ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวนอิม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| tibetan_name = སྤྱན་རས་གཟིགས་<br>spyan ras gzigs; chenrezig
| mongolian_name = Жанрайсиг, Нүдээр Үзэгч<br>'''ᠨᠢᠳᠦ ᠪᠡᠷ ᠦᠵᠡᠭᠴᠢ'''
| korean_name = 관세음보살 (gwanseeum bosal) <br />관세음 (Gwan-se-eum) <br>관음 (Gwan-eum)gwans
| thai_name = พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร<br>เจ้าแม่กวนอิม
| vietnamese_name = Quán Thế Âm, Quan Âm
| veneration = [[มหายาน]], [[วัชรยาน]], [[เถรวาท]] (นับถือทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการ)
| attributes = มหากรุณา
}}
'''กวนอิม''' ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ '''กวนอิน''' ตามสำเนียงกลาง ({{zh-all|c=觀音|p=Guān Yīn}}; {{lang-en|Guan Yin}}) พระ[[โพธิสัตว์]] ของ[[พระพุทธศาสนา]]ฝ่าย[[มหายาน]] เป็นองค์เดียวกันกับ[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]]ในภาษา[[สันสกฤต]] ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานใน[[อินเดีย]] และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่อง'''พระธิดาเมี่ยวซ่าน ''' ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากใน[[สัทธรรมปุณฑรีกสูตร]]ได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้ง[[ทิเบต]] [[จีน]] หรือ[[ญี่ปุ่น]] ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ '''Sir Charles Eliot''' ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"
 
== [[พระโพธิสัตว์]]กวนอิมในตำนานฝ่ายจีน ==
'''พระโพธิสัตว์กวนอิม''' (ประสูติ 19 [[เดือนยี่]]จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา จุติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ '''เมี่ยวจวง''' ซึ่งมีราชธิดา 3 องค์ องค์โตชื่อ '''เมี่ยวอิม''' องค์รองชื่อ '''เมี่ยวหยวน''' เยาว์วัยเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด
 
ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของ[[แม่ชี]]ทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้
 
พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต [[เทพารักษ์]]คอยคุ้มครองเจ้าหญิงอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดาทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก
 
ทันใดนั้นปรากฏมีเสือ[[เทวดา]]ตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระบิดาเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงถูก[[เสือ]]คาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก
 
ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จ[[อรหันต์]] ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหารย์เป็นปาง[[กวนอิมพันมือ]] องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน
 
== เจ้าแม่กวนอิมในภาคสตรีเพศเกิดขึ้นเมื่อ ? ==
สำหรับรูปประติมากรรมเจ้าแม่กวนอิมในลักษณะของเพศหญิงที่เป็นที่นับถือกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้ว เมื่อครั้งศาสนาพุทธแรกเผยแผ่จากอินเดียสู่จีนนั้น รูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ก็เป็นภาพของพระโพธิสัตว์เพศชายเช่นเดียวกับในอินเดีย สันนิษฐานว่า คติเกี่ยวกับรูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสามก๊กและราชวงค์จิ้น จนกระทั้งถึงสมัยหนานเป่ยเฉา หลักฐานสำคัญก็คือ รูปวาดจิตรกรรมฝาผนังและรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกา (莫高)ที่สร้างขึ้นในช่วงหนานเป่ยเฉานั้น เป็นภาพของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม) ที่มีลักษณะแบบเพศชาย มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา
 
ส่วนเหตุผลของความเปลี่ยนแปลงจากบุคลิกลักษณะของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ที่เดิมเป็นเพศชายจนแปรเปลี่ยนเป็นเพศหญิงนั้น นักประติมานวิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ
 
ประการแรก นั้นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม
 
ประการที่สอง นั้นคือ ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอ่อนโยนและมีจิตใจที่ดีงามกว่าเพศชาย โดยเฉพาะความรักของผู้เป็นมารดา อันเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาการุณย์ต่อบุตร
 
ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า นี้คือเหตุเปลี่ยนแปลงของภาพแห่งลักษณะพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แปรเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นเพศหญิงในที่สุด
 
ในด้านศิลปกรรมจีน ได้สะท้อนสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์กวนอิมที่แสดงถึงความเมตตากรุณา อาทิ ภาพเจ้าแม่กวนอิมยืนประทับบนหลังมังกรกลางมหาสมุทร , ภาพเจ้าแม่กวนอิมพรมน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากกิ่งหลิวในแจกัน , ภาพเจ้าแม่กวนอิมประทับนั่งกลางป่าไผ่ , ภาพเจ้าแม่กวนอิมปางประธานบุตร และภาพเจ้าแม่กวนอิมพันมือ เป็นต้น
 
แต่ไม่ว่าจะแสดงภาพแห่งเจ้าแม่กวนอิมในลักษณะใด พระองค์ก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา ที่ประทับอยู่กลางใจของผู้ศรัทธาจนถึงปัจจุบัน
 
== ความเชื่อ ==
[[ไฟล์:20090606 Putuoshan 8786.jpg|thumb|250px|องค์หนานไห่กวนอิม(南海關)]]
[[ไฟล์:Cundi Ming Dynasty Gold.png|thumb|250px|พระจุณฑิอวโลกิเตศวร(จีน:主洛基破坏了国家冰上公主 พินอิน:Zhǔ luò jī pòhuàile guójiā bīng shàng gōngzhǔ.)]]
ชาวจีนเชื่อว่า ท่านเป็นตัวละครรองในวรรณกรรมเรื่อง ไซอิ่ว เพราะเมื่อคราวที่ซุนหงอคงมีท่าผิดปกติ เจ้าแม่กวนอิมนำเชือกประหลาดและก็มาบอกพระถังซำจั๋งว่า จงรับรัดเกล้านี้ไป ถ้าหากสวมไปแล้ว แล้วพูดว่า '''รัดเกล้า''' รอบเดียว ก็จะปวดหัวเหมือนมีสิ่งใดมัดหัว
 
ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งคือ ท่านสถิตย์ ณ เกาะผู่โถวซาน (聖汕頭島) และปฏิบัติธรรม ณ ที่นั่น (ปัจจุบันมีเทวรูปองค์ใหญ่เป็นเจ้าแม่กวนอิมปางทรงธรรมจักรในพระหัตถ์ซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาทำพระกิริยาห้าม มองไปที่ทะเลใต้ เรียกว่า '''หนานไห่กวนอิม(南海關)''') และมีอัครสาวกยืนขนาบกัน นั่นก็คือ พระสุธนกุมาร และธิดาพญามังกร
 
นอกจากนี้ ชาวจีนมีเคล็ดลับสำหรับผู้ที่รู้จักเจ้าแม่กวนอิม ได้บอกว่า ผู้ใดนับถือเจ้าแม่กวนอิม ก็จะไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อว้วและควาย และเชื่อกันว่า ถ้าผุ้ใดกัดกินเนื้อวัวควายเข้าไปแม้แต่คำเดียว อาจหมายถึงกินพระเจ้าเมี่ยวจวงโดยแท้แล.
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* Suzanne E Cahill: ''Transcendence & Divine Passion. The Queen Mother of the West in Medieval China'', Stanford University Press, Stanford, 1993, ISBN 0-8047-2584-5
* Martin Palmer, Jay Ramsay, Man-Ho Kwok: ''Kuan Yin. Myths and Prophecies of the Chinese Goddess of Compassion'', Thorsons, San Francisco 1995, ISBN 1-85538-417-5
* William Stoddart: ''Outline of Buddhism'', The Foundation for Traditional Studies, Oakton, Virginia, 1996.
* Kuan Ming: ''Popular Deities of Chinese Buddhism'', Buddha Dharma Education Association Inc, 1985
* Chun-fang Yu, ''Kuan-yin, The Chinese Transformation of Avalokitesvara'', Columbia University Press, New York, 2001, ISBN 0-231-12029-X
* John Blofeld: ''Bodhisattva of Compassion. The Mystical Tradition of Kuan Yin'', Shambhala, Boston 1988, ISBN 0-87773-126-8
* Miao Yun: ''Teachings in Chinese Buddhism: Selected Translation of Miao Yun'', Buddha Dharma Education Association Inc, 1995
* [http://www.fsu.edu/~arh/events/athanor/athxix/AthanorXIX_kim.pdf#search=%22sudhana%20legend%22 Evolution of Avalokitesvara ]
* [[Lotus Sutra]]: [http://www.buddhistdoor.com/OldWeb/resources/sutras/lotus/sources/lotus25.htm CHAPTER TWENTY-FIVE THE UNIVERSAL DOOR OF GUANSHI YIN BODHISATTVA (THE BODHISATTVA WHO CONTEMPLATES THE SOUNDS OF THE WORLD)] (Translated by The Buddhist Text Translation Society in USA)
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.jiewfudao.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538845838&Ntype=17] - เจ้าแม่กวนอิม 观世音
* [http://www.fsu.edu/~arh/images/athanor/athxix/AthanorXIX_kim.pdf Sinicization of Buddhism - White Robe Guan Yin] - explanation of how Avalokiteshvara transformed into Guan Yin in Chinese Buddhism
* [http://www.buddhanet.net/e-learning/history/kuanyin-txt.htm Buddhanet: Kuan Yin ] Description on Kuan Yin
* [http://www.baus.org/baus/library/ekye2.html Heart Sutra ] Explanation on Kuan Yin and the Heart Sutra
* [http://acc6.its.brooklyn.cuny.edu/~phalsall/texts/miao-sha.html Detailed history of Miao Shan ] Legend of Miao Shan
* [http://taipei.tzuchi.org.tw/tzquart/99spring/qp99-11.htm Tzu-Chi organisation: Kuan Yin, Buddhist perspective ]
* [http://www.kosei-shuppan.co.jp/english/text/mag/2008/08_456_3.html Kuan-yin Devotion in China] by Chün-fang Yü
* [http://surangama.drba.org/ Surangama Sutra] by Buddhist Text Translation Society. Chapter 6 details Kuan Yin's powers.
* [http://www.urbandharma.org/udharma8/kwanyin.html Kwan Yin and the Swallows]
* [http://www.scribd.com/doc/16291238/Ruta-de-La-Seda-3-Dunhuang-J93 Images and travelling impressions - in Spanish]
 
{{บุคคลศักดิ์สิทธิ์ในคติพุทธศาสนาแบบจีน}}
{{บุคคลศักดิ์สิทธิ์ในคติพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น}}
{{ไซอิ๋ว}}
 
{{เรียงลำดับ|กวนอิม}}
[[หมวดหมู่:พระโพธิสัตว์]]
[[หมวดหมู่:เทพเจ้าจีน]]
[[หมวดหมู่:ตัวละครในไซอิ๋ว]]
[[หมวดหมู่:เทพแห่งโชคลาภ]]
[[ca:Kuan Yin]]
[[cs:Kuan-jin]]
[[de:Guanyin]]
[[en:Guanyin]]
[[es:Guan Yin]]
[[fr:Guanyin]]
[[hu:Kannon]]
[[id:Kwan Im]]
[[ja:観音菩薩]]
[[ml:അവലോകിതേശ്വരൻ]]
[[nl:Guanyin]]
[[no:Guānyīn]]
[[pl:Guanyin]]
[[pt:Kuan Yin]]
[[ru:Гуаньинь]]
[[simple:Guan Yin]]
[[sv:Guanyin]]
[[tr:Guan Yin]]
[[vi:Quan Âm]]
[[zh:觀世音菩薩]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กวนอิม"