ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[File:Horseshoe Crab.jpg|thumb|200px|[[แมงดาทะเล]] จัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างน้อยมากเมื่อเทียบกับบรรพบุรุษเมื่อกว่า 450 ล้านปีมาแล้ว]]
'''ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต''' หรือ '''ฟอสซิลที่มีชีวิต''' ({{lang-en|Living fossil}}) หมายถึง[[สิ่งมีชีวิต]]ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช, สัตว์, ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ใน[[ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับ[[ฟอสซิล]] (Fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต
 
เส้น 7 ⟶ 8:
โดยชนิดของซากดึำกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ [[ปลาซีลาแคนท์]] ที่ถูกค้นพบเมื่้อปลายปี ค.ศ. 1938 ที่ชายฝั่ง[[แอฟริกาตะวันออก]] จากเดิมที่เคยเชื่อว่า[[สูญพันธุ์]]ไปแล้ว ตั้่งแต่ยุค[[ครีเตเชียส]]<ref>[http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000137353 Coelacanth ปลาดึกดำบรรพ์ที่ยังไม่สูญพันธุ์ จากผู้จัดการออนไลน์]</ref>
 
สิ่งมีชีวิตจำพวก[[ปลา]]นับได้ว่า มีจำนวนของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปลาถือเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกแรกในโลกที่มี[[กระดูกสันหลัง]] และเป็นต้นทางของการวิวัฒนาการจากน้ำมาสู่บก จนกระทั่งกลายเป็นสัตว์บกจำพวกต่าง ๆ เช่นในปัจจุบัน นอกเหนือจากปลาซีลาแคนท์แล้ว ก็ยังมี ปลาปอด, [[ปลาไบเคอร์]]<ref>[http://www.ninekaow.com/profiles/?action=view&catID=0000023&pid=0000217 ''Polypterus senegalus'']</ref>, [[ปลาอะโรวาน่า]]<ref>[http://www.aquarticles.com/articles/travel/Wyne_Osteoglossid_Fossil.html Arowana - True Fossil Fish {{en}}]</ref> รวมถึง[[ปลาฉลาม]]อีกหลายบางชนิด<ref>[http://news.nationalgeographic.com/news/2007/01/photogalleries/frilled-shark/ Rare "Prehistoric" Shark Photographed Alive {{en}}]</ref> เป็นต้น
 
สำหรับสัตว์จำพวกอื่น เช่น [[สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ]] ได้แก่ [[ซาลาแมนเดอร์ยักษ์]] ที่ยังคงโครงสร้างของสรีระแบบ[[ซาลาแมนเดอร์]]ที่พบในยุคก่อนประวัติศาสตร์อยู่<ref>หน้า 160, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0 </ref> [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] นอกเหนือจากตุ่นปากเป็ดแล้ว ยังมี[[หนูหิน]] ที่มีการค้นพบใน[[ประเทศลาว]] ซึ่งเป็นสัตว์ฟันแทะ ที่ญาติ ๆ ได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้วเมื่อ 11 ล้านปีก่อน โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิลพบใน[[มณฑลซานตง]] ทางตอนใต้ของประเทศจีน<ref>[http://www2.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000033634 สุดยอด รอดมา 11 ล้านปี "หนูหิน" พันธุ์ใหม่ในลาว จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]]</ref> และ[[แพนด้าแดง]] ที่พบในแถบประเทศจีน, ธิเบต และตอนเหนือของพม่า<ref>Roberts, MS & Gittleman, JL (1984). "''Ailurus fulgens''". Mammalian Species (American Society of Mammalogists) 222 (222): 1–8.</ref> เป็นต้น