ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
autoCategory
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้คำผิด
บรรทัด 10:
คำภาษาอังกฤษว่า "'''non-free software'''" (ซอฟต์แวร์ไม่ใช่เสรี) มักจะถูกใช้เพื่อหมายถึง proprietary software เช่นเดียวกัน. บางครั้ง[[ริชาร์ด สตอลแมน]] (Richard Stallman) ผู้ก่อตั้ง[[โครงการกนู]] และ[[มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี]] ก็ใช้คำว่า "user subjugating software" (ซอฟต์แวร์กดขี่ผู้ใช้) ในขณะที่ [[Eben Moglen]] ใช้คำว่า "unfree software" (ซอฟต์แวร์ไร้เสรี) ในการสนทนาของเขา โดยปกตินักพัฒนาของ [[Debian]] มักจะใช้คำว่า "non-free" (ไม่ใช่เสรี) แต่บางทีพวกเขาก็จะพูดถึงหรือใช้คำว่า "proprietary software" ด้วยเช่นกัน ส่วน [[Open Source Initiative]] (องค์กรริเริ่มและส่งเสริม[[โอเพนซอร์ส]]) จะนิยมใช้คำว่า "[[closed source software]]" (ซอฟต์แวร์ไม่เปิดเผยต้นฉบับ)
 
โดยมีหลักเกณฑ์ทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงเทคนิคที่จะพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีหรือเป็น proprietary software ดังนี้ ถ้าผู้ถือกรรมสิทธิ์ซอฟต์แวร์ใช้วิธีการทางเทคนิคที่จะขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้แก้ไขซอฟต์แวร์ เช่น การปกปิดรหัสต้นฉบับ (source code) ของซอฟต์แวร์ ซอฟแวร์ซอฟต์แวร์นั้นก็จะถูกจัดว่าเป็น proprietary software ถ้าผู้ถือกรรมสิทธิ์ใช้วิธีการทางกฎหมาย เช่น [[ลิขสิทธิ์]] เพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้แจกจ่ายซอฟต์แวร์ทั้งที่เป็นของเดิมหรือที่ถูกปรับแต่งโดยผู้ใช้ นั้นก็จัดว่าเป็น proprietary software
 
ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดทั้งทางกฎหมายหรือทางเทคนิคดังกล่าวข้างต้นนั้น - กล่าวคือผู้ใช้มีอิสระในการใช้งาน ศึกษาการทำงาน ปรับแต่ง และแจกจ่ายซอฟต์แวร์นั้นๆ - ซอฟต์แวร์นั้นจะไม่จัดว่าเป็น proprietary software; และจัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เสรี