ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: พระราชทาน
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้คำผิด
บรรทัด 46:
สำหรับนักกีฬาไทยแล้ว กีฬา[[มวย]]นับเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่นักกีฬาไทยสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้มากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับวงการมวยมาโดยตลอด โดยจะเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทอดพระเนตรการชกของนักมวยไทยกับนักมวยต่างชาติหลายต่อหลายครั้ง เช่น การชกระหว่าง [[โผน กิ่งเพชร]] กับ [[ปาสคาล เปเรซ]] นักมวยชาว[[อาร์เจนตินา]] เมื่อค่ำ[[วันเสาร์]]ที่ [[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2503]] ณ [[สนามมวยเวทีลุมพินี]] ซึ่งผลการชก โผนสามารถเอาชนะคะแนนเปเรซไปอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลกเป็นคนแรกของไทย หรือการชกระหว่าง [[ชาติชาย เชี่ยวน้อย]] กับ [[แอฟเฟรน ทอร์เรส]] นักมวยชาว[[เม็กซิโก|เม็กซิกัน]] เมื่อค่ำ[[วันศุกร์]]ที่ [[20 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2513]] ณ สนามกีฬากิตติขจร (ปัจจุบันคือ [[อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก]]) ผลการชก ชาติชายเป็นฝ่ายคะแนน ได้ครองแชมป์โลกเป็นสมัยที่ 2 เป็นต้น ซึ่งหลังจากการชกทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นักมวยเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และทรงมีพระราชปฏิสันธานอย่างเป็นกันเองและห่วงใย และจะพระราชทานเข็มขัดแชมป์โลกให้ด้วย
 
และเมื่อครั้งที่ [[แสน ส.เพลินจิต]] เดินทางไปป้องกันตำแหน่งแชมป์โลก ณ [[เมืองโอซากา]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] กับ [[ฮิโรกิ อิโอกะ]] เมื่อวันที่ [[17 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]] ผลการชกแสนเอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 10 หลังการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งพระราชสาสน์ผ่านทางกงศุลไทยกงสุลไทย ณ เมืองโอซากา ความว่า พระองค์ทรงทอดพระเนตรการชกของแสนอยู่ผ่านทาง[[โทรทัศน์]] ทรงชมว่าแสนชกได้ดี ยังความปลาบปลื้มแก่แสนและคณะเป็นอย่างยิ่ง
 
นอกจากนี้แล้ว เมื่อ [[สมรักษ์ คำสิงห์]] ชนะเลิศในการแข่งขัน[[มวยสากลสมัครเล่น]]รุ่น[[เฟเธอร์เวท]] ใน[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1996|กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 26]] ที่เมือง[[แอตแลนตา]] [[รัฐจอร์เจีย]] [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2539]] ก่อนชกในรอบชิงชนะเลิศ สมรักษ์ให้สัมภาษณ์ว่า จะคว้าชัยชนะให้ได้ เพื่อนำเหรียญทองกลับไปร่วมสมโภชน์เป็นส่วนหนึ่งในงาน[[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙|พระราชพิธีกาญจนาภิเษก]] ซึ่งเป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปีด้วย และเมื่อสมรักษ์สามารถเอาชนะได้ ได้ครองเหรียญทองโอลิมปิกเป็นครั้งแรกของนักกีฬาไทย สมรักษ์ได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าถวายเหรียญทองประวัติศาสตร์เหรียญนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย