ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอดา เลิฟเลซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แทนที่ข้อความทั้งหมดด้วย "เอดาเรียน ม.กรุงเทพ"
บรรทัด 1:
เอดาเรียน ม.กรุงเทพ
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Ada Lovelace 1838.jpg|thumb|right|เอดา ไบรอน (พ.ศ. 2358-2395)]]
 
'''เอดา ไบรอน เลิฟเลซ''' (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace) โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เป็นบุตรสาวของ [[ลอร์ด]] ไบรอน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี [[พ.ศ. 2358]] (ค.ศ. 1815) หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอดา จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้าน[[คณิตศาสตร์]] และ[[วิทยาศาสตร์]] ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ ของ[[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]ทั่วไป
 
พออายุ 17 ปี ก็มีผู้แนะนำให้เอดารู้จัก Mrs. Somerville แห่ง[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์|เคมบริดจ์]] ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็น[[ภาษาอังกฤษ]] เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนได้รู้จักกับ [[ชาร์ลส แบบเบจ]] ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบเบจกล่าวว่า "what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight" (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบเบจเลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับ[[เครื่องวิเคราะห์]] (analytical engine) ของแบบเบจ
 
หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ และมีบุตรด้วยกันสามคน
 
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทั้งเอดาและแบบเบจ ยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่ง[[เพลง]]ที่ซับซ้อน สร้างภาพ[[กราฟิก]] นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบเบจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา
 
ต่อมา แผนการทำงานที่แบบเบจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็น[[โปรแกรมคอมพิวเตอร์]]ตัวแรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และสุดท้ายก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี
 
อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี [[พ.ศ. 2522]] (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหม[[สหรัฐอเมริกา|สหรัฐฯ]] สร้าง[[ภาษาคอมพิวเตอร์]]มาตรฐาน [[ISO]] ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา "[[ภาษา Ada|ADA]]"
 
ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น Sir David Brewster คนคิด[[คาไลโดสโคป]], [[ชาร์ลส วีทสโตน]], [[ชาร์ลส ดิกเก้นส์]], และ [[ไมเคิล ฟาราเดย์]]
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[วิทยาการคอมพิวเตอร์]]
 
{{เรียงลำดับ|อเอดา ไบรอน}}
{{lifetime|1815|1852}}
[[หมวดหมู่:นักวิทยาการคอมพิวเตอร์|อเอดา ไบรอน]]
[[หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ|อเอดา ไบรอน]]
[[หมวดหมู่:เสียชีวิตจากมะเร็งมดลูก]]
 
[[ar:آدا لوفلايس]]
[[bg:Ада Лъвлейс]]
[[bn:অ্যাডা লাভলেস]]
[[bs:Ada Lovelace]]
[[ca:Ada Lovelace]]
[[cs:Ada Lovelace]]
[[da:Ada Lovelace]]
[[de:Ada Lovelace]]
[[el:Άντα Λάβλεϊς]]
[[en:Ada Lovelace]]
[[eo:Ada Lovelace]]
[[es:Ada Lovelace]]
[[et:Ada Lovelace]]
[[eu:Ada Lovelace]]
[[fa:ایدا لاولیس]]
[[fi:Ada Lovelace]]
[[fr:Ada Lovelace]]
[[ga:Ada Lovelace]]
[[gl:Ada Augusta Lovelace]]
[[gv:Ada Lovelace]]
[[he:עדה לאבלייס]]
[[hr:Ada Lovelace]]
[[ht:Ada Lovelace]]
[[hu:Ada Lovelace]]
[[hy:Ադա Լավլեյս]]
[[id:Ada Lovelace]]
[[is:Ada Lovelace]]
[[it:Ada Lovelace]]
[[ja:エイダ・ラブレス]]
[[ko:에이다 러브레이스]]
[[la:Ada Lovelace]]
[[lb:Ada Lovelace]]
[[lt:Ada Lovelace]]
[[ml:അഡ ലവ്‌ലേസ്]]
[[mt:Ada Lovelace]]
[[nl:Ada Lovelace]]
[[no:Ada Byron Lovelace]]
[[oc:Ada Lovelace]]
[[pl:Ada Lovelace]]
[[pms:Ada Byron King]]
[[pt:Ada Lovelace]]
[[ro:Ada Lovelace]]
[[ru:Лавлейс, Ада]]
[[simple:Ada Lovelace]]
[[sk:Augusta Ada Kingová]]
[[sr:Ејда Кинг Лавлејс]]
[[sv:Ada Lovelace]]
[[tg:Ада Ловлейс]]
[[tr:Ada Lovelace]]
[[uk:Ада Лавлейс]]
[[vi:Ada Lovelace]]
[[yo:Ada Lovelace]]
[[zh:愛達·勒芙蕾絲]]
[[zh-min-nan:Ada Lovelace]]