ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 4:
แนวคิดนี้ได้รับการคิดค้นขึ้นโดยวิลเฮล์ม โรเชอร์ นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันในปี พ.ศ. 2390<ref>A. Lentin (ed.), ''Enlightened Absolutism (1760-1790)'', Avero, 1985, p. ix.</ref> และยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการมาจนถึงปัจจุบัน<ref>Charles Ingrao, "The Problem of 'Enlightened Absolutism and the German States," ''Journal of Modern History'' Vol. 58, Supplement: Politics and Society in the Holy Roman Empire, 1500-1806 (Dec., 1986), pp. S161-S180 [http://www.jstor.org/stable/1880014 in JSTOR]</ref>
 
พระประมุขผู้ทรงภูมิธรรมดำรงพระราชอำนาจมิใช่จาก[[เทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์]] หากแต่เป็นพระราชอำนาจที่มาจากพันธสัญญาต่อสังคมอันเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องปกครองอย่างทรงธรรม การพิจารณาถึงพระประมุขว่าทรงภูมิธรรมมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์เชิงกว้างของการรับเอาอิทธิพลจากยุคเรืองปัญญามามากน้อยเพียงใด เช่น [[สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย]] แม้จะทรงปฏิเสธหลักการของการมีพันธสัญญาต่อสังคมอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ทรงรับเอาแนวคิดมากมายจากยุคเรืองปัญญามา พระนางทรงเป็นผู้อุปภัมถ์คนสำคัญของวงการศิลปะ[[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]และยังทรงผสมผสานแนวคิดต่างๆ จากนักปรัชญา โดยเฉพาะ[[มงแตสกีเยอ]] ดังเช่นในพระราชโองการของพระนางที่ประสงค์จะให้มีการปฏิรูประบบกฏหมายกฎหมายของรัสเซียเป็นต้น
 
ในทางปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์ปกครองด้วยพระประสงค์ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรเพื่อเป็นการสร้างเสริมพระราชอำนาจและพระบารมี ซึ่งนัยของแนวคิดนี้ก็คือการที่พระมหากษัตริย์คำนึงถึงผลพระโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนพระองค์เอง และด้วยแนวคิดนี้เองที่กลายมาเป็นบรรทัดฐานในการครองราชย์ของกษัตริย์ [[วอลแตร์]]เป็นนักปรัชญาคนสำคัญจากยุคเรืองปัญญาที่เห็นว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมเป็นหนทางที่แท้จริงเพียงเดียวที่จะทำให้สังคมเจริญรุ่งเรืองได้{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
บรรทัด 13:
รัฐบาลของรัฐต่างๆ ในยุโรปตอบสนองต่อยุคเรืองปัญญาแตกต่างกันไป ในฝรั่งเศสที่ซึ่งรัฐบาลได้ทำการต่อต้านการเรืองปัญญา ขณะที่เหล่านักปรัชญาต่างต่อสู้กับการปิดกั้นข่าวสารของรัฐ แต่ในอังกฤษ รัฐบาลวางตัวเมินเฉยต่อการเรืองปัญญา
 
อย่างไรก็ตาม รัฐในยุโรปที่มีผู้ปกครองทรงอำนาจหรือที่เรียกโดยนักประวัติศาสตร์ว่า ''ประมุขผู้ทรงภูมิธรรม'' ({{lang-en|Enlightened despots}}) พระประมุขเหล่านี้ต่างต้อนรับแนวคิดของยุคเรืองปัญญาเป็นอย่างดีในราชสำนัก และยังช่วยวางแผนการและกฏหมายกฎหมายเพื่อที่จะปฏิรูประบอบการปกครองของประเทศ รวมไปถึงการสร้างขุมอำนาจและความมั่นคงให้แก่รัฐของตน<ref>Stephen J. Lee, ''Aspects of European history, 1494-1789'' (1990) pp. 258-66</ref> [[พระเจ้าฟรีดริชมหาราช|พระเจ้าฟรีดริชมหาราชแห่งปรัสเซีย]] ผู้ครองราชย์ช่วงปี พ.ศ. 2283 - พ.ศ. 2329 ทรงสนพระทัยในแนวคิดของฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก วอลแตร์ผู้ซึ่งถูกจองจำและทารุณโดยรัฐบาลฝรั่งเศสปรารถนาอย่างมากที่จะตอบรับคำเชิญของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช โดยเขาถูกเชิญให้ไปพำนักยังพระราชวังในปรัสเซีย พระเจ้าฟรีดริชตรัสว่า "พันธกิจหลักของข้าพเจ้าคือการต่อสู้กับความโง่เขลาและความอยุติธรรม ... เพื่อบอกแจ้งแก่จิต, ปลูกฝังศีลธรรม, และทำให้ผู้คนมีความสุขมากที่สุดเท่าที่มันจะเหมาะสมกับธรรมชาติของมนุษย์และมากเท่าที่ข้าพเจ้าประสงค์จะให้มี"<ref>Giles MacDonogh, ''Frederick the Great: A Life in Deed and Letters'' (2001) p 341</ref>, [[สมเด็จพระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน]] ผู้ครองราชย์ช่วงปี พ.ศ. 2302 - พ.ศ. 2331 ทรงพยายามที่จะกอบกู้[[จักรวรรดิสเปน|จักรวรรดิ]]ของพระองค์จากความเสื่อมโทรมด้วยการปฏิรูปซึ่งมีอิทธิพลแผ่ขยายไปทั่วอาณาจักร ช่วยลดทอนอำนาจของศาสนจักรและเหล่าเจ้าขุนมูลนาย, สนับสนุนวิทยาศาสตร์และการวิจัยในมหาวิทยาลัย, ส่งเสริมการค้าและการพาณิชย์, พัฒนาการเกษตรกรรมและหลีกเลี่ยงการก่อสงคราม ทำให้สเปนรื้อฟื้นความยิ่งใหญ่ได้หลังจากการสวรรคตของพระองค์<ref>Nicholas Henderson, "Charles III of Spain: An Enlightened Despot," ''History Today'', Nov 1968, Vol. 18 Issue 10, p673–682 and Issue 11, pp 760–768</ref>, [[สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย]] ผู้ครองราชย์ช่วงปี พ.ศ. 2305 - พ.ศ. 2339 ก็ทรงหลงใหลในแนวคิดยุคเรืองปัญญา, [[จักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] ทรงหลงใหลในแนวคิดนี้จนมากเกินควร ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงประกาศการปฏิรูปออกมานับครั้งไม่ถ้วน หากแต่การปฏิรูปทั้งหมดเหล่านั้นล้วนแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยแก่ประเทศ จนกลายมาเป็นเรืองขบขันของประชาชนในความล้มเหลวดังกล่าว<ref>Nicholas Henderson, "Joseph II", ''History Today'' (March 1991) 41:21–27</ref> นอกจากนี้แนวคิดของการเรืองปัญญายังมีอิทธิพลอย่างมากทั้งใน[[โปรตุเกส]]และ[[เดนมาร์ก]]
 
== พระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้อง ==