ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรบที่เมืองรุมเมืองคัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด ใช้เลขอารบิก
บรรทัด 1:
{{Infobox Military Conflict
| conflict = การรบที่เมืองคัง
| partof =
| image =
| caption =
| date =
| place = [[เมืองคัง]]
| territory =
| result = เมืองคังแตก
| status =
| combatant1 = [[ราชวงศ์ตองอู|อาณาจักรหงสาวดี]]<br>[[เมืองตองอู]] <br> [[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px]] กองทัพอยุธยา
| combatant2 = [[เมืองคัง]]
| combatant3 =
| combatant4 =
| commander1 = [[มังสามเกียด]]<br>[[นัดจินหน่อง]] (เมืองตองอู) <br>[[ไฟล์:Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg|20px]] [[สมเด็จพระนเรศวร]]
| commander2 = เจ้าฟ้าเมืองคัง
| commander3 =
| commander4 =
| strength1 =
| strength2 =
| strength3 =
| casualties1 =
| casualties2 =
| casualties3 =
| notes =
}}
 
'''การรบที่เมืองคัง''' เป็นผลมาจากการสวรรคตของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] พระมหากษัตริย์พม่า ทำให้เจ้าประเทศราชไทยใหญ่กระด้างกระเดื่องต่อพม่า พม่าต้องการปราบปรามเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศราชอื่น ๆ [[พระเจ้านันทบุเรง]]ทรงต้องการให้มีการแข่งขันในการรบ จึงทรงจัดให้เจ้านายพม่าและ[[สมเด็จพระนเรศวร]]เข้าตีเมืองคังคนละวัน เจ้านายพม่าทั้งสองไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ จนถึงวันที่สาม สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้เส้นทางลับเข้าตีเมืองจนสำเร็จ
 
== การรบ ==
กองทัพพระมหาอุปราชา ทำการเข้าตีวันแรกก็ถูกฝ่ายข้าศึกผลักก้อนศิลาลงมาทับผู้คนล้มตายเป็นอัน มาก มิอาจจะเข้าตีต่อไปได้ ในที่สุดต้องถอยทัพกลับลงมายังค่ายเชิงเขา
 
กองทัพพระสังกะทัต ทำการเข้าตีวันที่สอง เกิดการรบพุ่งกันเป็นสามารถ แต่ฝ่ายข้าศึกอยู่บนที่สูง ชัยภูมิมั่นได้ผลักก้อนศิลาลงมาถูกรี้พลพระสังกะทัตล้มตายเป็นอันมาก จะขึ้นหักเอามิได้ ก็ต้องถอยทัพกลับลงมาเช่นกัน
 
กองทัพสมเด็จพระนเรศวร ในระหว่างกองทัพพม่าเข้าตีสองวันแรก สมเด็จพระนเรศวร ได้นำทหารออกสำรวจภูมิประเทศรอบ ๆ เมืองคัง และสังเกตผลการรบของกองทัพพม่าจนกระท่งพบเส้นทางลับด้านหลังเมืองคัง ซึ่งสามารถเข้าตีเมืองคังได้ง่ายกว่า โดยดำเนินการใช้กลยุทธในการเข้าตี สมเด็จพระนเรศวรแบ่งกำลังพลออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งทำการเข้าตีทางด้านหน้าระดมยิงปืนนกสับขึ้นไปอย่างแน่นหนา ในขณะที่ข้าศึกกำลังสาละวนผลักก้อนศิลา และทำการยิงโต้ตอบทางด้านหน้า สมเด็จพระนเรศวรทรงนำทหารจำนวนหนึ่งจู่โจมเข้าตีกระหนาบทางด้านหลังทำให้ข้า ศึกพะว้าพะวัง พระองค์ทรงนำทหารเข้าตีโดยมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ใช้กำลังส่วนน้อยเข้าตีลวงข้าศึกเมืองคังด้านหน้า แล้วใช้กำลังส่วนใหญ่เข้าตีทางด้านหลังเมืองคังและสามารถเข้ายึดเมืองคังได้เป็นผลสำเร็จ
 
== ผลการรบ ==
กองทัพอยุธยาสามารถเข้าตีเมืองคังได้ ทำให้สมเด็จพระนเรศวรมีชื่อเสียงเกรียงไกรไปทั่วทุกสารทิศ เมื่อพระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ประจักษ์ในความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการรบของสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงดำริว่า อันสมเด็จพระนเรศวรนั้น ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงมีพระสติปัญญามั่นคงกล้าหาญ ละไว้นานจะเป็นอันตรายต่อกรุงหงสาวดี จึงคิดอุบายเพื่อนำตัวขึ้นมาสำเร็จโทษที่กรุงหงสาวดี เพื่ออำนาจกรุงหงสาวดีจะได้แผ่ไพศาลโดยไม่ต้องระแวงภัยจากกรุงศรีอยุธยา แต่ฝ่ายสมเด็จนเรศวรทรงทราบความก่อน จึงได้ยกกองทัพกลับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
 
== เหตุผลที่พระนเรศวรตีเมืองคังแตก ==
{{เก็บกวาด}}
* ต้องการเข้าตีเมืองคังให้ได้อย่างรวดเร็ว กำหนดที่หมายแน่นอน
* ชิงความริเริ่มเป็นฝ่ายรุก และแสวงประโยชน์จากจุดอ่อนของข้าศึก
* ปฏิบัติการจู่โจมโดยข้าศึกคาดไม่ถึงในลักษณะที่ข้าศึกไม่ได้เตรียมการไว้
* เข้าตีสองทิศทางโดยแยกกำลังเข้าตี ทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ เข้าตีลวงตรงหน้าด้วยกำลังน้อย และนำกำลังส่วนใหญ่เข้าตีด้านหลัง
* สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้อย่างดีเลิศ แม้จะแยกกำลังออกเป็นสองส่วนมอบหมายหน้าที่ในกองทัพได้เป็นอย่างดี
* ใช้แผนการเข้าตีอย่างง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนเท่าใดนัก
* พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่กล้าหาญ ทรงนำหน้าทหารอย่างเด็ดเดี่ยว
* รู้จักข้าศึก รู้ภูมิประเทศ และสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเราเรียกว่า ข่าวกรองเป้าหมาย
 
== อ้างอิง ==
* http://cgsc.rta.mi.th/cgsc/index.php?option=com_content&view=article&id=73:870151-&catid=7:88&Itemid=25
* วิบูลย์ วิจิตรวาทการ. '''ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช.''' -- กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2549. [[ISBN 9743415092]]
* Rong Syamananda '''A History of Thailand (Eighth Edition) ''' -- Bangkok : Thai Watana Panich
 
{{ตองอู}}