ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โยงหน้าให้ถูกต้อง
บรรทัด 21:
== ประวัติ ==
{{บทความหลัก|มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล}}
'''มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล''' จัดตั้งขึ้นเป็น[[สถาบันอุดมศึกษา]]ระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ [[27 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2518]] โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “'''วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา'''” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัด[[กรมอาชีวศึกษา]] [[กระทรวงศึกษาธิการ]] เข้ามาสังกัด ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “'''ราชมงคล'''” เมื่อวันที่ [[15 กันยายน]] [[พ.ศ. 2531]] ([[วันราชมงคล]]) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
 
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542]ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอน 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542</ref> ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ [[18 มกราคม]] [[พ.ศ. 2548]] พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0A/00152772.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548]ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอน 6ก ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548</ref> ได้ประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]เป็นผลให้มี'''[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล]]'''เกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก