ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปกครองประเทศฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 8:
รัฐสภาประกอบด้วย [[สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส|สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภาฝรั่งเศส|วุฒิสภา]] เพื่อทำหน้าที่ผ่านร่างกฎหมายและงบประมาณ รวมทั้งตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ผ่านทางการถามกระทู้สดในรัฐสภา โดยมีสภารัฐธรรมนูญ ("Conseil Consitutionnel") มีหน้าที่รับรองให้บทบัญญัติต่าง ๆ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยสมาชิกสภารัฐธรรมนูญ จะได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา อนึ่ง อดีตประธานธิบดียังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภารัฐธรรมนูญด้วย
 
ระบบตุลาการ ซึ่งเป็นแบบ[[ซีวิลลอว์ (ระบบกฎหมาย)|ระบบกฏหมายกฎหมาย]]โดยสืบทอดจาก[[ประมวลกฎหมายนโปเลียน]] แบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ศาลแพ่งและอาญา (ดูแลคดีแพ่งและอาญา) และศาลปกครอง (ดูแลเรื่องการใช้อำนาจรัฐ) โดยแต่ละฝ่ายจะมีศาลสูงสุด คือ ศาลยุติธรรมสูงสุด(ศาลฎีกา) สำหรับคดีความทางแพ่งและอาญา และ[[ศาลปกครองสูงสุด|ศาลปกครองสูงสุด (ประเทศฝรั่งเศส)]] สำหรับคดีด้านปกครอง โดยรฐบาลฝรั่งเศสรวมถึงหน่วยงานและองค์กรอิสระอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอีกหลายทางด้วย
 
ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบ[[รัฐเดี่ยว]] และแบ่งการปกครองย่อยเป็น[[แคว้นในประเทศฝรั่งเศส|แคว้น (région)]] [[จังหวัดในประเทศฝรั่งเศส|จังหวัด (départements)]] และ[[เทศบาลในประเทศฝรั่งเศส|เทศบาล (communes)]] ซึ่งจะมีขอบเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของตนทั้งด้านการคลังและงบประมาณ ซึ่งรัฐบาลกลางไม่สามารถเข้ามาแทรกแทรงได้
 
เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสเป็นสมาชิกก่อตั้งของ[[ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป]] (European Coal and Steel Community) ซึ่งต่อมาภายหลังได้พัฒนาเป็น[[สหภาพยุโรป]] ดังนั้นประเทศฝรั่งเศสจึงต้องถ่ายโอน[[อำนาจอธิปไตย]]บางส่วนให้กับสหภาพยุโรปตามรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพยุโรป และรัฐบาลฝรั่งเศสจำต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาและกฏกฎข้อบังคับแห่งสหภาพยุโรป
 
==รัฐธรรมนูญ==
บรรทัด 21:
อารัมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนี้อ้างอิงถึง (1) [[คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง]] ฉบับวันที่ [[26 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1789]] (2) อารัมภบทรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับวันที่ [[27 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 1946]] (รัฐธรรมนูญแห่ง[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4]]) และ (3) กฎบัตรสิ่งแวดล้อมฉบับปี ค.ศ. 2004 เอกสารเหล่านี้ กอปรกับรัฐธรรมนูญ และหลักพื้นฐานซึ่งรับรองโดยกฎหมายแห่งสาธารณรัฐ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแม่บทกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Le bloc de constitutionalité)
 
โดยหลักการที่บรรจุในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติ ได้แก่ หลักความเสมอภาคทางกฏหมายกฎหมาย และการไม่ยอมรับชนชั้นทางสังคม ซึ่งได้มีมาแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส การสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ [[เสรีภาพในการพูด]] และ [[เสรีภาพในการแสดงออก]] ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา การรับรองการถือครองทรัพย์สินและป้องกันจากการยึดทรัพย์ตามอำเภอใจ และความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐบาลต่อประชาชน
 
==ฝ่ายบริหาร==
บรรทัด 27:
เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสใช้ระบบการปกครองแบบ[[ระบอบกึ่งประธานาธิบดี|กึ่งประธานาธิบดี]] ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องได้รับเสียงจากการเลือกตั้งเป็นจำนวนอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
 
ประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมานตรี ซึ่งโดยกฏหมายกฎหมายไม่สามารถปลดนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่งได้ โดยหากนายกรัฐมนตรีมาจากพรรคการเมืองฝ่ายเดียวกัน ประธานาธิบดีสามารถเจรจาให้นายกรัฐมนตรีลาออกได้ ประธานาธิบดียังมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และเลขาธิการรัฐมนตรี โดยเมื่อพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นของประธานาธิบดี ทำให้ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มที่ในการบริหารและควบคุมการทำงานของรัฐบาลตามนโยบายของประธานาธิบดี โดยในทุกสมัยแม้ในพรรคการเมืองเดียวกัน ก็ยังมีความเห็นต่างกัน
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อประธานาธิบดีไม่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมากในรัฐสภา (ต่างขั้วการเมืองกัน) จะทำให้อำนาจในการบริหารลดลงไปมาก เนื่องด้วยประธานาธิบดีจะต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากในรัฐสภา ซึ่งมักจะทำงานตามพรรคเสียงข้างมากในรัฐสภา ในกรณีนี้ประธานาธิบดีสามารถจะใช้อำนาจยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่เพื่อเป็นการคานอำนาจการต่อรอง โดยจะมีการแบ่งอำนาจกันระหว่างสองขั้ว คือระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี หรือที่เรียกว่า "Cohabitation" ในช่วงก่อนปีค.ศ.2002 ได้พบเหตุการณ์เช่นนี้บ่อย ย่อมทำให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างลำบาก ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประธานาธิบดีมีค่อนข้างมาก ดังปรากฏให้เห็นในปี 1997-2002 ที่ประธานาธิบดี Jacques Chirac เป็นฝ่ายขวา ในขณะที่นายกรัฐมนตรี Lionel Jospin รัฐบาลและเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายซ้าย ตั้งแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปีค.ศ.2000 เพื่อลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีจาก 7 ปีเหลือแค่ 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับอายุของสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ "Cohabitation" ขึ้น
บรรทัด 37:
รัฐบาลจะต้องรายงานต่อรัฐสภา โดยสภาผู้แทนราษฎรสามารถขอยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อถอดถอนคณะรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติเพื่อผลักดันให้รัฐบาลจะต้องแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากในสภา รัฐมนตรีจะต้องตอบกระทู้จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยวาจาและลายลักษณ์อักษร ซึ่งเรียกว่า "questions au gouvernement" นอกจากนั้น รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้ออภิปราย จะต้องเข้าร่วมประชุมสภาเพื่อตอบคำถามต่อสมาชิกรัฐสภา
 
คณะรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ไม่สามารถออกกฏหมายกฎหมายได้โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่รัฐมนตรีสามารถออกกฎข้อบังคับ หรือพระราชกฤษฎีกา (décrets d'application) ได้โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีสามารถเสนอยกร่างกฎหมายได้ต่อรัฐสภา โดยส่วนมากเสียงข้างมากในสภามักเป็นของคณะรัฐมนตรี ร่างกฏหมายกฎหมายเหล่านี้จึงมักจะผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ในหลายกรณีที่ความเห็นข้างมากในสภา แตกต่างกันกับฝ่ายบริหารอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะทำให้เกิดแก้ไขร่างฯอยู่เสมอ
 
นายกรัฐมนตรีจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรสำหรับการลงมติรับร่างกฎหมาย ภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 49-3 กฏหมายกฎหมายจะถือว่ามีผลบังคับใช้เว้นแต่สภาผู้แทนราษฎรจะยื่นเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้รับความเห็นชอบจากสภา นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งและถือว่าร่างกฎหมายที่รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบนั้นตกไป
 
ในคณะรัฐมนตรีประกอบไปด้วยสมาชิก 3 ระดับด้วยกัน มีรัฐมนตรีว่าการ (ministres) เป็นผู้มีอาวุโสที่สุดในคณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (ministres délégués) มีหน้าที่ช่วยรัฐมนตรีดูแลงานในกำกับ และเลขานุการรัฐมนตรี (secrétaires d'État) ช่วยกำกับดูแลงานส่วนที่สำคัญรองลงไป และจะต้องเข้าร่วมประชุมรัฐบาลเป็นบางครั้งเท่านั้น โดยในยุคก่อนหน้า[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำคัญต่าง ๆ จะถูกเรียกว่า "มีนิสทร์เดตา" (ministres d'État หรือ secretary of state) ซึ่งยังคงใช้เรียกรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญอย่างลำลองมาถึงปัจจุบัน
บรรทัด 89:
===กระบวนการร่างกฎหมาย===
 
กระบวนการร่างกฎหมายเริ่มต้นจากพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรี (ที่ประชุมเห็นพ้อง) หรือโดยสมาชิกรัฐสภา เพื่อตรากฏหมายกฎหมาย โดยร่างกฏหมายกฎหมายต้องผ่านการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ก่อนที่จะนำเข้าสู่สภาฯ โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 เป็นต้นมา มีการเพิ่มข้อบังคับให้ร่างกฏหมายกฎหมายจะต้องผ่านการศึกษาถึงผลกระทบ ที่มีต่อกฏหมายกฎหมายแห่งประชาคมยุโรป เศรษฐกิจ สังคม การคลัง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ิอม
 
ในประเทศฝรั่งเศส การร่างกฎหมายก็ต้องผ่านการพิจารณาจากทั้งสองสภาเพื่อให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (navette) ซึ่งนายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง "คณะกรรมาธิการร่วมกัน" (commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกับของไทย กล่าวคือ คณะกรรมาธิการร่วมกันของฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในกรณีดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรอาจนำร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันหรือร่างที่ผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอาจมีการแปรญัตติโดยความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว มาเป็นร่างที่ใช้ในการพิจารณาก็ได้
 
ร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว จะถูกลงนามโดยประธานาธิบดี ในระหว่างนี้ ประธานาธิบดี หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 60 คน หรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 60 คน สามารถยื่นตีความว่าร่างกฎหมายนี้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยพิจารณาโดยสภารัฐธรรมนูญก่อนนำมาบังคับใช้ โดยตามกฏหมายกฎหมาย ประธานาธิบดีสามารถลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรีเพื่อยื่นร่างกฏหมายกฎหมายกลับไปยังรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้หนึ่งครั้งต่อร่างกฏหมายกฎหมาย โดยเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสภาฯ แล้ว ประธานาธิบดีต้องลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และส่งตีพิมพ์เพื่อบังคับใช้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
 
==ฝ่ายตุลาการ==
 
อำนาจฝ่ายตุลาการเป็นอิสระไม่ขึ้นตรง และใช้ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ในประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฏหมายกฎหมายแบบ[[ซีวิลลอว์]]หรือกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล แต่อย่างไรก็ตาม แนวคำพิพากษาของศาลยังถือว่ามีน้ำหนักในการพิจารณาคดีความ
 
กฏหมายกฎหมายฝรั่งเศสได้แบ่งเป็นสองส่วนสำคัญ คือ กฏหมายกฎหมายแพ่งและอาญา และกฏหมายกฎหมายปกครอง
 
===ศาลคดีแพ่งและอาญา===