ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาเฉลิมไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 18:
ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นโรงมหรสพ ซึ่งผสมผสานความสง่างามแบบโรงละครในยุโรป กับความหรูหราของศิลปะลวดลายไทยอันวิจิตรที่ทันสมัยยิ่งใหญ่ด้วยเวทีเลื่อนขึ้นลงได้ด้วยระบบ[[ไฮดรอลิค]] <ref>ตำนานโรงหนัง หน้า 57-58</ref> เพียงแห่งเดียวของเมืองไทย สามารถจุผู้ชม 1,500 ที่นั่ง ([[ศาลาเฉลิมนคร]] 800 ที่นั่ง ,[[ศาลาเฉลิมกรุง]] 600 ที่นั่ง) ตั้งแต่ยุคละครเวที หลายเรื่องของคณะอัศวินการละครเป็นตำนานที่มีชื่อเสียง เช่น ''[[พันท้ายนรสิงห์]] ,[[บ้านทรายทอง]] ฯลฯ''<ref>อิงคศักดิ์ เกตุหอม ,นี่คือชีวิตของดอกดิน หอภาพยนตร์ชาติ(องค์การมหาชน),2554 ISBN:978-616-543-135-4 หน้า 29-31</ref>
 
เมื่อเข้าสู่ยุคปรับเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 นอกจากตัวโรง ยังได้จัดพื้นที่ซึ่งเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมร้านข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) อย่างโรงหนังต่างประเทศ และร้านไอศกริม[[ไอศกรีม]]ป๊อบ "ตราเป็ด" ที่ดังมากของยุค เป็นสัญลักษณ์มองเห็นแต่ไกล
 
ต้นเดือนเมษายน ปีนั้น เป็นแห่งแรกในเมืองไทยที่ฉายหนังสามมิติ ''ใต้อุ้งมือโจร (Man in the Dark)'' และหนังซีเนมาสโคปเรื่องแรกของโลก ''อภินิหารเสื้อคลุม (The Robe)'' เข้าฉายในวันสิ้นปี <ref>ตำนานโรงหนัง หน้า 60-61</ref>
บรรทัด 24:
พ.ศ. 2498 เป็นสถานที่ฉายเฉพาะกิจสำหรับหนังการ์ตูนไทยเรื่องแรก (16 มม./พากย์) ''เหตุมหัศจรรย์'' ของ [[ปยุต เงากระจ่าง]] ซึ่งเพิ่งขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติปี พ.ศ. 2555<ref>จุลสารทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2,2555</ref>
 
หลังจากนั้นเป็นผู้นำความแปลกใหม่มาเสนออย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หนังไทย-ชอว์บราเดอร์สเรื่องแรกชอว์บราเดอร์ส (35 มม.) ''[[สุรนารี]]'' ,หนังไทยอิงประวัติศาสตร์ทุนสูง (16 มม.) ''นเรศวรมหาราช'' ,หนังเพลงระบบทอดด์-เอโอ เสียงสเตอริโอโฟนิคสมบูรณ์แบบครั้งแรกของฮอลลีวูด ''[[มนต์รักทะเลใต้]] (South Pacific)'' ,หนังการ์ตูน ระบบซูเปอร์เทคนิรามา 70 มม.เรื่องแรกของโลก ''[[เจ้าหญิงนิทรา]] (Sleeping Beauty)'' ,หนังมหากาพย์สงครามโลก 34 ดาราสากล ''[[วันผด็จศึก]] (The Longest Day)'' ,หนังซีเนราม่า 3 เครื่องฉาย ''พิชิตตะวันตก (How the West Was Won)'' ,หนังมหากาพย์ทุนมโหฬารตลอดกาล ''[[คลีโอพัตรา]] (Cleopatra)'' ซึ่งเป็นครั้งแรกของโรงหนังเมืองไทยที่ติดตั้งลิฟท์บริการผู้ชมชั้นบน<ref>ข่าวบันเทิง หน้า 13 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ,พ.ศ. 2506</ref> และหนังรางวัลออสการ์อื่นๆ เช่น ''[[บุษบาริมทาง (ภาพยนตร์)|บุษบาริมทาง (My Fair Lady)]] ,ดร.ชิวาโก (Dr.Zhivago)'' รวมทั้งหนังไทย-ชอว์บราเดอร์ส (ซีเนมาสโคป) รางวัลตุ๊กตาทอง (มรดกชาติปี พ.ศ. 2555) เรื่อง ''[[เรือนแพ]] ''<ref>จุลสารทะเบียนมรดกภาพยนตร์</ref> ที่กลับมาฉายซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
 
มีบทบาทสำคัญในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ [[14 ตุลาคม]] พ.ศ. 2516 เป็นทั้งที่หลบภัยและโรงพยาบาลของคนเจ็บจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย <ref>ตำนานโรงหนัง หน้า 61</ref>