ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฌอร์ฌ บรัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Toeytoey28 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Toeytoey28 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
===ลัทธิคิวบิสม์===
งานจิตรกรรมของบาร์คในปี 1908-1913 ได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจใหม่ของ บาร์ค ในเรื่องของรูปทรงเรขาคณิตและทัศนียภาพที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ซึ่งเขาทำการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้แสงและทัศนียวิทยา ในภาพวาดคนเปลือยของเขาระยะนี้เน้นให้เห็นถึงการเอาใจใส่ในโครงสร้างของรูปทรงอย่างชัดเจน รูปร่างมีความง่ายและตัดเส้นรอบนอกด้วยรูปสีดำ หนักและหนา พื้นหลังภาพมีรายละเอียดปรากฏเป็นรูปเหลี่ยมใหญ่ มีแง่มุม ซึ่งในระหว่างปี ค.ศ.1908-1909นั้นเขาได้วาดภาพทิวทัศน์ไว้หลายภาพ โดยเริ่มต้นจากหลักความคิดของพอล เซซาน แล้วค่อยพัฒนาเข้าสู่หลักทฤษฎีของลัทธิคิวบิสม์ เช่น หลีกเลี่ยงการใช้หลักเกณฑ์เก่าๆที่ทำให้ภาพเกิดมิติและรูปวัตุในช่องว่าง เขาได้สร้างภาพให้เต็มไปด้วยพื้นระนาบ มีการใช้เส้นแบบเรขาคณิต ไม่เพียงเท่านั้น เขากับปิกัสโซ ร่วมมือกันคิดค้นให้ลึกซึ้งลงไปอีก มีการวิเคราะห์ความเป็นนามธรรมของรูปทรง ทั้งคู่ได้ถึงจุด เฮอเมทิคสไตล์ (Hermetic Style) คือรูปทรงที่ทึบตัน ประมาณปีค.ศ.1911
[[ไฟล์:GeorgePortuguese-1911 Braque Portugesejpg!Blog.jpg|342*500px|framed|left|George Braque,Portugese,1911 ,Oil on canvas 116.8 cm × 81 cm Kunstmuseum Basel, Switzerland ]]
 
บาร์คถือได้ว่าเป็นจิตรกรคนแรกที่นำตัวหนังสือมาใช้กับภาพจิตรกรรม ซึ่งอาจมีผู้ทำมาก่อนแต่ไม่เด่นชัดมากเท่านี้ เห็นได้จากภาพชื่อ “ชาวโปรตุเกส” ที่วาดขึ้นในปีค.ศ.1911 ส่วนการใช้เศษวัสดุต่างๆเช่น กระดาษ ผ้า หรือที่เรียกกันว่า งานคอลลาจ นั้น ได้ใช้ในปีถัดมา ซึ่งบาร์คสามารถผสมสิ่งที่อ่านได้ เช่น ตัวหนังสือ เข้ากับความจริงอันเป็นรูปธรรมปรากฏในผลงาน ทั้งยังเพิ่มคุณค่าในด้านความงามแบบมัณฑนศิลป์ หรือแบบศิลปะตกแต่ง ดังเช่นการใช้กระดาษที่หยาบหรือมีลวดลายต่างๆกัน เพิ่มรอยพื้นผิว({{lang-en|texture}}) ทำให้ผลงานของเขานั้นดูสนุกตามากยิ่งขึ้น และเมื่อต้นปีค.ศ.1930 ความเคลื่อนไหวของลัทธิคิวบิสม์เบาลง เมื่อศิลปะนิยมแบบเซอเรียลลิสม์ได้รับความนิยมแทนที่ ในขณะที่ผลงานของปิกัสโซหันเหไปทำงานตามแนวลัทธิใหม่ แต่บาร์คยังคงยืนหยัดทำงานแนวคิวบิสม์ต่อไป นอกจากนี้ยังหันไปทำงานประติมากรรมด้วย ส่วนมากจะเป็นภาพของสัตว์ต่างๆเช่น ม้า ปลา เป็นงานชิ้นเล็กๆ และมีลักษณะแบนซึ่งให้ความงามแบบเรียบๆ และมีเสน่ห์ ได้รับความนิยมจากนักออกแบบที่ระลึกนำไปดัดแปลงเป็นศิลปะตกแต่งบ้าน
 
== อ้างอิง ==