ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ย่อยปลาซิว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Plesiosaur (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 48:
ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า [[ปลาซิว]] หรือ [[ปลาแปบ]] มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง [[เส้นข้างลำตัว]]สมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง
 
ตามข้อมูลของ[[Saint Louis University|มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์]] [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 [[genus|สกุล]] (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของ[[ผู้ช่วยศาสตราจารย์]] [[อภินันท์ สุวรรณรักษ์]] แห่ง[[คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้|คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ]] [[มหาวิทยาลัยแม่โจ้]] ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ใน[[ประเทศไทย]] ได้แก่ ''[[ปลาสะนากยักษ์|Aaptosyax]], [[Aspidoparia]], [[Boraras]], [[Brachydanio]], [[Leptobarbus]], [[Macrochirichthys]], [[Opsariichthys]], [[ Oxygaster]]'' และ''[[Thryssocypris]]''<ref>[http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/section2/ft301/NAweb/fishes/minnows.htm ปลาซิว จาก[[มหาวิทยาลัยแม่โจ้]]]</ref>
 
ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนัก[[มีนวิทยา]]และนัก[[อนุกรมวิธาน]]ในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น [[วอลเตอร์ เรนโบธ]] ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี [[ค.ศ. 1996]] ได้แก่ [[Alburninnae]], [[Danioninae]], [[ปลาสะนากยักษ์|Leuciscinae]] และ[[Cyprininae]] เป็นต้น<ref>หน้า 32, ''สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑'' โดย [[สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์]] ([[พ.ศ. 2547]]) ISBN 974-00-8701-9</ref>