ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุขาวดี (นิกาย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Chinese temple bouddha.jpg|thumb|275px|[[พระอมิตาภพุทธะ]]และ[[พระโพธิสัตว์]] 2 องค์คือ[[พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์]] (ขวา) และ[[พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์]] (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, [[ไต้หวัน]]]]
 
'''นิกายสุขาวดี''' ({{zh-all|t=淨土宗|s=净土宗|p=Jìngtǔzōng}}; {{lang-ja|浄土教}}, ''Jōdokyō''; {{lang-ko|정토종}}, ''jeongtojong''; {{lang-vi|Tịnh Độ Tông}}) เป็น[[นิกายในศาสนาพุทธ]]ที่ตั้งขึ้นครั้งแรกใน[[ประเทศจีน]] แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจาก[[อินเดีย]] แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ ตั้งขึ้นโดย[[พระฮุ่นเจียง]]เมื่อพุทธศตวรรษที่ 9 สมัย[[ราชวงศ์ตั้งจิ้น]] คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึง[[พระอมิตาภพุทธะ]]และปรารถนาไปเกิดในแดน[[สุขาวดี]] ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า '''นิกายจิ้งถู่วิสุทธิภูมิ''' (จิ้งถู่จง)
 
== คัมภีร์ ==
 
คัมภีร์ที่สำคัญมี 4 เล่มคือ [[มหาสุขาวดีวยูหสูตร]] แปลเป็น[[ภาษาจีน]]เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 7 [[อมิตายุรธยานสูตรรัธยานสูตร]] [[จุลสุขาวดีวยูหสูตร]] และ[[อมิตายุอุปเทศสูตร]] นอกจากนั้นยังมีคัมภีร์ของนิกายนี้ที่แต่งเพิ่มเติมใน[[ประเทศญี่ปุ่น]]
 
== หลักธรรม ==
นิกายนี้ถือว่าการพ้นทุกข์ของสรรพสัตว์ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วย นิกายนี้จึงเน้นการไปเกิด ณ แดน[[สุขาวดี]]ของพระอมิตาภะ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อไปเกิดแล้วจะไม่ตกต่ำมาสู่[[อบายภูมิ]]อีก โดยผู้จะไปเกิดต้องมีคุณธรรมสามประการคือ กตัญญูกตเวที ยึดพระ[[พระรัตนตรัย]]เป็นที่พึ่ง จิตมั่นคงต่อโพธิญาณ นอกเหนือจากนี้ต้องสวดมนต์ระลึกถึงพระอมิตาภะตั้งปณิธานไปเกิดในสุขาวดีจึงจะได้ไปเกิดสมปรารถนา
 
== ชั้นของสุขาวดี ==
 
ดินแดน[[สุขาวดี]]หรือ[[พุทธเกษตร]]ของพระอมิตาภะตามที่กล่าวไว้ใน[[อมิตายุรธยานสูตรรัธยานสูตร]]มี 9 ชั้นคือ
# สำหรับผู้มีเมตตากรุณา มีศีลสมบูรณ์ มีจิตเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
# สำหรับผู้มีความรู้แตกฉานในธรรม เลื่อมใสนิกายมหายาน เชื่อในกฏแห่งกรรม เมื่อตายจะไปอยู่ในดอก[[บัว]]ไม่ทันข้ามวัน ดอกบัวจะบาน ได้ฟังธรรมภายใน 7 วัน
บรรทัด 29:
 
== สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนิกายสุขาวดี ==
=== พระอมิตาภพุทธเจ้าอมิตาภพุทธะ ===
[[ไฟล์:Amitabha.png|thumb|150px|[[พระอมิตาภพุทธเจ้า]]]]
[[พระอมิตาภพุทธะ]] แปลว่า พระ[[พระพุทธเจ้า]]ผู้มีแสงประภาสส่องสว่างไม่มีประมาณ หรือพระอมิตายุพุทธะ แปลว่า พระผู้มีอายุขัยยาวนานไม่มีประมาณ เป็น[[พระธยานิพุทธะ]] 1 ใน 5 องค์ ประทับอยู่ทางตะวันตกของพุทธมณฑล พระกายสีแดงก่ำ เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะ หมายถึงปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลือกปฏิบัติในทางที่ถูก สัญญลักษณ์คือดอกบัว พระพุทธเจ้าในตระกูลนี้ทั่วไปใช้บัวแดง พระโพธิสัตว์ปางดุใช้บัวขาว ภาพวาดของพระองค์มักวาดให้พระหัตถ์ยาวหมายถึงความสามารถที่จะเอื้อมพาสรรพสัตว์เข้าสู่แดน[[สุขาวดี]] มีพระชิวหายาวตระหวัดได้รอบโลกหมายถึงความสามารถในการแสดงธรรมได้ทั่วโลก ทรงนกยูงเป็นพาหนะนับถือส่วนใหญ่ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมในภาษาไทยยามใกล้จะสิ้นใจพระอมิตาภพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ จะเสด็จมารับไปยังแดนสุขาวดี พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่ปรากฏในนิกาย[[เถรวาท]] เพราะพระไตรปิฏกไม่เคยกล่าวถึง
 
=== พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ===
บรรทัด 42:
 
== อ้างอิง ==
* ประสงค์ แสนบุราณ. ''พระพุทธศาสนามหายาน''. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548
* ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ''ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น''. กทม. สุขภาพใจ. 2545
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==