ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
* การศึกษาเอกเทศโดยทั่วไปถือว่ายังไม่แน่นอน และอาจเปลี่ยนแปลงได้หากมีการวิจัยทางวิชาการเพิ่มเติม ความน่าเชื่อถือของการศึกษาเอกเทศขึ้นอยู่กับสาขา การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ซับซ้อนและยากจะเข้าใจ อย่างแพทยศาสตร์ จะมีความสมบูรณ์น้อยกว่า หลีกเลี่ยงการให้น้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมเมื่อใช้การศึกษาเอกเทศในสาขาเหล่านี้ ควรเลือกการวิเคราะห์อภิมาน ตำราเรียนและบทความที่ได้รับการทบทวนทางวิชาการแทนเมื่อหาได้ เพื่อให้บริบทที่่เหมาะสม
* ควรระมัดระวังกับวารสารที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนมุมมองใดมุมมองหนึ่งเป็นหลัก การอ้างว่าผ่านการพิจารณากลั่นกรองมิใช่ตัวบ่งชี้ว่าวารสารนั้นได้รับความน่าเชื่อถือ หรือมีการพิจารณากลั่นกรองที่มีความหมายเกิดขึ้นแต่อย่างใด วารสารที่ไม่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยชุมชนวิชาการอย่างกว้างขวางไม่ควรถือว่าน่าเชื่อถือ ยกเว้นเพื่อแสดงให้เห็นมุมมองของกลุ่มที่วารสารเหล่านั้นเป็นตัวแทน
 
=== องค์การข่าว ===
แหล่งข้อมูลข่าวมักมีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น "การรายงานข่าว" จากสำนักข่าวที่มั่นคงโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่ามีคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ แต่การรายงานที่น่าเชื่อถือที่สุดก็ยังมีข้อผิดพลาดได้บางครั้ง การรายงานข่าวจากสำนักข่าวที่มั่นคงน้อยกว่าโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่าเป็นคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือน้อยกว่า ความเห็นบรรณาธิการ การวิเคราะห์และความเห็น ไม่ว่าจะเขียนขึ้นโดยบรรณาธิการของสิ่งพิมพ์เผยแพร่นั้น ([[บทบรรณาธิการ]]) หรือผู้ประพันธ์ภายนอก (บทความต่างความเห็นต่อบทบรรณาธิการ [op-ed]) เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่น่าเชื่อถือแก่คำแถลงที่เป็นของบรรณาธิการหรือผู้ประพันธ์นั้น แต่แทบไม่เป็นคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ
 
{{โครงวิกิพีเดีย}}