ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิสสระ สมชัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27:
 
== ประวัติการทำงาน ==
นายอิสสระ สมชัย เริ่มทำงานเป็นทนายความตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2518 ถึงปัจจุบัน เป็นนักการเมืองท้องถิ่น (สมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี 2 สมัย) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี 67 สมัย (2529, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2548, 2550) เป็น 1 ใน 2 ส.ส.ภาคอีสาน ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่สามารถชนะ [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548|การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548]] โดยได้เป็น ส.ส.อุบลราชธานี เขต 8 (อีกคนคือ [[วิฑูรย์ นามบุตร]] รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส.อุบลราชธานี เขต 3) และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ของพรรประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย ([[อภิวัฒน์ เงินหมื่น]] [[วุฒิพงษ์ นามบุตร]] [[ศุภชัย ศรีหล้า]] [[อิสสระ สมชัย]] และ[[ณิรัฐกานต์ ศรีลาภ]])
 
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แทนนายวิฑูรย์ นามบุตร ที่ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/023/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี [นายอิสสระ สมชัย]]</ref> ซึ่งนายอิสสระ สมชัย ได้รับฉายาจาก[[พรรคเพื่อไทย]] เป็น 1 ใน 10 รัฐมนตรีไร้ผลงาน ว่า '''"รัฐมนตรีใครรีบ..ไปก่อน"'''<ref>[http://www.tttonline.net/TTT2/hotcontent/contents_view.php?page_name=news&conts=6719 เพื่อไทย ตั้งฉายา 10 รมต. ไร้ผลงาน ]</ref> ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/049/39.PDF ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)]</ref> และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย