ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซูอันไทเฮา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
รูปภาพ = Arms of the Qing Dynasty.svg | ตำแหน่ง = [[รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดินีและพระพันปีหลวงแห่งจี...
{{ใช้ปีคศ}} {{ผู้นำประเทศ <!----------ชื่อ----------> | name = สมเด็จพระจักรพรรดินีฉืออัน <br> พระพันปีหลวง <!----------ภาพ------
บรรทัด 59:
== พระราชประวัติ ==
 
พระพันปีหลวงฉืออันทรงเป็นธิดาของนายมู่หยังกา ({{zh-all|p=Muyangga}}) ข้าราชการชาวแมนจูจากเผ่าหนิวฮู่ลู่ ({{zh-all|p=Niuhuru}}) ที่ทรงอิทธิพลมาก กับนางกี่หยาง ({{zh-all|p=Giyang}}) จากเผ่ากี่หยาง มีพระนามเมื่อแรกประสูติเดิมว่า '''หนิวฮู่ลู่จิงเอ๋อร์''' ตามชื่อเผ่า
 
หนิวฮู่ลู่เข้าถวายตัวเป็นราชบริจาริกาในปลาย[[พุทธศตวรรษที่ 23]] ราวช่วง [[พ.ศ. 2383]]-[[พ.ศ. 2400|2400]] และได้รับการสถาปนาเป็นพระวรชายาของมกุฎราชกุมาร ครั้งนั้น มกุฎราชกุมารมีพระวรชายาเอกอยู่แล้วคือ [[สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี่ยวเต๋อ|นางพระนางสะโกตา]] ({{zh-all|p=Sakda}}) ผู้ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปก่อนพระภัสดาเมื่อวันที่ [[24 มกราคม]] [[พ.ศ. 2393]] และต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเต๋อเสี่ยน" ({{zh-all|c=孝德显|p=Xiào Dé Xiǎn}}) ในเดือนถัดมาหลังจากพระวรชายาสะโกตาเสด็จสิ้นพระชนม์ [[จักรพรรดิเต้ากวง|สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง]]ก็เสด็จสวรรคตด้วย ยังให้มกุฎราชกุมารขึ้นทรงราชย์เป็น[[จักรพรรดิเสียนเฟิง|'''สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง''']]เถลิงรัชกาลใหม่
 
ราวปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน [[พ.ศ. 2395]] หลังพระราชพิธีจัดการพระบรมศพสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวงสิ้นสุดลง หนิวฮู่ลู่ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสี และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "เจิน" ({{zh-all|c=贞|p=Zhēn; ผู้เพรียบพร้อมไปด้วยกัลยาณิสมบัติ}} และในราวปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคมของปีนั้น ก็ได้รับการสถานาขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ [[24 กรกฎาคม]] ปีนั้นเอง เป็นต้นไป จึงมีประกาศให้เฉลิมพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีเจินว่า '''"สมเด็จพระจักรพรรดินีเจิน"'''
บรรทัด 68:
 
วันที่ [[22 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2404]] ภายหลัง[[สงครามฝิ่น]] สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงก็เสด็จสวรรคตขณะทรงลี้ภัยสงครามไปประทับ ณ พระราชวังในเมืองเฉิงเต๋อ ({{zh-all|c=承德|p=Chéngdé}}) [[มณฑลเหอเป่ย์]] ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทางสองร้อยสามสิบ[[กิโลเมตร]] พระโอรสของพระมเหสีเย่เฮ่อน่าลา ซึ่งได้ทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร และในขณะนั้นมีพระชนม์เพียงห้าพรรษา จึงเสวยราชย์เป็นรัชกาลต่อมา พระนามว่า "[[จักรพรรดิถงจื้อ|'''สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ''']]" ด้วยความที่ทรงพระเยาว์อยู่ สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ก่อนจึงได้ทรงแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้โดยมีอัครมหาเสนาบดี คือ '''ซู่ชุ่น''' ({{zh-all|c=肃顺|p=Sùshùn}}) เป็นประธาน โดยคณะผู้สำเร็จราชการฯ ได้ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีเจินเป็น '''"พระพันปีหลวงฉืออัน"''' และพระมเหสีแย่เฮ่อน่าลาเป็น '''"พระพันปีหลวงฉือสี่"''' ตำแหน่งไท่โฮ่วนี้เรียกเป็นภาษาไทยว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง"
 
== พระพันปีหลวงและผู้สำเร็จราชการในจักรพรรดิถงจื้อ ==
 
อย่างไรก็ดี พระพันปีหลวงฉือสี่ ผู้ซึ่งทรงปรารถนาพระราชอำนาจทางการเมือง ได้ทรงก่อ[[รัฐประหาร]]ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน [[พ.ศ. 2404]] เป็นผลสำเร็จด้วยความช่วยเหลือของบรรดาเชื้อพระวงศ์และข้าราชการที่จงชังคณะผู้สำเร็จราชการ ส่งผลให้บรรดาผู้สำเร็จราชการฯ ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้องและกล่าวโทษว่าเป็นกบฏ ต้องโทษประหารชีวิต สมเด็จพระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์จึงได้ว่าราชการอยู่หลังม่านแทนสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อซึ่งทรงพระเยาว์อยู่
เส้น 73 ⟶ 75:
ใน[[ประเทศจีน]]นั้น มักออกพระนามสมเด็จพระพันปีหลวง โดยพระพันปีหลวงฉืออัน ว่า '''"สมเด็จพระพันปีหลวงฝั่งตะวันออก"''' ({{zh-all|c=东太后|p=Dōngtàihòu, ตงไท่โฮ่ว}}) เพราะทรงประทับอยู่พระราชวังจงฉุยฝั่งตะวันออก ({{lang-en|Eastern Zhongchiu Palace}}) และพระพันปีหลวงฉือสี่ว่า '''"สมเด็จพระพันปีหลวงฝั่งตะวันตก"''' ({{zh-all|c=西太后|p=Xītàihòu, สีไท่โฮ่ว}}) เนื่องจากมักประทับยังพระราชวังฉือซิ่วฝั่งตะวันตก ({{lang-en| Western Chuxiu Palace}})
 
 
== กรณีขันทีอันเต๋อไห่ ==
ในต้น[[พุทธศตวรรษที่ 24]] พระพันปีหลวงฉืออันและพระพันปีหลวงฉือสี่ทรงปฏิบัติหน้าที่ด้วยกันในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทน[[จักรพรรดิถงจื้อ|สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ]] และแทน[[จักรพรรดิกวางสู|สมเด็จพระจักรพรรดิกวางสู]]หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อเสด็จดับขันธ์ในเดือนมกราคม [[พ.ศ. 2418]] ก่อนจะทรงบรรลุ[[นิติภาวะ]] ตามลำดับ ถึงแม้โดยนิตินัย พระพันปีหลวงฉืออันจะทรงดำรงอยู่ในพระสถานะสูงกว่าพระพันปีหลวงฉือสี่ แต่ด้วยความที่ไม่ใฝ่พระทัยในการเมือง และทรงพึงพระทัยในความสันโดษมากกว่า ทำให้พระพันปีหลวงฉือสี่ผู้ทรงมีพระบุคลิกลักษณะในทางตรงกันข้าม ได้ซึ่งพระราชอำนาจทางการเมืองไว้โดยพฤตินัยแต่เพียงพระองค์เดียว
 
พระพันปีหลวงฉืออันรงมีบทบาทในทางการเมืองน้อยครั้งมาก และครั้งที่โดดเด่นที่สุดคือใน [[พ.ศ. 2412]] ซึ่ง '''อันเต๋อไห่''' ({{zh-all|c=安德海|p=Āndéhǎi}}) หัวหน้าขันทีในพระราชสำนัก และคนสนิทของพระพันปีหลวงฉือสี่ ได้เดินทางลงใต้เพื่อไปซื้อหาอาภรณ์ลายมังกรจำนวนหนึ่งสำรับไปจัดทำเป็นเครื่องทรงของพระพันปีหลวงฉือสี่ เมื่อไปถึง[[มณฑลชานตง]]กลับแสดงอำนาจบาตรใหญ่โดยอ้างว่าเป็นผู้แทนพระองค์พระพันปีหลวงฉือสี่ และรีดนาทาเร้นเอาทรัพย์สินจากประชาชน ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนทั่วไป ผู้ว่าราชการมณฑลจึงทำหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระพันปีหลวงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทั้งสอง พระพันปีหลวงฉืออันเมื่อตรับแล้ว ก็มีพระราชเสาวนีย์ให้มณฑลจัดการจับกุมและประหารขันทีอันเต๋อไห่โดยไม่ชักช้า ว่ากันว่า การสั่งประหารอันเต๋อไห่นี้ ทำให้พระพันปีหลวงฉือสี่ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง
 
== พระพันปีหลวงและผู้สำเร็จราชการในจักรพรรดิกวางซวี่ และการเสด็จทิวงคต==
 
ในวันที่ [[12 มกราคม]] [[พ.ศ. 2418 ]] สมเด็จพระ[[จักรพรรดิถงจื้อ]]เสด็จสวรรคตโดยไม่มีพระราชโอรส จึงทำให้ต้องมีการเลือกฮ่องเต้พระองค์ใหม่ ซึ่ง พระพันปีหลวงฉืออัน เลือก พระโอรสของเจ้าชายกง เป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ แต่พระนาง[[ซูสีไทเฮา]]ผู้มีอิทธิพลในราชสำนักเหนือกว่าพระนางซูอันไทเฮาในขณะนั้นได้เลือก [[จักรพรรดิกวังซวี่|องค์ชายไจ้เทียน]](สมเด็จพระจักรพรรดิกวางสูในอนาคต) พระโอรสเจ้าชายชุนที่ 1 ซึ่งการเลือกองค์ชายไจ้เทียนเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ โดยมี พระพันปีหลวงฉืออันและ พระพันปีหลวงฉือสีป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกัน
 
วันที่ [[8 เมษายน]] [[พ.ศ. 2424]] ระหว่างทรงออกขุนนางตอนเช้า พระพันปีหลวงฉืออันทรงรู้สึกไม่สบายพระองค์ จึงเสด็จกลับพระราชฐาน และเสด็จทิวงคตในบ่ายวันนั้น การทิวงคตโดยปัจจุบันทันด่วนของพระพันปีหลวงฉืออันสร้างความตื่นตะลึงแก่ประชาชนทั่วไป เพราะพระสุขภาพพลานามัยของพระนางอยู่ในขั้นดียิ่งยวดเสมอมา สามสิบปีให้หลังไดแกิดแต่ข่าวลือแพร่สะพรัดทั่วไปในจีนว่า เป็นพระพันปีหลวงฉือสี่ ที่ทรงวาง[[ยาพิษ|พระโอสถพิษ]]แก่พระพันปีหลวงฉืออัน ว่ากันว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะกรณีประหารขันทีอันเต๋อไห่ หรือเพราะพระพันปีหลวงฉืออันทรงถือพระราชโองการจาก[[จักรพรรดิเสียนเฟิง|สมเด็จพระจักรพรรดิในพระโกศเสียนเฟิง]]ให้มีพระราชอำนาจสั่งประหารพระพันปีหลวงฉือสี่ได้ หากว่าพระนางทรงก้าวก่ายการบ้านการเมือง หรือมีพระราชวิสัยไม่เหมาะสมอย่างไร อย่างไรก็ดี ข่าวลือดังกล่าวยังไร้หลักฐานยืนยันข้อเท็จจริง และนักประวัติศาสตร์ไม่ยอมรับอย่างเต็มร้อยในเรื่องการวางพระโอสถพิษดังกล่าว แต่สันนิษฐานกันว่า พระพันปีหลวงฉืออันทรงประชวร[[โรคลมปัจจุบัน|พระโรคลมปัจจุบัน]] โดยอ้างอิงบันทึกทางการแพทย์ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์สมัยนั้น การสิ้นพระชนม์ของพระพันปีหลวงฉืออัน ส่งผลให้พระพันปีหลวงฉือสี่ทรงเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินแต่เพียงผู้เดียวอย่างเต็มพระองค์
 
พระพันปีหลวงฉืออันทรงได้รับการเฉลิมพระนามหลังเสด็จสวรรคตแล้วว่า '''"สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเจินฉืออันยู้ชิ้งเหอจิ้งเฉิงจิ้งอี้เทียนโจ้วเชิ้งเสี่ยน"''' ({{zh-all|c=孝贞慈安裕庆和敬诚靖仪天祚圣显皇后|p=Xiào Zhēn Cí Ān Yù Qìng Hé Jìng Chéng Jìng Yí Tiān Zuò Shèng Xiǎn}}) เรียกโดยย่อว่า "สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวเจินเสี่ยน" ({{zh-all|c=孝贞显皇后|p=Xiào Zhēn Xiǎn}}) ทั้งนี้ พระศพพระพันปีหลวงฉืออันได้รับการบรรจุ ณ [[สุสานหลวงราชวงศ์ชิงฝ่ายตะวันออก]] ({{zh-all|c=清东陵|p=Qīngdōnglíng, ชิงตงหลิง}}) ห่างจาก[[กรุงปักกิ่ง]]ไปทางตะวันออกเป็นระยะทางหนึ่งร้อยยี่สิบห้า[[กิโลเมตร]] เคียงข้างกับพระศพของพระพันปีหลวงฉือสี่และ[[จักรพรรดิเสียนเฟิง|สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง]]
เส้น 86 ⟶ 90:
== พระอุปนิสัย ==
 
พระพันปีหลวงฉืออันนั้นเป็นที่เคารพยำเกรงเพราะทรงมีพระจริตอ่อนโยนและมีพระเมตตา ซึ่งตรงกันข้ามกับพระพันปีหลวงฉือสี่โดยสิ้นเชิงที่ผู้คนยำเกรงเพราะมีพระจริตดุดัน โหดร้าย และเจ้าเล่ห์ พระพันปีหลวงฉืออันทรงเอาพระทัยใส่ผู้คนรอบข้างเป็นอย่างดี จึงทำให้ทรงได้รับการเคารพจาก[[จักรพรรดิเสียนเฟิง|สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง]] และ[[จักรพรรดิถงจื้อ|สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ]] พระโอรสของพระพันปีหลวงฉือสี่ เป็นอย่างยิ่งแม้ทรงมิใช่พระชนนีแท้ ๆ ก็ตาม แม้แต่ [[จักรพรรดิกวังซวี่]] ขณะทรงพระเยาว์ก็ทรงเคารพพระพันปีหลวงฉืออันเป็นอย่างมาก ความที่มีพระอุปนิสัยแตกต่างกันคนละขั้วของสมเด็จพระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์นี้ ทำให้พระพันปีหลวงฉือสี่ทรงพระดำริว่า พระพันปีหลวงฉืออันเป็นหญิงเบาปัญญา หาความสามารถมิได้ ไม่ใส่ใจกิจการทั้งปวงเอาเสียเลย และลับหลัง ก็มักทรงพระโกรธพระพันปีหลวงฉืออันเป็นนิตย์ ผู้คนจึงเชื่อกันว่าการดับขันธ์อย่างปัจจุบันทันด่วนของพระพันปีหลวงฉืออันผู้ทรงมีพระพลานามัยเป็นปรกติเสมอนั้น เป็นการกระทำของพระพันปีหลวงฉือสี่
 
อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์หลายรายกล่าวว่า ด้วยความที่พระพันปีหลวงฉืออันมีพระอุปนิสัยเช่นนั้น ทำให้ทรงมีพระจริยาวัตรเอื่อยเฉื่อย ไม่ใส่ใจกิจการทั้งปวง และเห็นแก่พระองค์มากกว่าส่วนรวมเฉกเช่นที่พระพันปีหลวงฉือสี่ทรงพระดำริ แต่พระพันปีหลวงฉือสี่นั้นเป็นหญิงแกร่งที่ทรงมีคุณสมบัติเหมาะสมจะเป็นผู้นำคนได้ กระทั่งในยามที่ประเทศจีนประสบปัญหาใหญ่หลวง พระพันปีหลวงฉือสี่ก็เอาพระทัยใส่ไม่อนาทร แต่พระพันปีหลวงฉืออันกลับเมินเฉยเพราะโปรดพระชนมชีพที่เรียบง่ายในพระราชวังมากกว่ากิจการที่ยุ่งยาก