ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากระเบนราหูน้ำจืด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
| binomial_authority = [[สุภาพ มงคลประสิทธิ์|Mongkolprasit]] & [[ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์|Roberts]], [[ค.ศ. 1990|1990]]
}}
'''ปลากระเบนราหูน้ำจืด''' ({{lang-en|Giant freshwater whipray}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Himantura chaophraya}}) เป็น[[ปลากระเบน]][[ปลาน้ำจืด|น้ำจืด]]ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดอยู่ใน[[วงศ์ปลากระเบนธง]] (Dasyatidae)
 
จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก[[ปลากระเบนราหูน้ำเค็ม|ปลากระเบนแมนตา]] (''Manta birostris'') ที่พบได้ใน[[ทะเล]] โดยสามารถหนักได้ถึง 600 [[กิโลกรัม]] กว้างได้ถึง 2.5-3 [[เมตร]] ซึ่งเป็นปลากระเบนชนิดที่มีหางเรียวยาวเหมือน[[แส้]] ได้ชื่อว่า "[[พระราหู|ราหู]]" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8-10 [[นิ้ว]] เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ พบครั้งแรกใน[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] จึงถูกตั้งชื่อ[[สปีชีส์|ชนิด]] ว่า "เจ้าพระยา" และยังพบในแม่น้ำสายอื่น ๆ เช่น [[แม่น้ำแม่กลอง]], [[บางปะกง]], [[แม่น้ำโขง]], [[บอร์เนียว]], [[นิวกินี]] จนถึง[[ออสเตรเลีย]]ตอนเหนือ