ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18:
 
คำว่า "ตีพิมพ์" เกี่ยวข้องมากที่สุดกับเนื้อหาที่เป็นข้อความ ไม่ว่าจะในรูปแบบตีพิมพ์ดั้งเดิมหรือออนไลน์ อย่างไรก็ดี เนื้อหาเสียง วีดิทัศน์และมัลติมีเดียที่ถูกบันทึกแล้วแพร่สัญญาณ แจกจ่ายหรือเก็บไว้โดยผู้ที่น่าเชื่อถือ (reputable party) ยังอาจเข้าเกณฑ์ที่จำเป็นที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อความ แหล่งข้อมูลสื่อต้องถูกผลิตโดยบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ และมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น ต้องมีสำเนาที่เก็บไว้ของสื่อนั้นอยู่ด้วย จะเป็นการสะดวกสำหรับสำเนาที่เก็บไว้ที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ไม่จำเป็น
 
== แหล่งข้อมูลบางชนิด ==
บทความวิกิพีเดียหลายบทอาศัยเนื้อหาวิชาการ เมื่อหาได้ สิ่งตีพิมพ์วิชาการและที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรอง (peer review) เอกสารเฉพาะเรื่องเชิงวิชาการและตำราเรียนโดยทั่วไปเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด อย่างไรก็ดี เนื้อหาวิชาการบางอย่างอาจล้าสมัย แข่งขันกับทฤษฎีทางเลือก หรือเป็นที่พิพาทในสาขาที่เกี่ยวขข้อง พยายามอ้างความเห็นส่วนใหญ่เชิงวิชาการที่เป็นปัจจุบันเมื่อหาได้ แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้มักไม่เกิดขึ้น แหล่งข้อมูลมิใช่เชิงวิชาการที่น่าเชื่อถือยังอาจใช้ในบความเกี่ยวกับประเด็นวิชาการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่กระแสหลักคุณภาพสูง การตัดสินใจว่าแหล่งข้อมูลใดเหมาะสมขึ้นอยู่กับบริบท เนื้อหาควรมีการอ้างอิงในเนื้อความ (in-text) เมื่อแหล่งข้อมูลขัดแย้งกัน
 
{{โครงวิกิพีเดีย}}