ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 110.171.114.172 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Nullzerobot
Chisanapong (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
วิกิพีเดียทำงานด้วย[[ซอฟต์แวร์]]ชื่อ[[มีเดียวิกิ]] และจัดเก็บใน[[เซิร์ฟเวอร์]]สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่[[รัฐฟลอริดา]] [[สหรัฐอเมริกา]] และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่[[อัมสเตอร์ดัม]] [[เนเธอร์แลนด์]] และ[[โซล]] [[เกาหลีใต้]] ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่[[ซานฟรานซิสโก]] [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]]<ref>[http://blog.wired.com/business/2007/10/wikimedia-found.html Wikimedia Foundation Moving To San Francisco] ข่าวจากไวรด์</ref>
 
มันดีมาก และ หนุก
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:ImageNupedia.png|thumb|เดิมวิกิพีเดียได้รับการพัฒนาขึ้นจากโครงการสารานุกรมอีกแห่งหนึ่ง [[นูพีเดีย]]]]
วิกิพีเดียเริ่มขึ้นจากเป็นโครงการเพิ่มเติมของ[[นูพีเดีย]] โครงการสารานุกรมเสรีออนไลน์ภาษาอังกฤษ ซึ่งบทความในนูพีเดียนั้นเขียนขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญและได้รับการตรวจสอบภายใต้กระบวนการที่เป็นทางการ นูพีเดียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2543 บริหารงานโดยบริษัท[[เว็บท่า]] [[โบมิส]] บุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างนูพีเดีย ได้แก่ จิมมี เวลส์ ผู้บริหารระดับสูงของโบมิส และแลร์รี แซงเจอร์ [[บรรณาธิการบริหาร]]ของนูพีเดียและวิกิพีเดียในเวลาต่อมา แต่เดิมข้อความในนูพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต[[เนื้อหาเปิด]]ของนูพีเดียเอง แล้วค่อยเปลี่ยนมาใช้[[สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู]] ก่อนหน้าที่วิกิพีเดียจะถูกก่อตั้งขึ้น โดยการผลักดันของ[[ริชาร์ด สตอลล์แมน]]<ref name="stallman1999">{{cite web
|url=http://www.gnu.org/encyclopedia/encyclopedia.html|title=The Free Encyclopedia Project|author=Richard M. Stallman|authorlink=Richard Stallman|date=2007-06-20|publisher=Free Software Foundation |accessdate=2008-01-04}}</ref>
แลร์รี แซงเจอร์และจิมมี เวลส์ร่วมกันก่อตั้งวิกิพีเดีย<ref name=autogenerated1>{{Cite news|url=http://www.signonsandiego.com/uniontrib/20041206/news_mz1b6encyclo.html|author=Jonathan Sidener|title=Everyone's Encyclopedia|date=2004-12-06|work=[[The San Diego Union-Tribune]]|accessdate=2006-10-15}}</ref><ref name=Meyers>{{Cite news|first=Peter |last=Meyers|title=Fact-Driven? Collegial? This Site Wants You |url=http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9800E5D6123BF933A1575AC0A9679C8B63&n=Top%2fReference%2fTimes%20Topics%2fSubjects%2fC%2fComputer%20Software |work=New York Times |publisher=The New York Times Company |date=2001-09-20|accessdate=2007-11-22}}</ref> เวลส์ได้ความชอบจากการกำหนดเป้าหมายในการสร้างสารานุกรมที่สามารถแก้ไขได้อย่างเปิดเผย<ref name=SangerMemoir>{{Cite news|first=Larry |last=Sanger |title=The Early History of Nupedia and Wikipedia: A Memoir |date=April 18, 2005 |work=Slashdot |url=http://features.slashdot.org/features/05/04/18/164213.shtml|accessdate=2008-12-26}}</ref><ref name=Sanger>{{Cite news|first=Larry |last=Sanger|title=Wikipedia Is Up!|date=January 17, 2001 |publisher=Internet Archive|url=http://web.archive.org/web/20010506042824/www.nupedia.com/pipermail/nupedia-l/2001-January/000684.html|accessdate=2008-12-26}}</ref> ส่วนแซงเจอร์มักได้รับความชอบในด้านยุทธศาสตร์การใช้[[วิกิ]]เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว<ref>{{cite web|url=http://lists.wikimedia.org/pipermail/wikipedia-l/2001-October/000671.html|title=Wikipedia-l: LinkBacks?|accessdate=2007-02-20}}</ref> วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2544 แลร์รี แซงเจอร์เสนอบนจดหมายกลุ่มนูพีเดียในการสร้างวิกิเป็นโครงการ "ตัวป้อน" สำหรับนูพีเดีย<ref>{{Cite news|first=Larry |last=Sanger|title=Let's Make a Wiki|date=2001-01-10|publisher=Internet Archive|url=http://www.nupedia.com/pipermail/nupedia-l/2001-January/000676.html|archiveurl=http://web.archive.org/web/20030414014355/http://www.nupedia.com/pipermail/nupedia-l/2001-January/000676.html|archivedate=2003-04-14 |accessdate=2008-12-26}}</ref> วิกิพีเดียเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นรุ่นภาษาอังกฤษเพียงรุ่นเดียวภายใต้ชื่อโดเมน www.wikipedia.com<ref name=WikipediaHome>{{cite web|url=http://www.wikipedia.com/|archiveurl=http://web.archive.org/web/20010331173908/http://www.wikipedia.com/|archivedate=2001-03-31|title=Wikipedia: HomePage|accessdate=2001-03-31}}</ref> และมีการประกาศทางจดหมายกลุ่มนูพีเดียโดยแซงเจอร์<ref name=SangerMemoir/> นโยบาย "มุมมองที่เป็นกลาง" ของวิกิพีเดียมีการประมวลขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนแรกหลังเปิดตัว และมีใจความคล้ายกับนโยบาย "ไม่มีอคติ" ของนูพีเดียก่อนหน้านี้ แต่นอกเหนือจากนี้ เดิมวิกิพีเดียมีกฎค่อนข้างน้อยและดำเนินการเป็นเอกเทศจากนูพีเดีย<ref name=SangerMemoir/>
 
[[ไฟล์:EnglishWikipediaArticleCountGraph linear.png|thumb|left|กราฟแสดงจำนวนบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2544 จนถึง 9 กันยายน พ.ศ. 2550 วันที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีบทความครบสองล้านบทความ]]
ผู้เขียนวิกิพีเดียในช่วงแรกมาจากนูพีเดีย การโพสต์[[สแลชดอต]] และดัชนีเว็บ[[เสิร์ชเอนจิน]] วิกิพีเดียมีบทความประมาณ 20,000 บทความ ใน 18 ภาษา เมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2544 ต่อมาวิกิพีเดียเพิ่มรุ่นภาษาเป็น 26 ภาษา เมื่อถึงปลายปี พ.ศ. 2545, 46 ภาษา ในปลายปี พ.ศ. 2546 และ 161 ภาษา ก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2547<ref>{{cite web|url=http://en.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Multilingual statistics |title=Multilingual statistics |work=Wikipedia |date=March 30, 2005 |accessdate=2008-12-26}}</ref> นูพีเดียและวิกิพีเดียยังคงเปิดให้บริการอยู่ทั้งคู่จนกระทั่งเซิร์ฟเวอร์ของนูพีเดียถูกปิดตัวลงอย่างถาวรใน พ.ศ. 2546 และเนื้อหาถูกรวมเข้ากับวิกิพีเดีย [[วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ]]มีบทความเกินสองล้านบทความเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 ทำให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดทำขึ้น แซงหน้า[[สารานุกรมหย่งเล่อ]] (พ.ศ. 1950) ที่ถือครองสถิติมาเป็นเวลา 600 ปีพอดี<ref name="EB_encyclopedia">{{cite encyclopedia |title=Encyclopedias and Dictionaries |encyclopedia=Encyclopædia Britannica, 15th ed.|publisher= Encyclopædia Britannica |year=2007 |volume=18 |pages=257–286}}</ref>
 
ผู้ใช้จาก[[วิกิพีเดียภาษาสเปน]]บางส่วนแตกสาขาวิกิพีเดียออกไปสร้างเป็น[[เอนซีโกลเปเดียลีเบรอูนีเบร์ซัลเอนเอสปาญอล|เอนซีโกลเปเดียลีเบร]] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 โดยให้เหตุผลว่า กลัวว่าจะมีการโฆษณาเชิงพาณิชย์และการขาดการควบคุมในวิกิพีเดียที่สามารถรู้ได้ว่ามีวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นศูนย์กลาง<ref>{{cite web|title=<nowiki>[long] Enciclopedia Libre: msg#00008</nowiki> |url=http://osdir.com/ml/science.linguistics.wikipedia.international/2003-03/msg00008.html |work=Osdir |accessdate=2008-12-26}}</ref> ในปีเดียวกัน เวลส์ประกาศว่าวิกิพีเดียจะไม่มีการโฆษณา และเว็บไซต์ได้เปลี่ยนชื่อโดเมนเป็น wikipedia.org<ref name=Shirky>{{Cite book|author= Clay Shirky|authorlink=Clay Shirky|title=Here Comes Everybody: The Power of Organizing Without Organizations|date=February 28, 2008|publisher=The Penguin Press via Amazon Online Reader|url=http://www.amazon.com/gp/reader/1594201536/ref=sib_dp_srch_pop?v=search-inside&keywords=spanish&go.x=0&go.y=0&go=Go%21 |isbn=1-594201-53-6|page=273 |accessdate=2008-12-26}}</ref> โครงการสารานุกรมวิกิอื่นมีการริเริ่มขึ้นจำนวนมาก ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แนวคิดที่แตกต่างกันในรูปแบบการแก้ไขอย่างเปิดเผยและมุมมองเป็นกลางของวิกิพีเดีย วิกิอินโฟไม่มีการควบคุมเรื่องมุมมองเป็นกลางและอนุญาตให้นำเนื้อหาที่เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับมาลงได้ โครงการใหม่ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิกิพีเดีย อย่างเช่น [[ซิติเซนเดียม]] [[สคอลาร์พีเดีย]] [[คอนเซอร์เวพีเดีย]] และ[[โนล]]ของกูเกิล ที่ซึ่งบทความมีลักษณะเป็นเรียงความมากกว่าเล็กน้อย<ref>{{Cite news|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/technology/7144970.stm |title=BBC News |publisher=BBC News |date=2007-12-15 |accessdate=2010-07-13}}</ref> ได้เริ่มต้นตั้งคำถามถึงข้อจำกัดที่สัมผัสได้ของวิกิพีเดีย อาทิ นโยบายด้านการกลั่นกรอง งานค้นคว้าต้นฉบับ และการโฆษณาเชิงพาณิชย์
 
แม้ว่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะมีจำนวนบทความแตะระดับสามล้านบทความเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 แต่อัตราการเติบโตของรุ่นภาษาอังกฤษ ในแง่ของจำนวนบทความและผู้ร่วมพัฒนา ปรากฏว่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี พ.ศ. 2550<ref>{{Cite news|url=http://www.guardian.co.uk/technology/2009/aug/12/wikipedia-deletionist-inclusionist |title=Wikipedia approaches its limits |author=Bobbie Johnson | work=The Guardian | location=London | date=2009-08-12 | accessdate=2010-03-31}}</ref> ในปี พ.ศ. 2549 วิกิพีเดียมีบทความใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1,800 บทความต่อวัน แต่ในปี พ.ศ. 2553 ค่าเฉลี่ยดังกล่าวลดลงเหลือ 1,000 บทความต่อวันเท่านั้น ทีมศึกษาจากศูนย์วิจัยพาโลอัลโตให้เหตุผลว่าแนวโน้มดังกล่าวเป็นผลมาจากการกีดกันที่เพิ่มมากขึ้นของโครงการ<ref>{{cite conference |url=http://www.wikisym.org/ws2009/procfiles/p108-suh.pdf |title=The Singularity is Not Near: Slowing Growth of Wikipedia |year=2009|location=Orlando, Florida |conference=the International Symposium on Wikis}}</ref> ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ประจำมีอัตราการแก้ไขถูกย้อนกลับหรือถูกลบออกสูงกว่ากลุ่มผู้ใช้ประจำและมีประสบการณ์มากกว่าอย่างมาก หรือที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "[[คาบาล]]" ทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้นที่จะขยายและรักษาฐานผู้ใช้ใหม่เอาไว้ในระยะยาวได้ ทั้งยังทำให้การสร้างบทความใหม่ซบเซาลง ส่วนการศึกษาอื่น ๆ ได้เสนอแนะว่าอัตราการเติบโตนั้นเริ่มลดลงตามธรรมชาติ เนื่องจากบทความที่เข้าถึงได้ง่ายและมีความสำคัญ เช่น [[ประเทศจีน]] มีผู้สร้างขึ้นแล้วในวิกิพีเดีย<ref>{{Cite news|url=http://www.bostonreview.net/BR34.6/morozov.php |title=Edit This Page; Is it the end of Wikipedia |publisher=Boston review |author=Evgeny Morozov}}</ref><ref>[http://www.nytimes.com/2009/03/29/weekinreview/29cohen.html New York Times]</ref>
 
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจัดทำโดยเฟลีเป ออร์เตกา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเรย์ ฮวน การ์โลส ใน[[มาดริด]] พบว่า วิกิพีเดียรุ่นภาษาอังกฤษสูญเสียฐานผู้พัฒนาไปกว่า 49,000 คน ในช่วงไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2552 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี พ.ศ. 2551 ที่สูญเสียฐานอาสาสมัครไปเพียง 4,900 คน<ref>{{Cite news|url=http://www.guardian.co.uk/technology/2009/nov/26/wikipedia-losing-disgruntled-editors |title=Wikipedia falling victim to a war of words |publisher=Guardian |author=Jenny Kleeman | location=London | date=2009-11-26 | accessdate=2010-03-31}}</ref><ref>{{Cite journal|url=http://libresoft.es/Members/jfelipe/thesis-wkp-quantanalysis |title=Wikipedia: A quantitative analysis |format=PDF}}</ref> [[เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล]]รายงานว่า "จำนวนอาสาสมัครออนไลน์ผู้เขียน แก้ไข และตรวจตรา [วิกิพีเดีย] นับล้านคน กำลังถอนตัวออกไปอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน" ขอบเขตของกฎการแก้ไขและกรณีพิพาทเกี่ยวกับเนื้อหาเหล่านี้เป็นเหตุผลที่อาสาสมัครมีแนวโน้มหดหายลงตามที่บทความดังกล่าวอ้าง<ref>Volunteers Log Off as Wikipedia Ages, The Wall Street Journal, November 27, 2009.</ref> ด้านจิมมี เวลส์แย้งข้อมูลดังกล่าว โดยปฏิเสธการสูญเสียฐานอาสาสมัครและตั้งคำถามถึงขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการศึกษา<ref>{{Cite news|url=http://www.telegraph.co.uk/technology/wikipedia/6660646/Wikipedias-Jimmy-Wales-denies-site-is-losing-thousands-of-volunteer-editors.html |title=Wikipedia's Jimmy Wales denies site is 'losing' thousands of volunteer editors |publisher=Telegraph | location=London | date=November 26, 2009 | accessdate=March 31, 2010 | first=Emma | last=Barnett}}</ref>
 
== ลักษณะสารานุกรม ==