ [[ชินจิ ทาเคฮาร่า]] ในรุ่น[[มิดเดิลเวท]]ของสมาคมมวยโลก แม้จะเป็นแชมป์โลกในเวลาสั้น ๆ ใน [[พ.ศ. 2538]] ก็ตาม
 
โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลการชกมวยสากลในประเทศญี่ปุ่น คือ คณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่น (JBC) ที่ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2495 นับเป็นหน่วยงานที่ค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องการดูแลสุขภาพและคุณภาพของนักมวยและการแข่งขัน โดยให้การยอมรับสถาบันมวยสากลเพียง 2 สถาบันเท่านั้น คือ สมาคมมวยโลก (WBA) กับสภามวยโลก (WBC) เท่านั้น แม้จะมีนักมวยบางรายที่ขึ้นชกในรายการของสถาบันอื่น เช่น [[สหพันธ์มวยนานาชาติ]] (IBF), [[องค์กรมวยโลก]] (WBO) หรือสถาบันอื่น ๆ แต่นั่นก็มิได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการชุดนี้
 
นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่น ได้รับยอมรับสถาบันระดับภูมิภาค คือ สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (OPBF) โดยนักมวยที่ได้แชมป์ของ OPBF จะมีชื่ออยู่ในอันดับโลก 10 อันดับในแต่ละรุ่นของสภามวยโลกทันที
 
นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหน่วยงานหนึ่งที่กำกับดูแลการชกมวยในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน คือ สหพันธ์มวยนานาชาติญี่ปุ่น (IBF) แต่หน่วยงานนี้ไม่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจาก[[สื่อมวลชน]]และบุคคลในวงการมวยเท่าที่ควร
 
ซึ่งการกำกับดูแลคุณภาพของการชกมวยสากลในประเทศญี่ปุ่นนั้น ทางคณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่นมีกฎเกณฑ์ดังนี้ คือ ค่ายมวยที่ตั้งขึ้นใหม่จะต้องบังคับจ่ายเงินเป็นจำนวน 10 ล้าน[[เยน]]แก่คณะกรรมการฯ ทั้งนี้เพื่อมิให้มีค่ายมวยเกิดขึ้นอย่างไม่มีมาตรฐาน และเป็นการดูสถานภาพการเงินของค่ายมวยแต่ละรายด้วย อีกทั้งการขึ้นชกของนักมวยแต่ละรายจะต้องได้รับการอนุญาตและตรวจสุขภาพทั้งก่อนและหลังชก เพื่อดูแลมิให้นักมวยได้รับบาดเจ็บหรือ[[ทุพพลภาพ]]จนเกินไปนั่นเอง