ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่ "พลูโต" → "พลูโต" ด้วยสจห.
แทนที่ "จักรวาล" → "เอกภพ" ด้วยสจห.
บรรทัด 48:
=== ดาราศาสตร์วิทยุ ===
{{บทความหลัก|ดาราศาสตร์วิทยุ}}
ดาราศาสตร์วิทยุเป็นการตรวจหาการแผ่รังสีในความยาวคลื่นที่ยาวกว่า 1 [[มิลลิเมตร]] (ระดับมิลลิเมตรถึงเดคาเมตร)<ref name="allen" /> เป็นการศึกษาดาราศาสตร์ที่แตกต่างจากการศึกษาดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์รูปแบบอื่นๆ เพราะเป็นการศึกษา[[คลื่นวิทยุ]]ซึ่งถือว่าเป็นคลื่นจริงๆ มากกว่าเป็นการศึกษาอนุภาค[[โฟตอน]] จึงสามารถตรวจวัดได้ทั้ง[[แอมปลิจูด]]และ[[เฟส]]ของคลื่น]]วิทยุซึ่งจะทำได้ยากกว่ากับคลื่นที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่านี้<ref name="allen" />
 
คลื่นวิทยุที่แผ่จากวัตถุดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งอาจอยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน โดยมากแล้วการแผ่คลื่นวิทยุที่ตรวจจับได้บนโลกมักอยู่ในรูปแบบของ[[การแผ่รังสีซิงโครตรอน]] ซึ่งเกิดจากการที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นคาบรอบเส้นแรงสนามแม่เหล็ก<ref name="allen" /> นอกจากนี้สเปกตรัมที่เกิดจาก[[แก๊สระหว่างดาว]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นสเปกตรัมของ[[ไฮโดรเจน]]ที่ 21 เซนติเมตร จะสามารถสังเกตได้ในช่วงคลื่นวิทยุ<ref name="shu">F. H. Shu (1982). ''The Physical Universe''. Mill Valley, California: University Science Books. ISBN 0-935702-05-9.</ref><ref name="allen" />
บรรทัด 257:
{{บทความหลัก|ปีดาราศาสตร์สากล}}
 
ปี [[ค.ศ. 2009]] เป็นปีที่ครบรอบ 400 ปี นับจาก[[กาลิเลโอ]]ได้ประดิษฐ์[[กล้องโทรทรรศน์]]ขึ้นเพื่อทำการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ และพบหลักฐานยืนยัน[[แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล]]ที่นำเสนอโดย [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส]] ไม่นานก่อนหน้านั้น การค้นพบนี้ถือเป็นการปฏิวัติแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ[[จักรวาล|เอกภพ]] และเป็นการบุกเบิกการศึกษาดาราศาสตร์ยุคใหม่โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามที่เทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์พัฒนาขึ้น
 
[[องค์การสหประชาชาติ]]จึงได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2009 เป็น'''[[ปีดาราศาสตร์สากล]]''' โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2008 กิจกรรมต่างๆ ดำเนินการโดย[[สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล]] และได้รับการสนับสนุนจาก[[องค์การยูเนสโก]] ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่กรุง[[ปารีส]] ในวันที่ 15-16 มกราคม ค.ศ. 2009<ref>[http://living.oneindia.in/insync/2008/international-year-astronomy-311208.html "International Year Of Astronomy 2009"]. Oneindia (Dec 30, 2008). เก็บข้อมูลเมื่อ 9 มกราคม 2009. </ref>