ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรหาร ศิลปอาชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YFdyh-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: zh:班汉·西巴阿差
บรรทัด 62:
การบริหารราชการแผ่นดินในดำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายบรรหารดำเนินไปปีเศษ เกิดความไม่ราบรื่นจึงมีการ[[ยุบสภา]] เมื่อวันที่ [[27 กันยายน]] [[พ.ศ. 2539]] ทำให้นายบรรหารพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 
นายบรรหารมีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า ''"มังกรสุพรรณ"'' หรือ ''"มังกรการเมือง"'' และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย [[เติ้งเสี่ยวผิง]] อดีตผู้นำจีน [[สื่อมวลชน]]จึงนิยมเรียกนายบรรหารสั้น ๆ ว่า "เติ้ง" หรือ "เติ้งเสี่ยวหาร" และ"ปลาไหล" เนื่องจากเป็นคนกลับกลอกไปมาไม่แน่นอน
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548|การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548]] พรรคชาติไทยซึ่งใช้สโลแกนหาเสียงว่า ''"สัจจะนิยม สร้างสังคมให้สมดุล"'' นายบรรหารในฐานะหัวหน้าพรรคได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า ไม่จะขอร่วมรัฐบาล พ.ต.ท.[[ทักษิณ ชินวัตร]] อีก ถ้า[[พรรคไทยรักไทย]]สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ใน[[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550|ห้วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550]] พรรคชาติไทยได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน และร่วมกับ[[พรรคประชาธิปัตย์]]และ[[พรรคมหาชน]] [[คว่ำบาตร]][[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2549|การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549]]