ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิสตรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 4413693 สร้างโดย Nullzero (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
=== ประเทศจีน ===
สถานะของผู้หญิงในประเทศจีนอยู่ในสถานะที่ต่ำ โดยส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีเท้าดอกบัว (foot binding) ผู้หญิงชาวจีนคิดเป็นร้อยละ 45 มีเท้าดอกบัวในช่วงศตวรรษที่ 19 ในระดับชนชั้นที่สูงขึ้นพบว่ามีเท้าดอกบัวเกือบ 100% ในปี ค.ศ. 1912 รัฐบาลจีนสั่งให้มีการสิ้นสุดการมีเท้าดอกบัว เท้าดอกบัวมีส่วนสัมพันธ์กับโครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เท้ามีความยาวเพียงแค่ประมาณ 4 นิ้ว เท้าดอกบัวก่อให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหวดังนั้นจึงทำให้การทำกิจกรรมต่างๆของสตรีมีจำกัด
มีขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม คือ ผู้ชายและผู้หญิงไม่ควรอยู่ใกล้กัน ดังนั้นหญิงชาวจีนจึงมีความลังเลในการเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ชายที่มีการรักษาตามแบบการแพทย์แผนตะวันตก สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดความต้องการแพทย์หญิงอย่างมากในการให้การรักษาตามแบบการแพทย์แผนตะวันตกในประเทศจีน ดังนั้นมิชชันนารีชาวอเมริกันจากคณะอเมริกันบอร์ดจากโบสถ์เพรสบีเทอเรียน (Presbyterian Church) จึงได้ส่งตัวแพทย์หญิงมิชชันนารี ด็อกเตอร์ Mary H. Fulton (ในปี ค.ศ. 1854-1927)<ref> http://www.amazon.com/Inasmuch-Mary-H-Fulton/dp/1140341804</ref> เพื่อไปก่อตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งแรกสำหรับสตรีในประเทศจีน วิทยาลัยนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม Hackett Medical College for Women (夏葛女子醫學院)<ref> http://www.hkbu.edu.hk/~libimage/theses/abstracts/b15564174a.pdf</ref><ref> http://www.cqvip.com/qk/83891A/200203/6479902.html </ref> วิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ในนครกว่างโจว (Guangzhou) ประเทศจีนและได้รับเงินบริจาคจำนวนมากจากคุณ Edward A.K. Hackett (ในปี ค.ศ. 1851-1916) จากรัฐอินดีแอนา (Indiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยนี้มุ่งหวังในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์และการแพทย์แผนปัจจุบันและการยกระดับสถานะทางสังคมของหญิงชาวจีน<ref name="RebeccaChan"> Rebecca Chan Chung, Deborah Chung and Cecilia Ng Wong, "Piloted to Serve", 2012 </ref><ref name="facebook"> https://www.facebook.com/PilotedToServe </ref>
 
{{โครงส่วน}}