ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: is:Kapalsjónvarp
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
'''โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล''' หรือเรียกอย่างง่ายว่า '''เคเบิลทีวี''' ({{lang-en|Cable television}}) เป็นระบบการส่งสัญญาณ[[รายการโทรทัศน์]] ไปถึงผู้ชมทางบ้านผ่านสายเคเบิล แทนการส่งสัญญาณทางอากาศ เริ่มนำมาใช้เป็นครั้งแรกในโลก เมื่อปี [[พ.ศ. 2491]] แต่เดิมจะใช้ในภูมิประเทศที่เป็น[[ภูเขา]]หรือหุบเขา เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับภาพให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันเป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ระบบการบอกรับเป็นสมาชิก ที่ผู้ชมสามารถเปิดบริการได้ ปัจจุบันยังพัฒนาเป็นการส่งสัญญาณโดยใช้สาย[[ไฟเบอร์ออปติก]]
 
== โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลระดับชาติในประเทศไทย ==
=== ระดับชาติ ===
{{บทความหลัก|ทรูวิชั่นส์}}
โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ที่ได้รับสัมปทานจาก[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]] (อ.ส.ม.ท.) เป็นรายแรกคือ [[ทรูวิชั่นส์#ไอบีซีและยูทีวี|บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด]] หรือไอบีซี เมื่อวันที่ [[17 เมษายน]] [[พ.ศ. 2532]] มีอายุสัมปทาน 20 ปี (ถึงวันที่ [[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2552]]) โดยให้บริการทั้งระบบอนาล็อกและดิจิตอล ผ่านคลื่น, ระบบ[[ไมโครเวฟ]]แบบ[[บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง]] (Multichannel Multipoint Distribution Service) และจานดาวเทียมระบบ KU-Band ต่อมา ไอบีซีขอขยายระยะเวลาสัมปทานกับ อ.ส.ม.ท. อีกประมาณ 5 ปี 5 เดือน จนถึงวันที่ [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2557]]
เส้น 7 ⟶ 8:
เมื่อวันที่ [[12 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2536]] อ.ส.ม.ท.อนุญาตให้เพิ่มผู้ประกอบกิจการรายใหม่คือ [[ทรูวิชั่นส์#ไอบีซีและยูทีวี|บริษัท ยูทีวี เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน)]] หรือยูทีวี เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเป็นธรรมและสมดุล ซึ่งต่อมามีการขยายระยะเวลาสัมปทาน จนถึงวันที่ [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2562]] โดยให้บริการทั้งระบบอนาล็อก และดิจิตอล ผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง และโคแอกเชียล ซึ่งต่อมามีการซื้อหุ้นและรวมกิจการกัน โดยเปลี่ยนชื่อเป็นยูบีซี ซึ่งปัจจุบันคือ[[ทรูวิชั่นส์]]
 
=== โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลระดับท้องถิ่นในประเทศไทย ===
โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลระดับท้องถิ่น ({{lang-en|Local Cable Television}}) เป็นชื่อเรียกผู้ให้บริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ไปยังบ้านเรือนที่เป็นสมาชิกโดยตรง ซึ่งมีเขตการให้บริการอยู่ในแต่ละท้องถิ่นของ[[ประเทศไทย]] ถือเป็นธุรกิจขนาดกลาง มีรายได้จากการจำหน่ายบริการแก่สมาชิก ซึ่งผู้ใช้บริการจะอาศัยอยู่ในแถบชานเมือง หรือตัวเมืองในต่างจังหวัด เนื่องจากคุณภาพในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบนี้ ให้ความคมชัดมากกว่าการใช้เสาอากาศ และยังมีช่องรายการให้รับชมเป็นจำนวนมาก<ref name="อินเทอร์เน็ต">[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=27541 อินเทอร์เน็ตเคเบิลทีวี ปลุกกระแสเน็ตแรง]</ref>