ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงโคจรค้างฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: ภาพ:Geostationaryjava3D.gif|200px|thumb|right|วงโคจรค้างฟ้าจากมุมมองด้านบน ซึ่งดาวเที...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:20, 8 มกราคม 2556

วงโคจรค้างฟ้า (อังกฤษ: geostationary orbit หรือ Geostationary Earth Orbit , อักษรย่อ: GEO) เป็นวงโคจรที่มีระยะทางห่างจากพื้นโลก 35,786 กิโลเมตร (22,236 ไมล์) ขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก มีทิศทางการโคจรทวนเข็มนาฬิกาเหมือนทิศทางการหมุนของโลก วัตถุที่อยู่ในวงโคจรดังกล่าวจะมีคาบการโคจรเกือบเท่ากับของโลก คือ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที และนั่นเองทำให้เมื่อสังเกตุวัตถุที่อยู่ในวงโคจรนี้จากโลก วัตถุจะปรากฏนิ่งในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา ดาวเทียมในวงโคจรนี้ส่วนมากจึงเป็น ดาวเทียมสื่อสาร และ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา วงโคจรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับวงโคจรค้างฟ้าคือ วงโคจรจีโอซิงโครนัส ที่แตกต่างกันตรงที่ไม่ได้โคจรในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร

วงโคจรค้างฟ้าจากมุมมองด้านบน ซึ่งดาวเทียมทั้งสองจะอยู่ตำแหน่งเติมตลอดเมื่อมองจากพื้นโลก
วงโคจรค้างฟ้าจากมุมมองด้านข้าง

แนวคิดเรื่อง วงโคจรจีโอซิงโครนัส เพื่อการสื่อสารนั้นถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1928 โดยชาวออสเตรีย เฮอร์แมน โปโตซิก[1] แต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย ต่อมาแนวคิดนี้ปรากฎในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับความนิยมมาก เรื่อง Venus Equilateral โดย จอร์จ โอ. สมิทธิ์[2] แต่เขาก้ไม่ได้สนใจในรายละเอียด ต่อก็ปรากฎในนิยายวิทยาศาสตร์อีกเรื่องที่แต่งโดยนักประพันธ์ชาวอังกฤษ อาเธอร์ ซี. คลาร์ก จากกระแสนิยมในวรรณกรรมของเขา แนวคิดนี้จึงแพร่หลาย ตามด้วยข้อมูลและทฤษฏีมากมายถึงหลักการของมัน ในปี ค.ศ. 1945 เอกสารชื่อ "Extra-Terrestrial Relays — Can Rocket Stations Give Worldwide Radio Coverage?"' (การถ่ายทอดภาคพื้นดินที่ยิ่งใหญ่ — สถานีจรวดจะสามารถให้สัญญาณวิทยุได้ทั่วโลกหรือไม่?) ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร ไวร์เลสส์ เวิลด์ ซึ่งคลาร์กได้ยอมรับถึงการเชื่อมบทนำของเขาไปยังวรรณกรรมชุด Venus Equilateral ฉบับสมบูรณ์[3] ซึ่งคลาร์กได้พรรณนาถึงวงโคจรดังกล่าวเป็นครั้งแรกว่า มันจะเป็นประโยชน์สำหรับการออกอากาศและการสื่อสารผ่านดาวเทียม[4] ซึ่งในบางครั้ง มันก็ถูกเรียกว่า วงโคจรคลาร์ก[5] แต่วงโคจรที่คลาร์กจินตนาการไว้นั้น มีเส้นรอบวงยาว 265,000 กิโลเมตร ซึ่งเกือบจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงในเวลาต่อมา

อ้างอิง

  1. Noordung, Hermann (1995) [1929]. The Problem With Space Travel. Translation from original German. DIANE Publishing. p. 72. ISBN 978-0-7881-1849-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. "(Korvus's message is sent) to a small, squat building at the outskirts of Northern Landing. It was hurled at the sky. … It … arrived at the relay station tired and worn, … when it reached a space station only five hundred miles above the city of North Landing." Smith, George O. (1976). The Complete Venus Equilateral. New York: Ballantine Books. pp. 3–4. ISBN 0-345-25551-8-185. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: invalid prefix (help)
  3. "It is therefore quite possible that these stories influenced me subconsciously when … I worked out the principles of synchronous communications satellistes …", op. cit, p. x
  4. "Extra-Terrestrial Relays — Can Rocket Stations Give Worldwide Radio Coverage?" (PDF). Arthur C. Clark. October 1945. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
  5. "Basics of Space Flight Section 1 Part 5, Geostationary Orbits". NASA. สืบค้นเมื่อ 2009-06-21.

แหล่งข้อมูลอื่น