ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4449184 สร้างโดย 115.67.132.48 (พูดคุย)
บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
{{กฎหมายไทย}}
'''พระราชบัญญัติ''' (พ.ร.บ.) พระราชบัญญัติ เป็นคือบท[[กฎหมาย]]ที่มีใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติมีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาๆ นอกจาก[[รัฐธรรมนูญ]] ก่อนประกาศใช้บังคับ{{wikisource|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐}} พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]]” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง [[พ.ศ. 2541]]
 
การตราพระราชบัญญัติที่นั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปและประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
'''การตราพระราชบัญญัติ'''
มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้<br />
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ผู้ที่มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคการเมืองที่สังกัดมีมติให้เสนอได้ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000คน เสนอร่างพระราชบัญญัติได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หรือแนวนโยบายแห่งรัฐ ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองด้วย
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติให้ความเห็นชอบ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน ต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 30 วัน ถ้าไม่เสรีที่ประชุมอาจลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้อีก 30 วัน ถ้าไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 105 วัน และวุฒิสภาต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 20 วัน ถ้าไม่เสรีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบ
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
การตราร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
การประกาศใช้พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
 
คำว่า ''พระราชบัญญัติ'' เป็นชื่อเรียกกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มี[[พระมหากษัตริย์]]เป็นผู้อนุญาต สำหรับประเทศอื่นที่พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ผู้อนุญาต (เช่น[[ประธานาธิบดี]]) จะเรียกว่า '''รัฐบัญญัติ'''