ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|พระศรีศิลป์ พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่ประสูติแต่ท้าวนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์|พระศรีศิลป์พระองค์อื่น|พระศรีศิลป์}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| สีพิเศษ = #ffcc00
บรรทัด 11:
| พระอิสริยยศ =
| พระราชบิดา = [[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]
| พระราชมารดา = [[นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ]]
| พระมเหสี =
| พระราชสวามี =
บรรทัด 23:
|}}
 
'''พระศรีศิลป์''' เป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]ประสูติแต่[[นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ]] ทรงมีพระเชษฐา 1 พระองค์ ได้แก่ [[พระยอดฟ้า]] ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของ[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] พระองค์ทรงได้รับการอุปการะจากสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา จนกระทั่ง พระองค์มีพระชันษา 20 พรรษาได้คิดขบถขึ้นและนำไปสู่การสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา
 
== พระประวัติ ==
 
พระศรีศิลป์เป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]ประสูติแต่[[นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ]] พระองค์มีพระเชษฐา 1 พระองค์ ได้แก่ [[พระยอดฟ้า]] ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระยอดฟ้าเสด็จผ่านพิภพสืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ต่อจากสมเด็จพระราชบิดา ในขณะนั้นนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ได้ลอบเป็นชู้กับ[[ขุนวรวงศาธิราช]]และสมคบคิดกันนำพระยอดฟ้าไป[[สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์|สำเร็จโทษ]]ที่[[วัดโคกพระยา]] ส่วนพระศรีศิลป์ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 7 พรรษา ท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชทรงเลี้ยงไว้
 
หลังจากขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว [[ขุนพิเรนทรเทพ]]และข้าราชการจำนวนหนึ่งวางแผนลอบสังหารในขณะที่ขุนวรวงศาธิราช ท้าวนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พระราชบุตรี (พระราชธิดาในขุนวรวงศาธิราชที่ประสูติแต่ท้าวนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์) และพระศรีศิลป์ เสด็จขึ้นไปจับช้างที่[[เมืองลพบุรี]] ในครั้งนั้นขุนวรวงศาธิราช ท้าวนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชบุตรีถูกจับและสังหารสิ้น ส่วนพระศรีศิลป์นั้นทรงรอดพ้นจากภยันตรายในครั้งนี้ได้
 
เมื่อ[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์ทรงอุปการะพระศรีศิลป์เรื่อยมา จนเมื่อพระศรีศิลป์มีพระชันษาได้ประมาณ 14 พรรษา สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้ออกผนวชเป็น[[สามเณร]] ณ [[วัดราชประดิษฐาน]] ([[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์]] กล่าวว่า ทรงผนวชอยู่ที่[[วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา|วัดมหาธาตุ]]) แต่พระศรีศิลป์กลับซ่องสุมกำลังพลคิดการ[[ขบถ]] ความทราบถึงสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยามหาเสนาจับกุมตัวพระศรีศิลป์มาพิจารณาความ เมื่อรับเป็นสัจแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงไม่ประหารพระศรีศิลป์แต่ทรงให้ตุมตัวไว้ที่[[วัดธรรมิกราช]] โดยให้หมื่นจ่ายอดเป็นผู้ควบคุม