ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟชั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SassoBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: mk:Мода
Kidthanet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
== ประวัติ ==
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่มุนษย์ต้องการในการดำรงชีวิตเพื่อปกปิดร่างกายและให้ความอบอุ่น ความเจริญของมนุษย์ทำให้เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เสื้อผ้ายังบ่งบอกถึงลักษณะของผู้สวมใส่ได้ด้วย เช่น ฐานะ, เชื้อชาติ, วัฒนธรรมฯลฯ
 
[[ไฟล์:Vogue fashion plate day dresses June 1919.jpg|thumb|300px]]
 
การพัฒนาของแฟชั่นในแต่ละยุคสมัยแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การเมือง, เศรษฐกิจ, ภูมิอากาศ, วัฒนธรรมในท้องถิ่น ฯลฯ ในศตวรรษที่ 20 แฟชั่นโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะปี ค.ศ. 1920 - 1930 หรือเรียกว่ายุค '''แฟลปเปอร์''' ''' (Flapper) ''' ผู้หญิงสวมกระโปรงสั้นเป็นครั้งแรก และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้หญิงต้องออกจากบ้านเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ ดังนั้นเสื้อผ้าที่สวมใส่ย่อมเปลี่ยนไปเพื่อเอื้อประโยชน์ในผู้สวมใส่มากขึ้น กางเกงจึงเป็นที่นิยม ตั้งแต่ยุคแฟลปเปอร์เป็นต้นมา แฟชั่นของโลกได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล เพราะการติดต่อสื่อสารของโลกตะวันตกและตะวันออกเป็นได้เปิดกว้างมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กัน แฟชั่นของโลกตะวันตกจึงเข้ามามีบทบาทกับโลกตะวันออก เช่น คนไทยรณรงค์ให้สวมหมวก หรือ ผู้หญิงไทยเลิกสวมโจงกะเบน เพื่อความเป็นสากล
 
ลักษณะหรือแบบแผนของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของแต่ละยุคสมัย เรียกว่า '''สไตล์ (Style) ''' แต่ละคนมีสไตล์การแต่งตัวไม่เหมือนกัน เช่น บางคนชอบแต่งตัวสไตล์ '''พั้งค์ (Punk) ''' หรือเด็กสาวๆชอบสไตล์เซ็กซี่ ที่ฝรั่งเรียกว่า '''ราซี่ (Racy or Provocative) ''' ส่วนคำว่า '''เทรนด์ (Trend) ''' คือ แฟชั่นล่าสุด ที่กำลังเป็นที่นิยม
บรรทัด 33:
 
== อุตสาหกรรมแฟชั่น ==
อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นเป็นสิ่งที่เริ่มขึ้นในแฟชั่นเสื้อผ้ายุคใหม่ โดยช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 การตัดเย็บ[http://www.zalora.co.th/ เสื้อผ้าแฟชั่น]ส่วนใหญ่ยังเป็นการสั่งตัดโดยแต่ละบุคคล
ตัดเย็บโดยช่างตัดเสื้อ แต่หลังจากนั้นเมื่อเริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดเย็บ หรือ จักรเย็บผ้า และมีโลกเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีห้างสรรพสินค้า มีการ
ผลิตเสื้อผ้าออกมาในรูปแบบจำนวนมาก ขนาดเดียวกัน ราคาเดียวกัน ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นเริ่มต้นอย่างแท้จริง อีกทั้งอุตสาหกรรมแฟชั่นยังได้รับอิทธิพลจาก
บรรทัด 41:
ศรีลังกาแล้วนำกลับมาในประเทศและกระจายขายสินค้าทั่วโลกอีกครั้ง
 
'''-- อุตสาหกรรมแฟชั่นในประเทศไทย --'''
"การถือกำเนิดของแหล่งศูนย์กลางแฟชั่นในเมืองใหญ่ต่างๆของโลก เช่น มิลาน หรือปารีส มีรากฐานมาจากวิวัฒนาการทางอารยธรรมของประเทศเหล่านั้นที่มีความเจริญทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ รวมถึงความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรม แฟชั่นเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการในการใช้ชีวิตของผู้คน ซึ่งความเจริญในด้านต่างๆที่พัฒนาต่อเนื่องควบคู่กันไปก่อให้ผู้คนเกิดความตื่นตัวในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ต้องการมีชีวิตที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การก่อสร้างตกแต่งบ้านเมือง รูปแบบการกินอยู่อย่างเป็นเลิศ เรื่อยไปจนถึงการแต่งตัวสวยงาม ซึ่งเห็นกันว่าเป็นการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องตามแบบแผนของผู้มีรสนิยม กลายเป็นส่วนหนึ่งวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้วงการแฟชั่นในดินแดนที่มีความเจริญเหล่านั้น มีความก้าวหน้าเร็วกว่าประเทศอื่นๆจนได้เป็นศูนย์กลางหรือผู้ชี้นำทิศทางแฟชั่นของทั่วโลก
 
"การพัฒนาทางด้านแฟชั่นของประเทศในภูมิภาคเอเชียหรือประเทศไทยนั้น แตกต่างจากประเทศที่เป็นศูนย์กลางเช่นในยุโรป แม้จะมีความพยายามทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการสร้างความตื่นตัวทางด้านแฟชั่น ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เหตุผลอย่างหนึ่งคือหลายๆประเทศในภูมิภาคนี้ยังเป็นประเทศที่ยากจน ในขณะที่แฟชั่นชั้นสูงเป็นเรื่องของผู้มีฐานะ ประกอบหลายประเทศในภูมิภาคนี้เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ถูกครอบงำโดยอารยธรรมของผู้ปกครองมานาน ผู้คนในประเทศถูกสั่งสอนให้เชื่อว่าการตามอย่างฝรั่งเป็นเส้นทางสู่ความเจริญ ทั้งในด้านการใช้ชีวิต ศิลปวัฒนธรรม การออกแบบ และเทคโนโลยีต่างๆ จึงทำให้เกิดความอ่อนด้อยในเรื่อง ORIGINALITY มุ่งแต่จะเลียนแบบจากผู้นำที่เป็นชาติตะวันตกมากกว่าสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นจากความคิดหรือรากเหง้าของตนเอง ทำให้การพัฒนาทางด้านศิลปะไม่โดดเด่น
 
"แม้แต่สิงคโปร์ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เจริญมากของภูมิภาคนี่ ก็ไม่ประสบความสำเร็จในด้านแฟชั่น เพราะคนเอเชียส่วนใหญ่เห่อของนอก ยกตัวอย่างดีไซเนอร์ชื่อดังของญี่ปุ่น ถ้าทำงานอยู่แค่ในญี่ปุ่นก็ไม่ดัง ต้องไปทำงานต่างประเทศเพื่อชุบตัว เช่น ฝรั่งเศสหรืออเมริกา จึงจะสามารถกลับมาเป็นที่ยอมรับได้ในประเทศของตัวเอง
 
"ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่ยากจนไม่มีโอกาสทางการศึกษาหรือออกไปรับรู้อารยธรรมจากภายนอก หากรัชกาลที่ 4 ไม่ทรงส่งพระโอรสพระธิดาไปเมืองนอก หรือ รัชกาลที่ 5 ไม่เสด็จประพาสยุโรป ไม่ได้ไปเห็นบ้านเมืองที่วางผังและออกแบบตกแต่งอย่างดี ไม่ได้เห็นผู้คนที่แต่งกายอย่างสวยงาม คนไทยก็อาจจะยังนุ่งโจงกระเบน กินหมากอยู่แบบเดิม
 
"ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวล้ำนำหน้าอย่างในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารของทั่วโลกสามารถรับรู้ได้ทั่วถึงกันหมด แต่เป็นไปไม่ได้ที่ชาวยุโรปซึ่งเห็นแฟชั่นของไทยจะหันมาเอาอย่างคนไทย มีแต่คนไทยที่ยิ่งอาศัยเทคโนโลยีในการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและลอกเลียนแฟชั่นจากตะวันตก ตอนนี้อาจเห็นว่าคนทั้งโลกแต่งตัวคล้ายๆกัน คนอเมริกันก็แต่งตัวเหมือนๆกับคนไทย แต่คนไทยกลับเป็นฝ่ายลอกเลียน ชอบเอาอย่างต่างชาติ เกิดลัทธิเอาอย่างขึ้นในบ้านเรา
 
"สำหรับค่านิยมในการบริโภค[http://www.zalora.co.th/ สินค้าแฟชั่น]แบรนด์เนมนั้น ถือว่าเป็นดาบสองคม ด้านดีคือมันก่อให้เกิดความตื่นตัวในวงการแฟชั่นขึ้น เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงของเราให้ทันสมัยทัดเทียมคนอื่น แต่ด้านร้ายคือมันก็ก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้นทางสังคม เกิดการแบ่งแยกระหว่างคนรวยกับคนจน มีการแข่งขันทางชนชั้น คนจนก็พยายามหาสินค้าแบรนด์เนมของแท้ราคาแพงมาใช้เพื่อยกระดับตัวเอง ถือเป็นการดูถูกชนชั้นของตน ส่วนคนที่ใช้ของปลอมก็ได้รับการดูถูกหนักยิ่งขึ้น เพราะดูถูกความเป็นตัวของตัวเอง
 
"การที่คนเราจะสามารถสร้างแนวทางแฟชั่นของเราเองขึ้นมา โดยการคิดผสมผสานให้เหมาะสมกับตัวเองนั้น น่าจะทำให้เรากลายเป็นผู้นำแฟชั่นแนวใหม่ ซึ่งจะน่าชื่นชมกว่าการลอกเลียนแบบ "แฟชั่นชั้นสูงเป็นงานศิลปะที่มีความเป็นตัวเองสูง การเปลี่ยนแปลงของแฟชั่นชั้นสูงจะเป็นอิสระจากสภาวะโดยรอบ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจหรือสังคม เนื่องจากเป็นเรื่องของคนชั้นสูงซึ่งมีฐานะดีที่จะไม่ได้รับผลกระทบ แฟชั่นชั้นสูงจึงอาจไม่สะท้อนความเป็นจริงของโลกมากนัก แต่สำหรับแฟชั่นระดับกลางหรือระดับล่าง ผู้บริโภคเป็นชนชั้นกลาง หากมีความเปลี่ยนแปลงในทางสังคมหรือเศรษฐกิจ เช่น น้ำมันแพง สินค้าแพง ผู้คนจะปรับพฤติกรรมการบริโภคจับจ่ายสินค้า ทิศทางของแฟชั่นระดับกลางหรือล่างก็จะผันแปรตาม สะท้อนถึงสภาวะที่เกิดขึ้น
 
"ในการทำงานแฟชั่น ก็ต้องสนใจดูงานของดีไซเนอร์ระดับโลกทุกคน เพราะถือว่าเขาเหล่านั้นเป็นครู ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละช่วงเวลาใครจะมีผลงานโดดเด่นน่าจับตามอง เช่น John Galliano, Alexander McQueen สำหรับแฟชั่นดีไซเนอร์ที่เป็นดาวเด่นในเมืองไทยก็ติดตามผลงานของหลายๆคน สิ่งที่น่าสงสารในบ้านเราคือบางคนมีฝีมือแต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จ คือ ทำเสื้อขึ้นมาแล้วขายไม่ได้
 
"โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่นเป็นโครงการหนึ่งที่สร้างความตื่นตัว และสร้างความคึกคักให้กับวงการแฟชั่นเมืองไทยเป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องระมัดระวังว่าการดำเนินการเหล่านั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เราสามารถนำเงินที่รัฐบาลลงทุนให้นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับวงการแฟชั่นอย่างเต็มที่เพียงใด ไม่ใช่การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"
 
ที่มา : artbangkok.com
 
{{เรียงลำดับ|ฟแชั่น}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/แฟชั่น"