ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเขี้ยวแก้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่:พระพุทธเจ้าสำเร็จแล้ว โดยใช้ ฮอทแคต
Pharvw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
[[ta:புனிதப்பல்]]
[[tr:Buda'nın Diş Emaneti]]
ประวัติพระเขี้ยวแก้ว
ก่อนที่จะกล่าวถึงพระเขี้ยวแก้ว จำเป็นที่ผู้อ่านจะต้องทราบความจริง ซึ่งยังเข้าใจกันผิด ๆ เสียก่อน ดังนี้
พระบรมสารีริกธาตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะปรากฏให้มนุษย์ได้เห็น ได้กราบไหว้บูชา หรือจะเสด็จหายไป อย่างใดนั้นขึ้นกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพรหม หรือเทวดา โดยมีเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ คือ
1. ผู้ที่พระธาตุจะเสด็จมาให้ ต้องเป็นผู้ที่สั่งสมบารมีด้านนี้มา ส่วนจะมากหรือน้อยแล้วแต่ความสั่งสม ฆราวาสบางคนอาจมีบารมีด้านนี้มากกว่าพระอรหันต์ด้วยซ้ำไป
2. ผู้ที่จะบอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระอรหันตธาตุ จริงหรือไม่ พระอรหันตธาตุของท่านใด หรือส่วนใดของสรีระ ได้อย่างถูกต้องนั้น จำเป็นต้องทราบด้วยจิตที่สั่งสมด้านนี้มานานยิ่งนัก ไม่ใช่ทราบด้วยตำรา บุคคลเช่นนี้หาได้ยากในปัจจุบัน แม้ผู้ที่มีพระธาตุเสด็จมามาก ๆ ก็ยังไม่มีความรู้นี้ หรือมีแต่ถูกบ้าง ผิดบ้าง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่บุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง
ความรู้นี้เป็นอภิญญาแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้แม้เป็นฆราวาสก็ตาม และไม่ได้หมายความว่า
พระอรหันต์จะต้องมีสิ่งนี้ทุกองค์ไป น้อยองค์ที่มี ความศรัทธาของลูกศิษย์ที่มีต่อครูบาอาจารย์ เข้าใจว่าพระอรหันต์ที่มีเจโตปริยญาณ จะสามารถทราบทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างไม่ผิดพลาด ยังเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอยู่มากเพราะ อภิญญามีถึง 6 ด้าน คือ
1. หูทิพย์ 2. ตาทิพย์ 3. บุพเพนิวาสานุสติญาณ 4. เจโตปริยญาณ
5 . อิทธิวิธี(มีฤทธิ์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด) 6. อาสวักขญาณ
ความสั่งสมในแต่ละด้านจึงมีมากบ้าง น้อยบ้าง หรือไม่มีเลย เพราะพระอรหันต์มี 4 ประเภท
คือ หลุดพ้นโดยไม่มีฤทธิ์ มีฤทธิ์น้อย ปานกลาง มีฤทธิ์มาก จึงทำให้พระอรหันต์บางองค์เข้าใจสิ่งต่าง ๆ คลาดเคลื่อนผิดไปจากความเป็นจริง หรืออาจไม่ทราบในหลายสิ่งหลายอย่างได้ เพราะไม่เกี่ยวกับการสิ้นกิเลส แต่เป็นเรื่องของการไม่ได้ฝึกฝนมา หรือสั่งสมด้านนั้นมาน้อย แต่สิ่งที่จะไม่ผิดเลยคือ ความพ้นทุกข์ทางใจของตนเองเท่านั้น
3. บุคคล สถานที่ และกาลเวลา เป็นเหตุให้พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา หรืออันตรธานหายไปได้ และถ้าพระหรือฆราวาสเสื่อมถอยจากความดี พระบรมสารีริกธาตุอาจอันตรธานหายไปเอง หรือมีเหตุให้ต้องย้ายพระบรมสารีริกธาตุ ออกไปจากสถานที่นั้นก็ได้
แม้ระดับประเทศก็ตาม หลังจากปรินิพพานเรื่อยมา ศาสนาพุทธในประเทศอินเดียถูกคุกคามจากศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู พระบรมสารีริกธาตุยังเสด็จไปที่ประเทศอื่น เช่นเดียวกับการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว 1 องค์ มายังศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. 854 มายังเมืองอนุราธปุระ และเมืองโปโลนารุวะ เพียง 2 เมือง ต้องย้ายสถานที่ประดิษฐาน ถึง 17 ครั้ง ในเวลา 1,700 ปี ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ หนีภัยคุกคามต่อพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพวกทมิฬซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน และทำลายพุทธสถานต่าง ๆ รวมทั้งชาวโปรตุเกสที่เข้ามายึดครองศรีลังกาด้วย
การรุกรานพุทธศาสนาเกิดขึ้นเรื่อยมา ในที่สุดก็ย้ายพระเขี้ยวแก้วไปที่เมืองแคนดี้ (ไม่มีผู้ใดยืนยันได้อย่างแท้จริงว่าเป็นองค์จริง) ระหว่างนี้ทมิฬและสิงหล มีปัญหาทำร้ายกันตลอดมา จนมีคำกล่าวว่า พวกทมิฬเชื่อไม่ได้ทั้งหมด มีเชื่อได้เพียง 2 คน คือ คนที่ตายไปแล้ว กับรูปภาพเท่านั้น เพราะ 2 คน นี้ โกหกไม่ได้
ปัจจุบันพวกทมิฬมีอยู่ในอินเดียตอนใต้ แคว้นทมิฬนาดู 50 ล้านคน และในประเทศศรีลังกา รวมทั้งในยุโรป เคยได้วางระเบิดพลีชีพสังหารนายราจีฟ คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ลูกชายนางอินทิรา คานธี เสียชีวิตไปแล้ว และพฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 ได้วางระเบิดพลีชีพสังหาร ประธานาธิบดีศรีลังกา เสียชีวิตพร้อมคนจำนวนมาก รวมทั้งได้วางระเบิดไว้ในรถบรรทุก เพื่อทำลายวัดพระเขี้ยวแก้ว วัดนี้จึงถูกทำลายลงบางส่วน ทมิฬในศรีลังกา เคยยึดครองพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกของศรีลังกาไว้ แม้ปัจจุบันพวกทมิฬจะถูกปราบปรามไปบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ทมิฬทั้งนอกและในประเทศยังคงมีเจตนาอย่างแน่วแน่เช่นเดียวกับศาสนาอิสลาม ที่จะยึดครองดินแดนของศรีลังกา และทำลายศาสนาพุทธให้หมดไป
แม้พระไทย คนไทย จะเคยมองศรีลังกาอย่างผิวเผินว่า พุทธศาสนาตั้งอยู่ในศรีลังกาอย่างแน่นแฟ้น แต่ความจริงแล้วเราต้องยอมรับว่า กว่าพันปีมาแล้วที่ต้องย้ายพระเขี้ยวแก้วถึง 17 ครั้ง แสดงถึงการคุกคามอันยาวนาน และกำลังจะเปลี่ยนรูปแบบเป็น การคุกคามสมัยใหม่ที่รุนแรง รวดเร็ว มีผู้เสียชีวิตครั้งละมาก ๆ โดยผู้คุกคามยอมเสียชีวิตเพียงคนเดียว ดังนั้น การสู้รบที่คนจำนวนมากต้องล้มตายลงในอนาคต ชาวสิงหล จะรักษาแผ่นดินชาวพุทธไว้ได้หรือ
ผู้ที่ได้มีโอกาสได้เห็นพระเขี้ยวแก้ว ที่เชื่อว่าเป็นองค์จริงที่ศรีลังกา กล่าวว่า องค์นี้ไม่เหมือนกับองค์จำลอง ทั้งสีและสัณฐาน ทั้งที่กล่าวกันว่า องค์จำลองมีขนาดและสัณฐานเท่ากับของจริง และมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่อาจทราบได้ว่า องค์ที่เชื่อว่าเป็นของจริง เป็นของแท้จริงหรือไม่ เพราะกำลังอภิญญาไม่เพียงพอที่จะบอกได้
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีอภิญญา แต่เมื่อได้อ่าน จดหมายเหตุของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. 2440 ก็จะพอเข้าใจได้ว่า พระทันตธาตุที่ว่าเป็นองค์จริงนั้น เป็นของจริงหรือไม่ ดังนี้
 
เรื่องต่อจากนี้ไป รัชกาลที่ 5 ทรงอ่านมาจากหนังสือภาษาอังกฤษ โดย เซอร์ เย.วี. เตนเนนต์ เป็นผู้แต่ง (หนังสือนี้แปลมาจากฉบับบาลีอีกทีหนึ่ง )
พระทันตธาตุมี 4 องค์ เก็บรักษาไว้ในดาวดึงส์ และนาคพิภพ ภพละ 1 องค์ ส่วนบนโลกมนุษย์นั้น ขณะแบ่งพระธาตุ กษัตริย์ได้ตกลงกันว่า องค์ที่ 1 มอบให้แคว้นคันธาระ องค์ที่ 2 มอบให้แคว้น กลิงคะ
พระเขมะ เป็นผู้นำพระทันตธาตุออกจากที่ถวายพระเพลิง ถวายแด่พระเจ้าพรหมทัต ซึ่งปกครองแคว้นกลิงคะ พระเจ้าพรหมทัต ได้สร้างวิหารหุ้มทองเก็บรักษามายาวนาน หลายชั่วอายุคน
ภายหลังพระทันตธาตุ ได้ถูกนำไปยังกรุงปาตลีบุตร แสดงปาฏิหาริย์หลายอย่าง ขณะถูกนำมาทำลาย คือ เมื่อถูกทิ้งลงในเตาเพลิง ก็มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ , เมื่อนำแผ่นเหล็กมาทุบ ก็ติดอยู่ในแผ่นเหล็ก แกะออกไม่ได้ สุภัทรภิกษุมาอัญเชิญ จึงนำออกมาได้
กษัตริย์แคว้นกลิงคะ ขณะนั้นชื่อ พระเจ้าคูหาสิวะ จึงอัญเชิญกลับกรุงกลิงคะ ประดิษฐานไว้ในวิหารเก่า จนถึงเมื่อกองทัพข้าศึกยกมาประชิดพระนคร พระเจ้าคูหาสิวะ จึงสั่งแก่บุตรเขย ชื่อ นันทกุมาร และบุตรสาว ชื่อ นางเหมมาลา ว่า ถ้าพระองค์แพ้ศึก สิ้นพระชนม์ ให้อัญเชิญพระทันตธาตุนี้ ไปถวายแก่พระเจ้ากรุงสิงหล
ในที่สุด ก็พ่ายแพ้ บุตรเขยและธิดาจึงหลบหนีออกจากเมือง ปลอมตัวเป็นสามัญชน ซ่อนพระทันตธาตุ ไว้ในมวยผม เดินทางมาถึงเมืองตะมะลิตถิ จึงเดินทางโดยเรือสำเภาไปศรีลังกา
พระทันตธาตุ องค์ที่ 1 (องค์จริง)
พระทันตธาตุ ถึงกรุงลังกา อัญเชิญมาที่เมืองอนุราธปุระ ในสมัยกษัตริย์ชื่อ พระเจ้ากฤตสิริเมฆะวัณณะ (ครองราชย์ พ.ศ. 841 – พ.ศ. 869) ในปี พ.ศ. 854 ทรงสักการบูชาและป้องกันอย่างกวดขัน
ต่อมาพวกทมิฬรุกรานสิงหลหนักมาก จนถึง พ.ศ. 1312 พระเจ้าอัครโพธิ ซึ่งเป็นกษัตริย์ ต้องเสียแผ่นดินให้แก่พวกทมิฬ ย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองโปโลนารุวะ (POLONARUWA) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 100 กิโลเมตรเศษ เมืองหลวงใหม่นี้ตั้งอยู่จนถึง พ.ศ. 1846 (ประมาณ 500 ปี)
เกิดการรุกรานขึ้นอีก จนทำให้พระเจ้าภูวะเนกพาหุ กษัตริย์ในสมัยนั้นต้องย้ายเมืองไปตั้งที่ใหม่ เรียกว่า โกรแล ต้องเผชิญกับพวกบันดยัน ซึ่งลอบเข้าตีพระนคร ในที่สุด ผู้โจมตีได้เชิญพระทันตธาตุกลับประเทศอินเดีย
ต่อมาอีกหลายปีนัก พระเจ้าปรักกมพาหุ กษัตริย์องค์ที่ 4 ได้เดินทางไปยังกรุงมธุระ ประเทศอินเดีย ขอพระทันตธาตุกลับคืนมาลังกา
บ้านเมืองศรีลังกาก็ไม่ได้สงบราบคาบลงไป เกิดจลาจลอยู่เรื่อย ๆ มีผู้นำพระทันตธาตุเดินทางไปซ่อนไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ หลายตำบล เช่น ตำบลแคนดี้ ตำบลลัพพารคาม ตำบลโกติมาลัย จนกระทั่ง พ.ศ. 2043 พระทันตธาตุองค์แรกนี้ ได้หายสาบสูญไปอย่างสิ้นเชิง (จากหนังสือของโปรตุเกส)
พ.ศ. 2103 โปรตุเกสมาพบเข้าที่เมืองแจฟนา (JAFNA) จึงนำไปยังเมืองคัว ซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในประเทศอินเดียด้านตะวันตก มอบให้ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสประจำอินเดีย จากนั้นสังฆราชโปรตุเกส ได้เผาทำลายต่อหน้าผู้สำเร็จราชการและขุนนางจำนวนมาก โดยมีเรื่องราวดังนี้
กษัตริย์พม่าในสมัยนั้น (พระเจ้าบุเรงนอง) ทราบว่ามีผู้ได้พระทันตธาตุไป จึงขอให้พ่อค้าโปรตุเกสซึ่งเดินทางมาค้าขายที่หาสาวดี กลับไปอินเดีย ขอให้ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกส มอบพระทันตธาตุมายังหงสาวดี โดยยอมให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ พ่อค้าแนะให้กษัตริย์พม่า แต่งทูตไปเจรจากับผู้สำเร็จราชการเอง
พ.ศ. 2104 พ่อค้าพาทูตพม่าไปเจรจา ทูตขอแลกเปลี่ยนพระทันตธาตุกับอะไรก็ได้ที่โปรตุเกสต้องการ และรับส่งเสบียงอาหารให้กับทหารโปรตุเกสที่เมืองมะละกา และอื่น ๆ อีก
ขณะนั้น โปรตุเกสมีแนวโน้มมากที่จะรับข้อเสนอ เพราะกำลังขัดสนเสบียงต่าง ๆ ที่เข้ามายึดศรีลังกา
แต่สังฆราช อาชบิชอป ดองคาสปา รีบไปหาผู้สำเร็จราชการ ห้ามมิให้มอบพระทันตธาตุให้ แม้จะได้รับทรัพย์ใด ๆ ในโลกก็ตาม เพราะจะเสียเกียรติยศของพระเจ้า และเป็นหนทางให้มีผู้กราบไหว้พระทันตธาตุ แทนที่จะกราบไหว้พระเจ้า จึงประชุมกันระหว่างสังฆราช บาทหลวง และขุนนางใหญ่น้อย สรุปว่าไม่ให้พระทันตธาตุ และได้ลงนามในหนังสือทุกคน หนังสือฉบับนี้ยังเก็บรักษาอยู่
ผู้สำเร็จราชการ จึงนำพระทันตธาตุมาส่งให้พระสังฆราชโปรตุเกส
สังฆราชได้นำลงใส่ในครก ตำด้วยมือตนเองจนละเอียดเป็นผง แล้วเทลงในเบ้าเผา เผาจนเป็นเถ้า นำเถ้าพระทันตธาตุและเถ้าถ่าน เทลงในแม่น้ำต่อหน้าคนทั้งหลาย และเพื่อเป็นการขู่พุทธศาสนิกชนไม่ให้ทำรูปเคารพขึ้นแทน จึงให้ทำโล่ห์อันหนึ่งมีรูปผู้สำเร็จราชการ , สังฆราช , บาดหลวง ซึ่งได้ประชุมนั้น มีรูปเบ้าหลอมซึ่งกำลังสุมไฟ และรูปพุทธศาสนิกชน และชื่อสังฆราช พร้อมทั้งคำว่า สังฆราชซื่อตรงต่อสวรรค์ ไม่รับสมบัติใด ๆ
พระทันตธาตุ องค์ที่ 2 (จำลอง)
พ.ศ. 2109 พระเจ้าบุเรงนอง ได้รับคำทำนายจากโหรว่า จะได้มเหสีเป็นชาวลังกา จึงส่งทูตไปขอราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินลังกา พระเจ้าแผ่นดินตอนนั้นชื่อ ธัมมะปาละ อยู่เมืองคอตตา ไม่มีลูกชาย ลูกสาว (เข้ารีดเป็นคริสต์ ชื่อ ดองยอง) ขุนนางคนหนึ่งแนะนำให้ส่งลูกสาวของตนไปแทน หลอกลวงว่าเป็นลูกกษัตริย์ และหลอกลวงต่อไปว่า ยังมีพระทันตธาตุของแท้เก็บซ่อนไว้ ส่วนพระทันตธาตุที่โปรตุเกสทำลายเป็นของปลอม และออกอุบายว่าไปกลางวันไม่ได้ ต้องปลอมตัวไปดูที่บ้านขุนนางในเวลากลางคืน (นำเขากวางมาแกะเป็นรูปพระทันตธาตุ หุ้มพระทันตธาตุองค์ปลอมด้วยทอง และบรรจุในเจดีย์ซึ่งประดับด้วยของมีค่า)
กษัตริย์ธัมมปาละ แต่งทูตไปพร้อมกับพระราชธิดาปลอม และพระทันตธาตุปลอม ลงเรือไปถึงท่าเรือโกสมี เมืองหงสาวดี ก่อนถึงท่าเรือ 2 – 3 วัน พระสงฆ์และราษฎรทั้งหลายพากันยินดีเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าบุเรงนองทรงมาทอดพระเนตรที่สำหรับประดิษฐานด้วยพระองค์เอง ซึ่งประดับด้วยของมีค่าต่าง ๆ มากมาย จัดขบวนเรือหลายลำ แวดล้อมแพมณฑปที่เตรียมไว้สำหรับประดิษฐานพระทันตธาตุ เวลากลางคืนก็จุดไฟสว่างดั่งกลางวัน
พระเจ้าบุเรงนองได้ลงเรือมารับพระทันตธาตุ ด้วยมือของพระองค์เอง และทำสักการบูชาด้วยความเคารพสูงสุด จากนั้นมาได้ทำวิหารประดิษฐานพระทันตธาตุขึ้นในเมืองหงสาวดี
พระทันตธาตุ องค์ที่ 3 (จำลอง)
ข่าวพระธัมมปาละ หลอกลวงพระเจ้าบุเรงนองเพื่อแลกกับสมบัติมหาศาลดังกล่าวแล้ว ได้ทราบถึงพระเจ้าวิกรมพาหุ กษัตริย์เมืองแคนดี้ โดยเร็ว พระเจ้าวิกรมพาหุ เป็นญาติกับพระเจ้าธัมมปาละ เกิดอิจฉา จึงส่งทูตไปหงสาวดี แจ้งแก่กษัตริย์หงสาวดีว่า หญิงที่ได้ไปไม่ใช่ธิดากษัตริย์ แต่เป็นลูกสามัญชน และพระทันตธาตุที่ได้ไปเป็นของปลอม แม้พระทันตธาตุที่โปรตุเกสทำลายไปที่เมืองคัว ก็เป็นของปลอม ของจริงอยู่ที่พระเจ้าวิกรมพาหุ
พระเจ้าบุเรงนอง ทรงลังเลพระทัยว่า ได้แต่งตั้งหญิงนี้ขึ้นเป็นมเหสีแล้ว พระทันตธาตุก็ประดิษฐานให้คนกราบไหว้แล้ว การจะรับพระทันตธาตุมาอีก 1 องค์ จะเสียพระเกียรติยศว่าพระองค์ถูกหลอก จึงแต่งเรือกำปั่น 2 ลำ บรรทุกข้าวของส่งไปยัง
1.ดองยอง (กษัตริย์ธัมมปาละ ที่เข้ารีตเป็นคริสต์แล้ว) พร้อมด้วยเชลยโปรตุเกส ที่ถูกพม่าจับได้ ในกลุ่มชาวโปรตุเกสนี้เอง มีคนชื่อ แอนตอเนียว โตสคาโน ได้มาเล่าเรื่องนี้ให้ผู้แต่งหนังสือนี้ ฟังหลายครั้ง
2.พระเจ้าวิกรมพาหุ เมืองแคนดี้ เรือลำนี้ถูกเจาะจมลงพร้อมด้วยทูตตายทั้งลำ คาดว่าพระเจ้าดองยองเป็นผู้สั่งให้ทำ
รัชกาลที่ 5 ได้ไปทอดพระเนตรพระทันตธาตุที่แคนดี้มา จดหมายเหตุขณะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ว่า
1.สีของพระทันตธาตุ เป็นสีดอกพิกุลแห้ง สีคล้ำมัว เหมือนงาที่ใช้ทำเครื่องมือซึ่งใช้งานมานานมากแล้ว แต่เป็นสีที่ไม่เสมอกัน ส่วนสัณฐานไม่ผิดไปจากที่จำลองมากนัก
2.ได้ฟังจากชาวต่างประเทศ กล่าวว่า พระทันตธาตุจำลองนั้น ทำด้วยงาช้างซึ่งเสียสี เป็นของพระเจ้าวิกรมพาหุ คิดทำขึ้น ไม่เหมือนฟันของมนุษย์ ส่วนองค์แท้นั้น โปรตุเกสได้ทำลายเสียแล้วที่เมืองคัว
3.ความเห็นของรัชกาลที่ 5 ว่า องค์ที่ถูกทำลาย จะเป็นของที่แท้จริงก็ไม่ได้ เพราะมีการนำไปซ่อนเร้นมาหลายแห่งแล้ว
จบจดหมายเหตุของรัชกาลที่ 5
ที่วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ เมื่อปี พศ. 2555 มีภาพแสดงประวัติความเป็นมาของพระเขี้ยวแก้วในศรีลังกา ตามที่รัชกาลที่ 5 กล่าวไว้อยู่บ้างแต่ไม่ทั้งหมด และไม่พบประวัติที่เกี่ยวกับโปรตุเกส และหงสาวดี ทั้งที่โปรตุเกส และพม่าจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร อาจเป็นเพราะศรีลังกาต้องการปกปิด ไม่อยากเปิดเผยเรื่องเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องที่ทำให้ภาพพจน์ของศรีลังกาเสียหาย และจะทำให้เกิดความสงสัยว่า พระเขี้ยวแก้วที่ว่าเป็นองค์จริงนั้น เป็นของจริงหรือไม่
ณ เวลานี้ พระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่แท้จริง จะอันตรธานหายไปจากแคว้นคันธาระ อาฟกานิสถาน และจากประเทศศรีลังกา ไปประดิษฐาน ณ ที่ใด เมื่อใด อยู่ที่ผู้ใด แผ่นดินนั้นจะรักษาพุทธศาสนาไว้ได้เพียงใด ผู้มีอายุยาวนานกว่ามนุษย์เท่านั้น จะทราบได้
พระทันตธาตุของพระพุทธเจ้าไม่ได้มีเพียง 4 ซี่ ตามตำนานเท่านั้น ฟันมนุษย์ย่อมมีหลายซี่ หลายสัณฐาน ที่เรียกกันว่าพระเขี้ยวแก้วมีเพียง 4 ซี่ ดังกล่าวมาแล้ว แต่พระทันตธาตุองค์อื่น ๆ ย่อมอยู่ในบางประเทศ หรือเทวดาเก็บรักษาไว้ จนถึงเวลาอันสมควรจึงจะปรากฏออกมาให้ผู้คนได้กราบไหว้
จะมีผู้ใดกล้ารับรองว่า ผู้จารึกไว้ในอดีตซึ่งกล่าวว่า พระทันตธาตุบนโลกมนุษย์มีเพียง 2 องค์ เท่านั้น จะเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องตลอดกาล เพราะเป็นช่วงเวลาในอดีตจนถึงวันนั้นเท่านั้น หากเมื่อใดในอนาคต พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะให้เสด็จมาอีก ผู้ใดมีอำนาจที่จะยับยั้งไว้ได้