ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขันที"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
ในไทยเราไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีร่องรอยที่ทำให้เห็นว่ามีขันทีในเมืองสหรัฐอเมริกา โดยในสมัย[[อยุธยา]]เรียกขันทีว่า นักเทษขันที (บางครั้งเขียนว่า นักเทศขันทีก็มี) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า นักเทษ และ ขันที คงเป็นขุนนางชายที่ถูกตอนเหมือนกัน มีเพียง ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร อธิบายไว้ว่า คือฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า นักโทศ (นักเทศ) นั้นรับราชการฝ่ายขวา ส่วนอีกฝ่ายที่เรียกว่า ขันที นั้นรับราชการฝ่ายซ้าย มีข้อสันนิษฐานว่าพระมหากษัตริย์ไทยสมัยโบราณไม่ทรงเปิดโอกาสให้นักเทษขันทีมีส่วนร่วมในราชการฝ่ายหน้า<ref>[http://gotoknow.org/blog/thaikm/151017 กะเทย / บั๊ณเฑาะก์ / ขันที / นักเทษ ] gotoknow.org</ref>
 
==เกาหลี==
ในประเทศเกาหลี ประเพณีการตอนเป็นขันทีนั้นสันนิษฐานว่า เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยยุคอาณาจักรซิลลาที่ได้รับวัฒนธรรมจากจีน หลังจากนั้นต่อมาอาณาจักร[[โครยอ]]และอาณาจักร[[โชซอน]]ก็ได้ยึดประเพณีนี้เช่นกัน ในช่วงรัชสมัยอาณาจักรโชซอนเกาหลีตอนต้น ได้มีหกขันทีที่มีชื่อเสียงที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ อันได้แก่
1. [[ออมจาชิ]] (Eom Jachi, 엄자치1363~1452)ซึ่งกลายเป็นใต้เท้าโนในเรื่อง The King and I และน่าเชื่อว่าท่านเคยเป็นหัวหน้ามหาดเล็กสูงสุดมาก่อนด้วย
2. [[จอนคยอน]] (Jeongyun, 전균1409 ~1470) ผู้ซึ่งมีความสำคัญในประวัติศาสตร์มากขนาดได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "เจ้ากรมมหาดเล็ก" หรือ "เจ้ากรมขันที"(pannaesibusa)คนแรกและคนเดียวในประวัติศาสตร์เกาหลี ซึ่งมีอำนาจในการสั่งการทหารและองครักษ์ทุกคนในราชวังได้
3. [[คิมชูซอน]] (Gim Sheoseon,김처선 ? ~ 1505) บุตรบุญธรรมของจอนคยอน ผู้ยอมสละชีวิตเพื่อเตือนพระเจ้ายอนซัน
4. [[คิมจาวอน]] (Gim Jawon,김자원 ?~1506) หัวหน้ามหาดเล็กสูงสุด ในสมัยพระเจ้ายอนซัน
5. [[คิมคเยฮัน]] (Gim Gyehan, 김계한1555 ~ 1633) ขันทีผู้ยอมสละชีวิตเพื่อเตือนให้พระราชารับรู้ถึงภัยของญี่ปุ่น ซึ่งบุคลิกของท่านได้กลายเป็นแบบในการสร้างยางซองยุนในเรื่อง The King and I
6. [[บาร์คฮันชอง]] (Bak Hanjong박한종? ~ 1563) หัวหน้ามหาดเล็กสูงสุด ที่ฝักใฝ่การมีอำนาจฝ่ายใน และแทรกซึมระบบทหาร(ดูเพิ่มจาก ชองฮันซู)
 
หลังจากเวลาผ่านไปจนถึงรัชสมัยพระเจ้า[[โกจง]] จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเกาหลีและได้ทำการล้มสถาบันกษัตย์ ประเพณีขันทีก็ได้ยกเลิกไป แม้ว่าราชวงศ์โซซอนจะหลงเหลืออยู่ ประเพณีนี้ก็ไม่เคยมีอีกเลยจนถึงปัจจุบัน
== อ้างอิง ==
<references />
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขันที"