ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่ "พลูโต" → "พลูโต" ด้วยสจห.
บรรทัด 156:
วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของ[[ดาวเคราะห์]] [[ดวงจันทร์]] [[ดาวเคราะห์แคระ]] [[ดาวหาง]] [[ดาวเคราะห์น้อย]] และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ที่โคจรรอบ[[ดวงอาทิตย์]] ตลอดจนถึงบรรดา[[ดาวเคราะห์นอกระบบ]]ด้วย วัตถุในระบบสุริยะจะเป็นที่นิยมศึกษาค้นคว้ามากกว่า ในช่วงแรกสามารถสังเกตการณ์ได้ผ่าน[[กล้องโทรทรรศน์]] ต่อมาจึงใช้การสังเกตการณ์โดย[[ยานอวกาศ]]มาช่วย การศึกษาสาขานี้ทำให้เราเข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของระบบดาวเคราะห์ได้ดีขึ้น แม้จะมีการค้นพบใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาก็ตาม<ref>J. F. Bell III, B. A. Campbell, M. S. Robinson (2004). ''[http://marswatch.tn.cornell.edu/rsm.html Remote Sensing for the Earth Sciences: Manual of Remote Sensing]'' (3rd ed.). John Wiley & Sons. http://marswatch.tn.cornell.edu/rsm.html. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-23.</ref>
 
วัตถุในระบบสุริยะสามารถแบ่งออกได้เป็น ดาวเคราะห์รอบใน [[แถบดาวเคราะห์น้อย]] และดาวเคราะห์รอบนอก ในกลุ่มดาวเคราะห์รอบในประกอบด้วย [[ดาวพุธ]] [[ดาวศุกร์]] [[โลก]] และ[[ดาวอังคาร]] ส่วนในกลุ่มดาวเคราะห์รอบนอกเป็นดาวแก๊สยักษ์ ได้แก่ [[ดาวพฤหัสบดี]] [[ดาวเสาร์]] [[ดาวยูเรนัส]] [[ดาวเนปจูน]] และดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก [[ดาวพลูโต|พลูโต]]<ref>E. Grayzeck, D. R. Williams (2006-05-11). [http://nssdc.gsfc.nasa.gov/planetary/ "Lunar and Planetary Science"]. NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-21.</ref> พ้นจากดาวเนปจูนไปจะมี[[แถบไคเปอร์]] และ[[เมฆออร์ต|กลุ่มเมฆออร์ต]] ซึ่งแผ่กว้างเป็นระยะทางถึงหนึ่ง[[ปีแสง]]
 
ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากแผ่นจานฝุ่นที่หมุนวนรอบๆ ดวงอาทิตย์ เมื่อผ่านกระบวนการต่างๆ นานาเช่น การดึงดูดของแรงโน้มถ่วง การปะทะ การแตกสลาย และการรวมตัวกัน แผ่นจานฝุ่นเหล่านั้นก็ก่อตัวเป็นรูปร่างที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanet) แรงดันการแผ่รังสีของ[[ลมสุริยะ]]จะพัดพาเอาสสารที่ไม่สามารถรวมตัวกันติดให้กระจายหายไป คงเหลือแต่ส่วนของดาวเคราะห์ที่มีมวลมากพอจะดึงดูดบรรยากาศชั้นแก๊สของตัวเอาไว้ได้ ดาวเคราะห์ใหม่เหล่านี้ยังมีการดึงดูดและปลดปล่อยสสารในตัวตลอดช่วงเวลาที่ถูกเศษสะเก็ดดาวย่อยๆ ปะทะตลอดเวลา การปะทะเหล่านี้ทำให้เกิดหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดั่งเช่นที่ปรากฏบนพื้นผิว[[ดวงจันทร์]] ผลจากการปะทะนี้ส่วนหนึ่งอาจทำให้ดาวเคราะห์ก่อนเกิดแตกชิ้นส่วนออกมาและกลายไปเป็นดวงจันทร์ของมันก็ได้<ref>Roberge, Aki (1997-05-05). [http://www.dtm.ciw.edu/akir/Seminar/seminar.html "Planetary Formation and Our Solar System"]. Carnegie Institute of Washington—Department of Terrestrial Magnetism. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-11.</ref>