ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 32:
== ประวัติโดยสังเขป ==
 
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในปี พศ.ศ. 2496 จึงขออนุมัติแยกเป็นสองโรงเรียน โดยใช้นามใหม่ว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา" มีบาทหลวงทองดี กฤษเจริญเป็นเจ้าของ นายเฉลิมวงศ์ ปิตรังสี เป็นผู้จัดการ นางนวม วานิชโช เป็นครูใหญ่ การเรียนการสอนดำเนินการมาด้วยดีเป็นลำดับ จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2498 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
 
== ประวัติโดยละเอียด ==
{{ข้อมูลเยอะเกิน}}
ดังได้กล่าวมาข้างต้นว่า แต่เดิมนั้นโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ จึงใคร่ขอกล่าวถึงประวัติของโรงเรียน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (สาขา) ไว้ที่นี้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อท่านผู้ก่อตั้งโรงเรียนมาตั้งแต่แรกเริ่ม คือบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการ[[อาสนวิหารอัสสัมชัญ]] คุรพ่อเลโอ แปรูดอง จัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม อัสสัมชัญคอนแวนต์(สาขา)หรือโรงเรียน[[อาสนวิหารอัสสัมชัญ]]ขึ้น เมื่อปี พศ.ศ. 2476 (คศ.ศ. 1933) โดยรับบุตรหลานของสัตบุรุษชายหญิงของ[[อาสนวิหารอัสสัมชัญ]]มาฝากเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยทางโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นผู้รับผิดชอบ ครั้งแรกมีจำนวน 65 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนฝากเรียนนี้ทวีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งนักเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มีจำนวนรวมกันถึง 1,757 คน เป็นนักเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ 848 คน และเป็นนักเรียนของอาสนวิหารอัสสัมชัญฝากเรียนจำนวน 909 คน ซึ่งนับเป็นจำนวนนักเรียนที่มากพอจะตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นส่วนของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จึงขอแยกโรงเรียนทั้งสองในปี พศ.ศ. 2496 และตั้งชื่อโรงเรียนที่แยกออกมานี้ว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา" จึงนับว่าโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาถือกำเนิดเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ในปี พศ.ศ. 2496 หลังจากที่เป็นโรงเรียนสาขาฝากเรียนอยู่ในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มาตั้งแต่ปี พศ.ศ. 2476 (คศ.ศ. 1933)
 
ความดำริชอบของบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ในการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นนั้น ประการหนึ่งเพราะความกรุณาแก่ปวงกุลบุตรและกุลธิดาของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งจะได้มีที่พักพิงในการช่วยอบรมเสริมสร้างอนาคตให้แก่บุตรหลานของเขาให้เป็นผู้มีศีลธรรมจรรยาดี อีกประการหนึ่ง ก็คงจะเป็นเพราะเกิดความมีจิตเมตตาสงสารและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของตัวท่านในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งอธิการอาสนวิหารอัสสัมชัญนี้เอง คงจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่บรรดาสัตบุรุษผู้มีฐานะยากจนเป็นอันมากได้มาขอร้องท่านในเรื่องไม่สามารถจะหาเงินส่งบุตรหลาน ให้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ดีและเป็นโรงเรียนในสถานศึกษาคาทอลิกด้วยได้ เมื่อเป็นดังนี้ สถานศึกษาแห่งความปราณีแห่งนี้จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้น เมื่อท่านดำรงตำแหน่งอธิการอาสนวิหารอัสสัมชัญได้ไม่นานนัก และท่านยังรับเป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนนี้สืบมา
บรรทัด 50:
เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาได้แยกตัวออกมาจากฌโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์นั้น ได้มีการเลือกบุคคลที่เคยดำเนินงานในโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มาแล้วไม่นานกว่า 15 ปี มาดำเนินกิจการของโรงเรียนต่อไป
 
หลังจากท่านบาทหลวงทองดี กฤษเจริญ มรณภาพ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พศ.ศ. 2508 ฟน้าที่ผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษานั้นจึงถูกดูแลต่อโดยท่านบาทหลวงวิลเลียม ตัน เป็นผู้ดำเนินการต่อไป ท่านได้ดำเนินการมาด้วยความราบรื่นและเจริญขึ้นเป็นลำดับ และด้วยความสามารถของคุณพ่อวิลเลียม อาคารเรียนไม้เก่า 3 หลังก็ได้กลายสภาพเป็นตึกคอนกรีตโอ่โถง มีห้องเรียนและห้องอุปกรณ์ต่างๆ สมกับที่เป็นโรงเรียนที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนของรัฐ นอกจากท่านจะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาแล้ว ท่านยังเอาใจใส่อบรมมารยาทแก่นักเรียนในความดูแลของท่าน และที่สำคัญคือท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านภาษาต่างประเทศแก่ลูกศิษย์ระดับมัธยมของโรงเรียนจนสำเร็จไปแล้วหลายรุ่น
หลังจากนั้นมาโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาก็มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของโรงเรียนมาโดยตลอด และมีการปรับเปลี่ยนจากโรงเรียนสหศึกษา มาเป็นโรงเรียนคาทอลิกหญิง นอกจากนี้ยังมีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1-3 ประถมศึกษาตอนต้น 1-3 ประถมศึกษาตอนปลาย 4-6 มัธยมศึกษาตอนต้น 1-3 และ มัธยมศึกษาตอนปลาย 4-6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และสายศิลป์-ฝรั่งเศส ดังปัจจุบัน