ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ไม่แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลภาษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: <!--วิกิพีเดีย:ไม่แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลภาษา--> {{เว็บย่อวิกิ|WP:NOMT}}...
 
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
{{เว็บย่อวิกิ|WP:NOMT}}
{{เรียงความ}}
'''[[วิกิพีเดีย]]'''เป็น[[สารานุกรม]]เสรีที่มีเนื้อหาหลาย[[ภาษา]] แต่ละภาษาก็จะเป็นโครงการหนึ่ง ๆ ซึ่งดูแลโดยชุมชนของโครงการ เราสามารถพบบทความเรื่องเดียวกันในภาษาอื่นจาก[[WP:IL|ลิงก์ข้ามภาษา]]ท้ายบทความ แต่ไม่ได้จำกัดว่าเนื้อหาจะต้องมีสาระเหมือนกันทุกประการ เพราะอาสาสมัครส่วนใหญ่เข้ามีส่วนร่วมโครงการอยู่เพียงภาษาเดียวโดยไม่ได้เทียบเคียงกับภาษาอื่น ดังนั้นปัญหาหนึ่งของเราคือ การไม่มีบทความเรื่องเดียวกันในภาษาที่ต้องการ
 
การทำให้บทความมีในภาษาที่ต้องการ ก็เพียงแค่เขียนมันลงไป บางคนก็ริเริ่มเขียนโดยใช้ความรู้ของตนเอง บางคนก็ค้นคว้าข้อมูลเพื่ออ้างอิงอย่างมุ่งมั่น บางคนก็แปลจากวิกิพีเดียภาษาอื่น และที่สำคัญ บางคนก็ใช้โปรแกรมแปลภาษามาช่วยเขียนบทความ (บางคนก็คัดลอกมาจากภาษาอื่นทั้งฉบับ ซึ่งนั่นผิดวัตถุประสงค์ของการมีโครงการหลายภาษา)
 
โปรแกรมแปลภาษา หรืออาจเรียกเป็นอย่างอื่นว่า โปรแกรมช่วยแปล ซอฟต์แวร์แปลภาษา การแปลอัตโนมัติ ฯลฯ ใช้หลักการที่เรียกว่า [[การแปลภาษาด้วยเครื่อง]] (Machine Translation) คือการนำ[[เครื่องจักร]]มาช่วยงานแปล[[ภาษามนุษย์]]จากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยอาจผ่านภาษากลางอีกภาษาหนึ่งด้วยก็ได้ โปรแกรมแปลภาษานี้มิได้หมายถึงเพียง[[แอปพลิเคชัน]]ที่ติดตั้งบน[[คอมพิวเตอร์]]เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบริการแปลภาษาอัตโนมัติบน[[อินเทอร์เน็ต]]ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีมากมายอย่างเช่น [[กูเกิล แปลภาษา]] หรือ [[บิง ทรานสเลเตอร์]] เป็นอาทิ
 
[[นวัตกรรม]]ของโปรแกรมแปลภาษาดูเหมือนว่าจะช่วยให้งานแปลของคุณเป็นไปได้ง่ายและราบรื่นมากกว่าการแปลด้วยมือ แต่กลไกของมันจำเป็นต้องใช้ความรู้ทาง[[ภาษาศาสตร์]] เราทราบดีว่าแต่ละภาษาที่มีอยู่ในโลกนี้แตกต่างกัน ใช้[[อักษร]]ต่างชนิดบ้าง เขียนเหมือนกันแต่อ่านไม่เหมือนกันบ้าง ความหมายไม่เหมือนกันบ้าง [[ไวยากรณ์]]ไม่เหมือนกันบ้าง คำใดจะแปลหรือจะ[[ทับศัพท์]] โอกาสไหนควรจะใช้คำใด ถ้าข้อความป้อนเข้าไม่เป็นไปตามรูปแบบดังที่ถูกโปรแกรมไว้ มันก็จะประมวลผลไปตามข้อความที่ผิด ๆ เช่นนั้น สิ่งเหล่านี้ทำให้โปรแกรมแปลภาษายิ่งเกิดความซับซ้อนเมื่อต้องประมวลผลเพื่อที่จะแปลภาษามากประเภทยิ่งขึ้น ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่น่าพึงพอใจ และทำให้ต้องตรวจแก้ความผิดพลาดนั้นด้วยมือซ้ำอีก นั่นไม่ได้ช่วยให้งานแปลของคุณราบรื่นขึ้นกว่าเดิม
 
คุณอาจเห็นว่าคู่ภาษาบางคู่สามารถใช้โปรแกรมแปลภาษาช่วยได้เป็นอย่างดี นั่นแสดงว่าคู่ภาษาดังกล่าวมีโครงสร้างคล้ายกันเพราะมีที่มาจากต้นตระกูลเดียวกัน หรือเพราะภาษาหนึ่งเกิดมาจากพื้นฐานของอีกภาษาหนึ่ง ในทางตรงข้าม การใช้โปรแกรมแปลภาษากับคู่ภาษาที่ไม่ได้มีความคล้ายกันทางภาษาศาสตร์ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิด ส่วนใหญ่อาจจะแปลถูก ตรงความหมายคำต่อคำ แต่เมื่ออ่านโดยรวมแล้วก็ไม่สามารถเข้าใจได้ ซึ่งยังต้องแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ดี
 
[[ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์|ผู้พัฒนา]]โปรแกรมแปลภาษาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาไวยากรณ์ของภาษาที่จะแปล เพื่อให้ได้ผลของการแปลที่ใกล้เคียงที่สุด แต่สิ่งที่พวกเขาศึกษาเป็นเพียงหลักการที่อยู่ในตำรา [[การสนทนา]][[สื่อสาร]]ทุกวันนี้ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องไวยากรณ์ที่ถูกต้อง สนใจเพียงแค่สื่อสารเข้าใจ ทำให้ความเป็นจริงแตกต่างจากหลักการในตำรามาก สิ่งนี้ส่งผลกระทบให้โปรแกรมแปลภาษา “กลายพันธุ์” ไปจากหลักการที่ควรจะเป็น มี[[คำพ้องรูป]]และ[[คำพ้องเสียง]]เพิ่มมากขึ้นใน[[พจนานุกรม]]ของโปรแกรม ในที่สุดโปรแกรมก็แปลภาษาออกมาผิดแผกไปจากความหมายดั้งเดิม
 
การแปลภาษาอื่นเช่น[[ภาษาอังกฤษ]]เป็นต้นมาเป็น[[ภาษาไทย]] โปรแกรมแปลภาษาก็มีให้ใช้ได้เช่นกัน แต่ผลลัพธ์ของการแปลไม่พึงประสงค์ดังที่ได้กล่าวไว้ หลายครั้งหลายหนที่เคยมีกรณีใช้โปรแกรมช่วยแปลบทความจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมาลงที่วิกิพีเดียภาษาไทย (โดยคัดลอกผลลัพธ์ของการแปลมาโดยตรง) ผลปรากฏว่าอ่านไม่ได้ใจความทุกบทความ สาเหตุที่เล็งเห็นมีหลายประการได้แก่ ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างตระกูล โครงสร้างทางไวยากรณ์ไม่เหมือนกัน [[สำนวน]]ไม่เหมือนกันหรือใช้แทนกันไม่ได้เช่น[[กริยาวลี]] แต่ละภาษาก็มี[[ไวพจน์]]และคำพ้องเสียงจำนวนมากทำให้คำแปลที่ออกมาผิดไปจากที่ควรจะเป็น ถึงแม้ว่าโปรแกรมแปลภาษาที่นำมาใช้มีการพัฒนาขึ้นตามเวลา สำหรับ[[ประโยค]]สั้น ๆ ก็พอแปลใช้ได้ แต่ประโยคยาว ๆ ก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง และประโยคที่ซับซ้อนมากก็ไม่อาจถอดความหมายให้ตรงได้
 
ผู้ที่ใช้โปรแกรมแปลภาษาอาจเป็นชาวต่างประเทศ (ผู้ใช้วิกิพีเดียภาษาอื่น) ที่อยากขยายเนื้อหาสาระให้มีในภาษาไทย หรือไม่ก็ชาวไทยที่หวังว่าโปรแกรมแปลภาษาจะช่วยงานของเขาได้ หรือแม้แต่ใช้แบบขอไปทีก็ตาม พวกเขาไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง บทความที่เขียนไม่เป็นภาษาไม่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาที่คุณต้องการจะสื่อ และแม้คนอื่น ๆ จะสามารถแก้ไขเนื้อหาได้โดยเสรี พวกเขาก็เหนื่อยหน่ายที่จะทำเพราะมันมีจุดผิดพลาดมากเกินไป ทำให้บทความเช่นนั้นหลงเหลืออยู่ในระบบโดยไม่มีประโยชน์อันใด บทความที่คาดว่าน่าจะใช้โปรแกรมแปลภาษาจึงเป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับ[[WP:CSD|เงื่อนไขสำหรับการลบบทความทันที]] ข้อ บ2
 
เราไม่มีนโยบายว่าห้ามใช้โปรแกรมแปลภาษาในการเขียนบทความ แต่ถ้าหากผลที่ออกมานั้นอ่านไม่ได้ใจความ เราก็ไม่แนะนำให้ใช้มัน ถึงแม้จะมีผลิตภาพน้อยกว่า การแปลด้วยมือย่อมมีคุณภาพมากกว่าการแปลด้วยเครื่องเสมอ เพราะคุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ