ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาพเหมือนตนเอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4312533 สร้างโดย OctraBot (พูดคุย)
บรรทัด 55:
 
== ภาพเหมือนตนเองโดยจิตรกรยุโรป ==
[[หนังสือเอกสารตัวเขียนวิจิตร]]มักจะมีภาพเหมือนตนเองโดยเฉพาะในงานเขียนของ[[นักบุญดันสตัน]] และ [[แม็ทธิว แพริส]] ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพจิตรกรขณะที่กำลังเขียนภาพหรือไม่ก็เสนองานที่เขียนเสร็จแก่[[ภาพเหมือนผู้อุทิศ|ผู้อุทิศ]]หรือต่อผู้ศักดิ์สิทธิ์<ref>Jonathon Alexander; ''Medieval Illuminators and their Methods of Work''; p.8-34, Yale UP, 1992, ISBN 0300056893 collects several examples</ref>
 
เชื่อกันว่า[[อันเดรอา ออร์ชานยา]]เขียนภาพเหมือนตนเองแทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ[[จิตรกรรมฝาผนัง]]ที่เขียนในปี ค.ศ. 1359 ซึ่งเป็นการบันทึกอย่างน้อยก็ตามที่[[นักประวัติศาสตร์ศิลป์]][[จอร์โจ วาซารี]]กล่าวว่าเป็นสิ่งที่จิตรกรมักจะนิยมทำกัน ในอิตาลี[[จอตโต ดี บอนโดเน]] (ค.ศ. 1267-ค.ศ. 1337) วาดภาพตนเองในภาพชุด “eminent men” ในปราสาทที่เนเปิลส์, [[มาซาชิโอ]] (ค.ศ. 1401-ค.ศ. 1428) วาดภาพตนเองเป็นหนึ่งในอัครสาวกในจิตรกรรมฝาผนังภายใน[[ชาเปลบรันคาชชิ]] และ [[เบนนอซโซ กอซโซลิ]]วาดภาพตนเองกับภาพเหมือนของผู้อื่นในภาพ “ขบวนแมไจ” (Procession of the Magi) (ค.ศ. 1459) ใน[[Palazzo Medici|วังเมดิชิ]] โดยเขียนชื่อไว้บนหมวก สองสามปีต่อมา[[ซานโดร บอตติเชลลี]]ก็เลียนแบบเขียนตนเองเป็นผู้ชื่นชมคนหนึ่งในภาพ “การชื่นชมของแมไจ” ผู้หันมามองตรงมายังผู้ชมภาพ (ค.ศ. 1475)
 
ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็มีรูปเหมือนแกะท่อนบนของและโดย[[ปีเตอร์ พาร์เลอร์]] ใน[[มหาวิหารปราก]]รวมภาพเหมือนตนเองและเป็นหนึ่งในบรรดารูปท่อนบนรูปแรกๆ ที่ไม่ใช่รูปท่อนบนของพระราชวงศ์ [[ลอเร็นโซ กิเบอร์ติ]]รวมรูปปั้นศีรษะของตนเองบนบานประตู [[หอศีลจุ่มซานจิโอวานนิล้างบาปซันโจวันนี]]ใน[[ฟลอเรนซ์]]
 
ภาพเหมือนตนเองแรกสุดที่เขียนในอังกฤษ นอกไปจากหนังสือเอกสารตัวเขียนวิจิตร และก็เป็นภาพเหมือนขนาดเล็กที่เขียนโดยจิตรกรเยอรมัน[[Gerlach Flicke|เยอร์ลาค ฟลิคเคอ]]ในปี ค.ศ. 1554
 
<gallery>
ไฟล์:DunstanLarge.jpg|<center>[[Dunstan|นักบุญดันสตัน]]<br>เจ้าอาวาสอธิการ-จิตรกรแห่ง<br>สำนักสงฆ์กลาสตันบรี<br>วาดภาพตนเองหน้าพระเยซูขนาดใหญ่ ต่อมาดันสตันก็ได้เป็น[[อัครสังฆราชอาร์ชบิชอปแห่งแคนเตอร์บรีเทอร์เบอรี]]<br>ราว ค.ศ. 950</center>
ไฟล์:Peter parler.jpg|<center>[[ปีเตอร์ พาร์เลอร์]]<br>ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14<br>จาก[[มหาวิหารปราก]]</center>
ไฟล์:Ghiberti.png|[[ลอเร็นโซ กิเบอร์ติ]]<br>บน “ประตูสวรรค์” ที่<br>[[หอศีลจุ่มซานจิโอวานนิ]]</center>
บรรทัด 75:
 
=== อัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1471–ค.ศ. 1528 ===
[[อัลเบรชท์ ดือเรอร์]]เป็นศิลปินผู้มีความความพะวงเกี่ยวกับภาพพจน์และชื่อเสียงของตนเองอยู่เสมอ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการสร้างภาพพิมพ์ของ[[จิตรกรชั้นปรมาจารย์]]ที่ขายไปทั่วยุโรป ดือเรอร์อาจจะวาดภาพตัวเองบ่อยกว่าจิตรกรอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน เท่าที่ทราบอย่างน้อยก็ประมาณสิบสองภาพที่รวมทั้งจิตรกรรมสีน้ำมัน และวาดเป็นบุคคลหนึ่งในงานชิ้นใหญ่ที่เป็น[[แท่นบูชา]] ภาพเขียนภาพแรกเป็นภาพวาดลายเส้นที่เขียนเมื่ออายุได้เพียงสิบสามปี เมื่ออายุได้ยี่สิบสองปีดือเรอร์ก็เขียน “ภาพเหมือนตนเองกับดอกคาร์เนชัน” (ค.ศ. 1493, [[พิพิธภัณฑ์ลูฟร์]]) ที่อาจจะเขียนเพื่อส่งไปให้คู่หมั้นใหม่ ภาพเหมือนตนเองมาดริด (ค.ศ. 1498, [[พิพิธภัณฑ์ปราโด]]) เป็นภาพดือเรอร์ในเครื่องแต่งกายหรูหราแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นความมีชื่อเสียงไปทั่วยุโรป ใน[[ภาพเหมือนตนเอง (ดือเรอร์)|ภาพเหมือนตนเองภาพสุดท้าย]]ที่ขายหรือมอบให้เมือง[[เนิร์นแบร์ก]]ที่ตั้งแสดงให้สาธารณชนชมเป็นภาพที่วาดเชิงเป็น[[พระเยซู]] ([[พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม]], มิวนิค) ต่อมาดือเรอร์ก็ใช้ใบหน้าเดียวกันนี้ในการสร้างภาพพิมพ์ของพระพักตร์ของพระเยซูที่ปรากฏบน “ผ้าซับพระพักตร์เวอโรนิคา” (Veil of Veronica) <ref>“ผ้าซับพระพักตร์เวอโรนิคา” เป็นผ้าที่[[นักบุญเวอโรนิคาเวโรนีกา]]ใช้ซับพระพักตร์ของพระเยซู เมื่อซับเสร็จก็ปรากฏเป็นใบหน้าบนผืนผ้าซึ่งถือกันว่าเป็นภาพเหมือนของพระเยซู</ref> แต่ภาพเหมือนตนเองที่ส่งไปให้[[ราฟาเอล]]หายสาบสูญไป ภาพพิมพ์แกะไม้ในโรงอาบน้ำและภาพวาดลายเส้นเป็นภาพเหมือนตนเองที่แทบจะเป็นภาพเปลือย<ref>For all this section, Giulia Bartrum, ''Albrecht ดือเรอร์ and his Legacy'', p. 77–84 & passim, British Museum Press, 2002, ISBN 0714126330</ref>
 
<gallery>
บรรทัด 85:
 
=== ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคบาโรก ===
[[จิตรกรชั้นปรมาจารย์]]ของอิตาลีของ[[ยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี|ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา]]มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เขียนภาพเหมือนตนเองไว้อย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่แล้วก็จะเขียนภาพของตนรวมไว้ในภาพเขียนใหญ่ ภาพเหมือนตนเองที่เขียนก็เป็นภาพเขียนที่ตรงไปตรงมาไม่มีการจัดท่าตั้งท่าเช่นที่ทำกันในสมัยต่อมา การเขียนแบบที่นอกแนวออกไปเช่นที่ดือเรอร์ทำก็แทบจะไม่มีผู้ใดทำตาม นอกไปจาก “ภาพเหมือนตนเองในบทเดวิด” ของ[[จอร์โจเน]] (ถ้าเป็นภาพเหมือนตนเองจริง) ภาพเหมือนที่มีอยู่ก็ได้แก่ภาพเหมือนของ[[เปียโตร เปรูจิโน]]ที่เขียนราว ค.ศ. 1500 และภาพของ[[พาร์มิจานิโน]]ที่เป็นภาพเขียนเป็นเหมือนกระจากนูน และภาพเหมือนตนเองที่เป็นภาพวาดลายเส้นโดย[[เลโอนาร์โด ดา วินชี]] (ค.ศ. 1512) <ref> This drawing in red chalk is widely (though not universally) accepted as an original self portrait. The main reason for hesitation in accepting it as a portrait of Leonardo is that the subject is apparently of a greater age than Leonardo ever achieved. But it is possible that he drew this picture of himself deliberately aged, specifically for Raphael's portrait of him in the [[School of Athens]]. A case has also been made, originally by novelist Dmitry Merezhkovsky, that Leonardo based his famous picture ''[[Mona Lisa]]'' on his own self-portrait.</ref> และภาพเหมือนตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพเขียนใหญ่ของ[[ไมเคิล แอนมีเกลันเจโล]] ผู้เขียนใบหน้าของตนเองบนหนังที่ถูกถลกออกมาจากร่างของ[[นักบุญบาร์โทโลมิว]]ในภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” ภายใน[[ชาเปลซิสติน]] (ค.ศ. 1536-ค.ศ. 1541) และ [[ราฟาเอล]] ที่ปรากฏในภาพ “[[โรงเรียนแห่งเอเธนส์ (ราฟาเอล)|โรงเรียนแห่งเอเธนส์]]” (ค.ศ. 1510) หรือภาพที่เกาะไหล่เพื่อน (ค.ศ. 1518) นอกจากนั้นภาพอื่นที่เด่นก็ได้แก่ภาพเหมือนของ[[ทิเชียน]]ที่เขียนเป็นชายสูงอายุที่เขียนเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1560, [[เพาโล เวโรเนเซ]]ปรากฏเป็นนักเล่นไวโอลินใส่เสื้อสีขาวในภาพ “การแต่งงานที่คานา” โดยมีทิเชียนเล่น [[bass viol]] (ค.ศ. 1562) จิตรกรทางตอนเหนือของยุโรปจะนิยมเขียนภาพเหมือนมากกว่าจิตรกรในอิตาลี ที่มักจะวางท่าเดียวกับภาพชาวเมืองผู้มีอันจะกินอื่นๆ ที่เป็นลูกค้าผู้มาว่าจ้างให้วาด
 
ภาพ “[[อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ (ทิเชียน)|อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ]]” (ราว ค.ศ. 1565-1570) โดย[[ทิเชียน]]เชื่อว่าเป็นภาพของทิเชียน, โอราซิโอลูกชาย และหลานมาร์โค เวเชลลิโอ<ref>Erwin Panofsky (and originally Fritz Saxl), Titian's "Allegory of Prudence, A Postscript'', in ''Meaning in the Visual Arts'', Doubleday/Penguin, 1955 </ref> นอกจากภาพนี้แล้วทิเชียนก็เขียนภาพเหมือนตนเองอีกในปี ค.ศ. 1567 ที่เป็นภาพแรก [[คาราวัจโจ]]เขียนภาพเหมือนตนเองเมื่อเริ่มเป็นจิตรกรใหม่ๆ ในภาพ “[[บาคคัส (คาราวัจโจ)|บาคคัส]]” ต่อมาก็เขียนเป็นตัวประกอบในภาพเขียนที่ใหญ่กว่า และในที่สุดก็เขียนตนเองเป็นหัวของ[[โกไลแอธ]]ที่เดวิดถือในภาพ “[[เดวิดกับหัวโกไลแอธ (คาราวัจโจ-โรม)|เดวิดกับหัวโกไลแอธ]]” (ค.ศ. 1605-ค.ศ. 1610, [[หอศิลป์บอร์เกเซ]], โรม)