ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟร็องซัว เดอ ซาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sasakubo (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: ลดจำนวนท่าน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
 
== ประวัติ ==
นักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล เกิดในตระกูลขุนนางใน[[ดัชชีซาวอย]] ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ด้วยความที่เป็นบุตรคนโตในบุตรทั้ง 6 คน บิดาจึงตั้งใจจะให้ทำงานตุลาการศาลล่างและส่งไปเรียนที่วิทยาลัยในเมือง[[ลา โรช]] และ[[อ็องเนอซีอานซี]] เมื่ออายุได้ 16 ปี เดอ ซาลก็เข้าเรียนด้าน[[วาทศิลป์]]และ[[มนุษยศาสตร์]]ที่ Collège de Clermont ขณะอยู่ที่นี่ได้เข้าร่วมการอภิปรายด้าน[[เทววิทยา]] และเกิดความสงสัยเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง[[เทวลิขิต]] และทุกข์ใจมากจนล้มป่วย จนที่สุดในปี ค.ศ. 1587 จึงตัดสินใจอุทิสตนต่อพระเจ้าโดยเชื่อว่าความรักของพระองค์ย่อมนำสิ่งที่ดีมาสู่มนุษย์ทุกคนรวมทั้งตัวเอง จนปี ค.ศ. 1588 ได้ย้ายไปเรียน[[นิติศาสตร์]]และ[[เทววิทยา]]ที่มหาวิทยาลัย[[ปาดัวโดวา]] [[ประเทศอิตาลี]]จนจบปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1592
 
หลังจบการศึกษา บิดาของเดอ ซาลได้ปูทางชีวิตขุนนางให้โดยเตรียมแต่งตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิกแห่งช็องเบรี และหาสตรีสูงศักดิ์มาเป็นคู่สมรส<ref name="CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: St. Francis de Sales">[http://www.newadvent.org/cathen/06220a.htm CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: St. Francis de Sales]. Catholic encyclopedia. เรียกข้อมูลวันที่ 22 ก.ย. พ.ศ. 2553</ref> แต่แผนการทั้งหมดก็ต้องล้มเหลวเพราะเดอ ซาลตัดสินใจจะบวชเป็นบาทหลวง บิดาต้องจำใจยอมรับการตัดสินใจของบุตรเพราะ[[บิชอป]]โกลด เดอ กรานีแยร์ (Claude de Granier) บิชอปแห่งเจนีวาในขณะนั้นได้เข้าช่วยเดอ ซาล โดยให้เขาได้รับ[[ศีลอนุกรม]]เป็น[[บาทหลวง]]จนสำเร็จแล้วแต่งตั้งให้เป็น[[อธิการ]]อาสนวิหารเจนีวา (ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญรองจากบิชอป) ในปี ค.ศ. 1593<ref name="St. Francis de Sales">[http://www.catholic.org/saints/saint.php?saint_id=51 St. Francis de Sales]. Catholic online. เรียกข้อมูลวันที่ 22 ก.ย. พ.ศ. 2553</ref>
 
== การงาน ==
นับตั้งแต่มี[[การปฏิรูปศาสนา]] จนก่อให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้น ชาวเจนีวาจำนวนมากได้หันไปเข้ารีตความเชื่อใหม่นี้ ส่งผลให้อาสนะของบิชอปแห่งเจนีวาซึ่งเป็นสัญลักษณ์อำนาจของนิกายคาทอลิกต้องถูกย้ายไปตั้งที่เมืองอ็องเนอซีอานซี แคว้นซาวอยแทน เดอ ซาลในฐานะที่เป็นบาทหลวงก็ได้เผยแผ่ศาสนาอย่างแข็งขัน สามารถเข้าถึงคนยากจน รู้จักพัฒนาภาษาสัญลักษณ์เพื่อใช้เทศน์ให้กับคนหูหนวก เป็นต้น จนสามารถนำชาวโปรเตสแตนต์ให้หันกลับมาสู่ความเชื่อเดิม (เป็นคำที่เดอ ซาล ใช้หมายถึงแนวทางของคาทอลิก) ได้เป็นจำนวนมาก
 
ในปี ค.ศ. 1602 บิชอปแห่งเจนีวาถึงแก่กรรม เดอ ซาล จึงได้รับอภิเษกให้เป็นบิชอปแห่งเจนีวาสืบต่อแทน แต่ท่านได้ไปเจนีวาแค่ 2 ครั้งเท่านั้น ครั้งแรกไปตามพระสมณบัญชาของสมเด็จพระสันตะปาปาที่ให้ท่านไปชักนำ[[เบซา]]นักเทววิทยาผู้สืบทอดแนวคิดของคาลวินให้กลับมานับถือคาทอลิก อีกครั้งหนึ่งเป็นการเดินทางผ่าน<ref name="St. Francis de Sales"/>
 
นอกจากนี้ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1610 ท่านยังร่วมกับนักบุญ[[ฌาน -ฟร็องซวส เดอ ช็องตาล]] (Jeanne-Françoise de Chantal) ก่อตั้ง[[คณะแม่พระเสด็จเยี่ยม]] (Order of the Visitation of Holy Mary) ซึ่งเป็น[[คณะนักบวชคาทอลิก]]หญิงที่เน้นงานเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือคนป่วยและคนยากจน<ref>วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ''ประวัตินักบุญตลอดปี'', สมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมในประเทสไทย, 2550, หน้า 54</ref>
 
== การถึงแก่กรรม ==
นักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล ถึงแก่กรรมขณะร่วมเดินทางในคณะของ[[ดยุก]][[ชาร์ล อิมมานูเอล ที่อิมมานูเอลที่ 1]] [[ดยุกแห่งซาวอย]] เมื่อวันที่[[28 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1622]] ที่เมือง[[ลียง]] ประเทศฝรั่งเศส ขณะอายุได้เพียง 55 ปี หลังจากให้โอวาทแก่[[นักพรตหญิง]]ท่านหนึ่งเป็นคำสุดท้ายว่า “ความถ่อมตน” <ref name="St. Francis de Sales"/>
 
ในปี [[ค.ศ. 1661]] ท่านได้รับ[[การประกาศเป็นบุญราศี]]โดย[[สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7]] ได้ประกาศแต่งตั้งท่านเป็น[[บุญราศี]] และได้รับ[[การประกาศเป็นนักบุญ]]ในอีก 3 ปีให้หลัง ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1877]] [[สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9]] ก็ประกาศให้ท่านเป็น[[นักปราชญ์แห่งคริสตจักร]]ด้วย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
{{Churchdoctor}}