ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prgpf (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 100:
กบข. สนับสนุนให้มีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังภาครัฐที่ดี จัดสรรงบประมาณรองรับภาระรายจ่ายด้านบำเหน็จบำนาญอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ข้าราชการสมาชิกมีเงินออมเพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งคณะกรรมการและสำนักงาน ได้มุ่งมั่นดำเนินงานให้ได้มาตรฐานสากลอย่างเต็มที่ ทำให้ กบข. ได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุน
 
จนเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกมากกว่า 1 ล้านคน กบข. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 โดยมีคณะกรรมการกองทุน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการจัดการกองทุนตลอดจนกำหนดนโยบายการลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงต่างๆต่าง ๆ
 
{{กระทรวงการคลังของไทย}}
บรรทัด 106:
[[หมวดหมู่:องค์กรที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2539]]
{{โครงองค์กร}}
 
โครงสร้างองค์กร กบข.
 
[[ไฟล์:โครงสร้างองค์กร กบข..JPG]]
 
องค์ประกอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการ กบข. ประกอบด้วย
 
1.กรรมการผู้แทนภาครัฐ (ในฐานะตัวแทนฝ่ายนายจ้าง) มีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการอื่นได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2.กรรมการผู้แทนสมาชิก(ในฐานะตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง)ซึ่งเป็นตัวแทนจากข้าราชการ สมาชิกแต่ละประเภท ๆ ละ 1 คน
3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(เสนอคัดเลือกและแต่งตั้งโดยกรรมการใน 1. และ 2.)
4.เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.(สรรหาและแต่งตั้งโดยกรรมการใน 1., 2. และ 3.)
 
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ กบข.
1.กำหนดนโยบายและออกระเบียบ/คำสั่ง/ข้อบังคับ/ประกาศและคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
2.กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
3.กำกับดูแลการจัดการของกองทุน
4.ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
5.กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
6.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
7.ออกระเบียบข้อบังคับและคำสั่งเกี่ยวกับงานบริหารบุคคลการบรรจุแต่งตั้งถอดถอนและวินัยของพนักงานและลูกจ้างตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่นรวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
8.พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินจัดการเงินของกองทุน
9.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
10.แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถืออยู่
11.ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
 
เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการเป็นไปอย่างสมบรูณ์กฎหมายจึงกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการขึ้น 2 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนและคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้คณะกรรมการสามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรได้อีกด้วย
 
บทบาทและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน
1. ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
2. ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
3. ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
4. รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุน และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
5. ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
 
บทบาทและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์
1. เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
2. เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
3. รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
4. พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ในการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
5. ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
 
รายชื่อคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ
1. คณะอนุกรรมการตรวจสอบ
2. คณะอนุกรรมการกฎหมาย
3. คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างองค์กรและค่าตอบแทน
4. คณะอนุกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
5. คณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาระบบธรรมาภิบาล
6. คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
7. คณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณ
8. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
9. คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
 
สมาชิกสามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการ
และคณะอนุกรรมการทุกชุดได้จาก เว็บไซต์ กบข. ที่ www.gpf.or.th
 
ผู้แทนสมาชิก
ผู้แทนสมาชิก กบข. แบ่งตามบทบาทและหน้าที่ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.กรรมการผู้แทนสมาชิกในคณะกรรมการ กบข.
ด้วยเหตุที่กรรมการผู้แทนสมาชิกเป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการทุกประเภท จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผลประโยชน์ของสมาชิก และการประสานความเข้าใจโดยเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกกับกองทุนนอกเหนือไปจากบทบาทและหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ การคัดเลือกผู้แทนสมาชิกเพื่อดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการ กบข. เป็นไปตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่กำหนดให้คัดเลือกตามวิธีการที่คณะกรรมการของข้าราชการแต่ละประเภทกำหนด
กรรมการผู้แทนสมาชิกจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้ ณ ปี 2551 มีกรรมการผู้แทนสมาชิก 12 คน เนื่องจากมีข้าราชการที่เป็นสมาชิก 12 ประเภท ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีผู้แทนสมาชิกได้ประเภทละ 1 คน
 
2.ผู้แทนสมาชิกในคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์
การคัดเลือกผู้แทนเพื่อดำรงตำแหน่งในคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์นั้น คณะกรรมการ กบข. ได้กำหนดให้เจ้าสังกัดของข้าราชการที่เป็นสมาชิก 12 ประเภท แต่ละประเภทเป็นผู้คัดเลือกและส่งรายชื่อตัวแทนมายัง กบข. และให้ตัวแทนทั้ง 12 ประเภท ลงคะแนนเลือกตั้งกันเองให้เหลือ 5 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนสมาชิกในคณะอนุกรรมการ
 
 
3.ผุ้แทนสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ผู้แทนสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมใหญ่ ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการทั่วประเทศและผู้แทนจากทุกจังหวัด ซึ่งการคัดเลือกผู้แทนจังหวัด จะคัดเลือกจังหวัดละ 1 คน โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนการคัดเลือกผู้แทนจากส่วนราชการทั่วประเทศ กำหนดให้มีผู้แทนอย่างน้อยส่วนราชการละ 1 คน หรือให้มีผู้แทนได้ 1 คนจากจำนวนสมาชิก 4,000 คน โดยส่วนราชการแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดวิธีการคัดเลือกและดำเนินการคัดเลือกเองแล้วส่งรายชื่อมาให้ กบข.
มาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 กำหนดให้กองทุนต้องจัดการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้แทนสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมใหญ่ มีบทบาทและหน้าที่เป็นตัวแทนสมาชิกในการเข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงาน
ฐานะการเงิน และการรับจ่ายเงินของกองทุน รวมถึงมีหน้าที่ในการแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน เป็นสื่อกลางเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกระหว่างสมาชิกกับ กบข. และช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกองทุนไปยังสมาชิก กำหนดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอยู่ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนของทุกปี
อนึ่ง ผู้แทนสมาชิกไม่ว่าประเภทใด กฎหมายกำหนดว่าจะต้องเป็นสมาชิกของ กบข. ด้วย
เพราะต้องทำหน้าที่ในการรักษาสิทธิประโยชน์ของสมาชิก ดังนั้น สมาชิก กบข. ทุกท่าน จึงมีสิทธิที่จะเข้ามาเป็นผู้แทนสมาชิกในแต่ละประเภทได้ หากมีคุณสมบัติเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการของข้าราชการแต่ละประเภทหรือที่ส่วนราชการกำหนด ซึ่งส่วนราชการแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกและดำเนินการคัดเลือกซึ่งแตกต่างกันไป
 
สมาชิกควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้แทนสมาชิกที่เข้ามามีบทบาทในกองทุน กบข.
ท่านอาจมีคุณสมบัติและได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนสมาชิก
หรือสอบถามและเสนอแนะความคิดเห็นเกี่ยวกับกองทุนผ่านผู้แทนสมาชิก
ค้นหารายละเอียดและรายชื่อผู้แทนสมาชิก ได้ที่ www.gpf.or.th
 
ถ้อยแถลงนโยบายด้านสมาชิก
คณะกรรมการได้อนุมัติ ถ้อยแถลงนโยบายด้านสมาชิก เพื่อใช้เป็นแนวทาง ขอบเขตหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสมาชิกของกองทุน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ รวมถึงสมาชิก และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ให้มีการถือปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี การให้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทันสมัย ถูกต้อง ครบถ้วน มุ่งเน้นการทำงานที่ได้มาตรฐาน โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบและวิธีการควบคุมการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและระดับการให้บริการในเรื่องต่าง ๆ มีการกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จทุกด้านอย่างชัดเจน และจัดให้มีการประเมิลผล พร้อมกับการสำรวจความพึงพอใจของสมาชิกเป็นระยะ ๆ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาคุณภาพและบริการให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 
สมาชิกสามารถติดตามรายละเอียดของถ้อยนโยบายด้านสมาชิกได้ที่ www.gpf.or.th
 
ถ้อยแถลงนโยบายลงทุน
คณะกรรมการได้อนุมัติ ถ้อยแถลงนโยบายลงทุน เพื่อกำหนดขอบเขตภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน โดยคณะกรรมการสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่กำหนดในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ตามมาตรฐานข้อพึงปฏิบัติสากลในการดูแลเงินของสมาชิก และให้สำนักงานมีความคล่องตัวในการบริหารงานภายใต้กฎหมาย นโยบาย และหลักการที่คณะกรรมการกำหนดอย่างมืออาชีพ
ถ้อยแถลงนโยบายการลงทุนที่จัดทำขึ้นเป็นการรวบรวมกรอบนโยบาย ข้อกำหนด และแนวทางการดำเนินงานด้านลงทุนของ กบข. เพื่อให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ เลขาธิการ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ สามารถยึดถือในการบริหารจัดการกองทุน ประกอบด้วยสาระสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายด้านการลงทุนที่มีการกำหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังในระยะยาวและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของกองทุน รวมถึงกระบวนการในการมุ่งเข้าสู่เป้าหมายนั้น ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งการจัดวางโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง แผนการจัดสรรเงินลงทุน แนวทางการลงทุนและปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ หลักการและปรัชญาในการลงทุน กลยุทธ์การลงทุนและประเภทของหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้ นโยบายการบริหารความเสี่ยงและมาตรการจัดการด้านความเสี่ยง การจัดจ้างผู้จัดการกองทุนภายนอกทั้งในส่วนของแนวทางการคัดเลือกการกำกับควบคุม และการประเมินผลงาน นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงตัวเทียบวัดผลตอบแทนการลงทุน การปรับราคาทรัพย์สินลงทุน แนวทางการพัฒนาและแนวทางปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอีกด้วย
การมีถ้อยแถลงนโยบายลงทุนที่ชัดเจนนับเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งยังเป็นหลักปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องในอันที่จะดำเนินการตามหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้มีวิชาชีพในการบริหารจัดการกองทุน นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือสื่อสารให้สมาชิกตลอดจนผู้สนใจทั่วไปเข้าใจเจตนารมณ์ด้านการลงทุนของ กบข. อันจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นว่า เงินออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุของสมาชิกจะได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง
 
สมาชิกสามารถติดตามข้อมูลด้านการลงทุน กบข. ได้ที่ www.gpf.or.th
 
การลงทุนและนโยบายการลงทุนของ กบข.
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กบข. ไว้เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญให้แก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ ส่งเสริมการออมของสมาชิก และเพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้กับสมาชิก ดังนั้น นโยบายการลงทุน กบข. จึงเป็นการบริหารเงินของกองทุนโดยให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างความปลอดภัยของเงินต้นกับผลตอบแทนของการลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้สมาชิกมีมาตรฐานการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมภายหลังเกษียณ
การลงทุนของ กบข. ต้องอยู่ภายในกรอบพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. 2539 และกฎกระทรวงที่ใช้บังคับ โดยมีกระบวนการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบเป็นระบบเพื่อให้บรรลุผลตอบแทนเป้าหมาย โดยมีการวางกลยุทธ์การลงทุน กระบวนการบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแลการลงทุน ตลอดจนการติดตามและประเมินสภาวะตลาดการลงทุนอย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคมที่ กบข. ยึดถือเสมอมาในการดำเนินการด้านลงทุน คือ จะไม่ส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. กิจการที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะหรือปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. กิจการที่ประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของการลอกเลียนแบบ และขัดต่อกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา
3. กิจการที่ประกอบธุรกิจอันขัดต่อศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดี
4. กิจการที่ประกอบธุรกิจอันเป็นภัยต่อสังคมหรือความมั่นคงประเทศ
5. กิจการที่ประกอบธุรกิจที่ไม่โปร่งใสและไม่สามารถอธิบายต่อบุคคลภายนอกได้
 
เป้าหมายการลงทุน
กบข. เป็นกองทุนเงินออมระยะยาว จึงกำหนดเป้าหมายอัตราผลตอบแทนสำหรับเงินสมาชิก (Return Objective) ให้สอดคล้องกับลักษณะของกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ กล่าวคือ สามารถต่อสู้ภัยจากเงินเฟ้อซึ่งเป็นความเสี่ยงในระยะยาวที่สำคัญ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างอัตราผลตอบแทนระยะยาว 10 ปีก่อนหักค่าใช้จ่ายให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยระยะยาว และกำหนดว่าเป้าหมายอัตราผลตอบแทนรายปีก่อนหักค่าใช้จ่ายต้องสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตัวเทียบวัดที่เหมาะสม
ทั้งนี้ การกำหนดเป้าหมายการลงทุนจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กบข.
 
โครงสร้างการตัดสินใจในการลงทุน