ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ciri (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 32:
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ทรงกลับมาศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเข้ารับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพื่อช่วยงานพระบิดาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงได้รับมอบหมายให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นการสำรวจภาวะทางเศรษฐกิจ (Economic survey) ภายใต้ชื่อ งานท่องสื่อทางทรัพย์ ทรงปฏิบัติภารกิจได้ดี ทั้งในด้านการวางแผน เป้าหมาย การทดลองสำรวจและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในการสำรวจ รวบรวม และคำนวณผลการสำรวจโดยใช้วิชาสถิติเป็นหลัก ซึ่งต่อมาหน่วยงานนี้ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นกอง ชื่อ กองสืบความรู้เอคอนอมิค หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมแห่งกองนี้ตลอดมา จนปี พ.ศ. 2469 ในรัชสมัยพระบาทสมเด้จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลต้องลดค่าใช้จ่ายลงอย่างมาก กองสืบความรู้เอคอนอมิค ถูกยุบลง หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการทางกรมรถไฟแผ่นดิน หลังจากนั้น จึงทรงลาออกจากราชการ
เมื่อทรงออกจากราชการแล้ว หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ ทรงประกอบธุรกิจส่วนองค์ ซึ่งทรงสนใจด้านการกสิกรรม จึงทรงเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันขึ้นที่ตำบลบ้านปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา นับเป็นคนไทยคนแรกที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อการค้า และทรงย้ายไปสร้างตำหนักและประทับอยู่ที่สงขลาเป็นการถาวรร่วมกับชายาคือ หม่อมเจ้าชวลิตโอภาส (รพีพัฒน์) และบุตร ธิดา
ในปี พ.ศ. 2482 หม่อมเจ้าอัปษรสมาน (เทวกุล) กิติยากร สิ้นชีพิตักษัย หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ทรงรับมรดกโรงภาพยนต์ภาพยนตร์พัฒนากร (สิริรามา)จึงทรงบริหารโรงภาพยนต์ภาพยนตร์ต่อมา โรงภาพยนต์ภาพยนตร์แห่งนี้เป็นที่แรกที่เริ่มการพากย์หนังเป็นภาษาไทย โดยมีทิดเขียว ศิลป์ สีบุญเรือง เป็นผู้ริเริ่มการพากย์หนังขึ้นจนแพร่หลายไปทั่วประเทศ
 
== การเสกสมรสและบุตร ==