ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความคลั่งทิวลิป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: modern use
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
บรรทัด 12:
[[ไฟล์:Flora's Malle-wagen van Hendrik Pot 1640.jpg|thumb|300px|right|จิตรกรรม[[อุปมานิทัศน์]]ของความคลั่งทิวลิปโดย[[เฮนดริค เกอร์ริทสซ โพต]] (Hendrik Gerritsz Pot) ที่เขียนราว ค.ศ. 1640 เป็นภาพ[[เทพีฟลอรา]]ผู้เป็นเทพีแห่งดอกไม้นั่งบนเกวียนที่ถูกพัดด้วยสายลมที่นำไปสู่ความหายนะในทะเลพร้อมกับคนเมา คนให้ยืมเงิน และสตรีสองหน้า ที่ตามด้วยขบวนช่างทอชาวฮาร์เล็มที่เต็มไปด้วยลุ่มหลงในการลงทุน]]
 
[[ทิวลิป]]ได้รับการนำเข้ามาใน[[ทวีปยุโรป]]จาก[[จักรวรรดิออตโตมัน]]ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และกลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายใน[[สาธารณรัฐดัตช์]] (ปัจจุบัน คือ [[เนเธอร์แลนด์]]) <ref>{{Harvnb|Garber|1989|p=537}}</ref> การปลูกทิวลิปในสาธารณรัฐดัตช์เชื่อกันว่าเริ่มกันขึ้นอย่างจริงจังราว ค.ศ. 1593 หลังจากที่นักพฤกษศาสตร์เฟล็มมิช[[ชาร์ลส์ เดอ เลอคลูส์]]ได้รับตำแหน่งที่[[มหาวิทยาลัยไลเดน]]และก่อตั้ง “สถาบันพฤกษศาสตร์แห่งไลเดน” (Hortus Botanicus Leiden) ขึ้น<ref>{{Harvnb|Dash|1999|pp=59–60}}</ref> เลอคลูส์ปลูกทิวลิปที่สถาบันจากหัวทิวลิปที่ส่งมาจาก[[ตุรกี]]โดยราชทูต[[โอชีร์ เดอ บูสเบคก์]]ใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ในราชสำนักของสุลต่าน[[สุลัยมานมหาราช]] ทิวลิปที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ที่สามารถทนทานกับภาวะอากาศในบริเวณ[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]]ได้<ref>{{Harvnb|Goldgar|2007|p=32}}</ref> ไม่นานหลังจากนั้นการปลูกทิวลิปก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไปในเนเธอร์แลนด์<ref>{{Harvnb|Goldgar|2007|p=33}}</ref>
 
ทิวลิปกลายมาเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยอย่างรวดเร็วและเป็นสิ่งที่เป็นแสดง[[สัญลักษณ์แสดงฐานะ]]ของผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้เกิดความนิยมในการแสวงหาหัวทิวลิปมาเป็นเจ้าของกันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทิวลิปสายพันธุ์ใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นและจัดเป็นกลุ่ม เช่นทิวลิปสีเดียวที่รวมทั้งสีแดง เหลือง และ ขาวอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “Couleren” แต่ทิวลิปที่เป็นที่คลั่งไคล้กันมากที่สุดคือทิวลิปสีผสม หรือ “ทิวลิปแตกสี” (broken tulip) ที่มีลวดลายหลายสีในดอกเดียวกันที่มีชื่อเรียกกันไปต่างๆ แล้วแต่สายพันธุ์เช่น “Rosen” (แดงหรือชมพูบนพื้นสีขาว) “Violetten” (ม่วงหรือม่วงอ่อนบนพื้นสีขาว) หรือ “Bizarden” (แดง น้ำตาลหรือม่วง บนพื้นสีเหลือง) <ref>{{Harvnb|Dash|1999|p=66}}</ref> ทิวลิปสีผสมที่นิยมกันนี้จะออกดอกที่มีสีเด่นสะดุดตาและมีลวดลายเป็นเส้นหรือเป็นเปลวบนกลีบ ลักษณะที่เป็นลวดลายนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตามที่ทราบกันในปัจจุบันที่เรียกว่า “[[ไวรัสทิวลิปแตกสี]]” ซึ่งเป็นไวรัสพืชในกลุ่มไวรัสโมเสก (mosaic virus) <ref>Phillips, S. "[http://image.fs.uidaho.edu/vide/descr849.htm Tulip breaking potyvirus]", in Brunt, A.A., Crabtree, K., Dallwitz, M.J., Gibbs, A.J., Watson, L. and Zurcher, E.J. (eds.) (1996 onwards). ''Plant Viruses Online: Descriptions and Lists from the VIDE Database.'' Version: August 20, 1996. Retrieved on August 15, 2008.</ref><ref>{{Harvnb|Garber|1989|p=542}}</ref>