ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phizaz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
 
== ความซับซ้อนและความผิดพลาด ==
[[ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ]]ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรทางการคำนวณที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาหนึ่งๆ ได้สร้างแบบจำลองของขั้นตอนวิธีแบบสุ่มให้เป็น''[[เครื่องจักรทัวริง]][[เครื่องจักรทัวริงเชิงความน่าจะเป็น|เชิงความน่าจะเป็น]]'' ทั้งขั้นตอนวิธีลาสเวกัสและมอนติคาร์โลได้ถูกนำมาพิจารณา รวมถึง "คลาสของความซับซ้อน" หลายๆคลาสก็ได้ถูกนำมาศึกษา คลาสของความซับซ้อนแบบสุ่มแบบที่เป็นพื้นฐานที่สุดคือแบบ[[อาร์พี]] ซึ่งเป็นคลาสของ[[ปัญหาการตัดสินใจ]]ที่มีขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (หรือเครื่องจักรทัวริงเชิงความน่าจะเป็น) ที่มีประสิทธิภาพ (ทำงานได้ได้ในเวลาโพลิโนเมียล) ที่สามารถตอบว่า "ไม่" ได้ถูกต้องเสมอ และสามารถตอบว่า "ใช่" ได้ โดยมีโอกาสถูกต้องอย่างน้อย 1/2 คลาสส่วนกลับ (complement) ได้แก่โค-อาร์พี และคลาสของปัญหาซึ่งทั้งคำตอบ "ใช่" และ "ไม่" สามารถมีค่าความน่าจะเป็นได้ทั้งคู่ (นั่นคือ ไม่ได้บังคับให้ต้องตอบถูกต้องเสมอ) เรียกว่า[[ซีพีพี]] (ZPP) สำหรับปัญหาซึ่ง (เชื่อกันว่า) อยู่นอกคลาสนี้ เช่นปัญหา[[เอ็นพีแบบยาก]] (ซึ่งแม้แต่ขั้นตอนวิธีแบบสุ่มก็ไม่สามารถแก้ได้) จำเป็นต้องแก้ด้วย[[ขั้นตอนวิธีแบบวิธีการประมาณ]]
 
ในประวัติศาสตร์ ขั้นตอนวิธีแบบสุ่มเริ่มเป็นที่รู้จัก จากการค้นพบของ[[การตรวจสอบการเป็นจำนวนเฉพาะมิลเลอร์-เรบิน|มิลเลอร์และราบิน]]ในปี [[ค.ศ. 1976]] ว่า ปัญหา[[การตรวจสอบการเป็นจำนวนเฉพาะ]]ของตัวเลข สามารถแก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม ในเวลานั้น ยังไม่มี[[ขั้นตอนวิธีดิเทอร์มินิสติก]]สำหรับปัญหานี้เลย