ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาร์โค้ด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Wikipedia-barcode-128B.png|thumb|คำว่า "''Wikipedia''" เข้ารหัสแบบ Code 128-B]]
 
'''บาร์โค้ด''' หรือ '''รหัสแท่ง''' ({{lang-en|barcode}}) เป็นเครื่องหมายแทน[[ข้อมูล]]ชนิดหนึ่งที่[[สื่อที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้|เครื่องจักรสามารถอ่านได้]]ด้วยแสง (optical machine-readable) ซึ่งข้อมูลนั้นมักเกี่ยวข้องกับวัตถุที่มันติดอยู่ บาร์โค้ดโดยแรกเริ่มใช้รูปแบบ "บาร์" หรือ "แท่ง" คือเส้นขนานหลาย ๆ เส้นที่มีความหนาและช่องไฟต่าง ๆ วางเรียงกันอยู่อย่างมีกฎเกณฑ์ ซึ่งรูปแบบนี้อาจเรียกว่า ''เชิงเส้น'' หรือ ''หนึ่งมิติ'' (1D) ก็ได้ เวลาต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็น[[จุด]] [[สี่เหลี่ยม]] [[หกเหลี่ยม]] และรูปแบบทางเรขาคณิตอื่น ๆ ใน ''สองมิติ'' (2D) และถึงแม้ระบบสองมิตินี้ใช้สัญลักษณ์ที่หลากหลาย ก็ยังคงเรียกว่าบาร์โค้ดอยู่เช่นเดิม
 
เราสามารถที่จะอ่านบาร์โค้ดได้ โดยใช้[[เครื่องสแกน]]หรือเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งวิธีนี้จะรวดเร็วกว่าการป้อนข้อมูลเข้าเครื่อง[[คอมพิวเตอร์]]หรือการอ่านด้วยสายตา บางครั้งเราจะเห็นเครื่องเหล่านี้ในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบางที่เราก็อาจจะคาดไม่ถึง ว่าจะนำไปใช้ได้