ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
เมื่อพระเจ้าซองจงขึ้นครองราชย์ได้มีการปูนบำเน็จขุนนางผู้มีความดีความชอบ (공신, 功臣) ซึ่งขุนนางกลุ่มนี้มีอภิสิทธิ์หลายอย่างและมีทรัพย์สินร่ำรวย<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C09/E0903.htm</ref> รวมทั้งดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูงของระบอบการปกครอง เรียกว่า กลุ่มขุนนางเก่า (훈구파, 勳舊派) ซึ่งมีอำนาจมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเซโจ เหตุการณ์ที่พระเจ้าเซโจทรงแย่งราชบัลลังก์มาจาก[[พระเจ้าทันจง]]และกวาดล้างขุนนางที่ต่อต้านทำให้เกิดนักปราชญ์ขึ้นกลุ่มใหม่ ที่ต้องลี้ภัยการเมืองไปอาศัยอยู่ตามป่าเขาถูกกีดกันจากวงราชการ เรียกว่า กลุ่มซาริม (사림파, 士林派) เมื่อพระเจ้าซองจงมีพระชนมายุครบยี่สิบชันษาเมื่อค.ศ. 1476 ทรงว่าราชการด้วยพระองค์เองและทรงดึงขุนนางกลุ่มซาริม นำโดยคิมจงจิก (김종직, 金宗直) เข้ามารับราชการในสามกรม (삼사, 司) เพื่อคานอำนาจกับกลุ่มขุนนางเก่า
 
พระเจ้าซองจงทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นกษัตริย์ตามแบบของลัทธิขงจื้อพระองค์แรกของราชวงศ์โจซอน ในรัชสมัยของพระองค์เกาหลีได้กลายเป็นสังคมขงจื้ออย่างเต็มตัว ในค.ศ. 1478 ทรงตั้ง''ฮงมุนกวาน'' (홍문관, 弘文館) <ref>http://www.koreaaward.com/kor/history/135</ref> ไว้เป็นสถานศึกษาและห้องสมุดคล้ายกับจีพยอนจอนของพระเจ้าเซจงมหาราช ฮงมุนกวานเมื่อรวมกับ''ซากันวอน'' (사간원, 司諫院) และ''ซาฮอนบู'' (사헌부, 司憲府) แล้วเรียกว่า สามกรม<ref>Jae Un-Kang, Jae Eun-Kang. ''The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism''.</ref> เป็นหน่วยงานที่คอยตรวจสอบการทำงานของขุนนางผู้ใหญ่กลุ่มขุนนางเก่า หรือแม้แต่องค์กษัตริย์เอง และเป็นที่สำหรับขุนนางกลุ่มซาริมที่จะเข้ามามีบทบาทในราชสำนัก<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C09/E0904.htm</ref> พระเจ้าซองจงยังทรงดำเนินนโยบายกดขี่พระพุทธศาสนาโดยการห้ามสร้างวัดและห้ามมิให้พระภิกษุเข้าเมืองฮันซฮันซอง พระเจ้าซองจง ทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอและไร้ความเด็ดขาด ในราชบัลลังก์ของพระองค์เอง และอำนาจของพระองค์ ทรงถูกบั่นทอนลงอย่างมาก จากเหล่าขุนนางของพระองค์เอง และยังทรงถูกแทรกแซงจาก พระพันปีอินซู อีกด้วย
 
พระมเหสีจากตระกูลยุน ในอดีตเคยเล่นผูกพันและรักกับพระเจ้าซอนจงแต่เด็ก ทว่าถูกกำแพงชนชั้นปิดกั้นด้วยเหตุผลทางชนชั้นและครอบครัวกล่าวคือบิดาของพระมหสีถูกใส่ร้ายว่าเป็นกบฏ ตำแหน่งของบิดาพระมเหสีในตอนนั้นคือเจ้ากรมการศึกษาซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีในปัจจุบัน ครอบครัวของพระมเหสีจึงแทบถูกเนรเทศ ส่วนทางครอบครัวพระเจ้าซอนจงตอนนั้นแม้เป็นเพียงองค์ชายและยังไม่ได้อยู่ในวังแต่พระราชมารดาไม่โปรดที่พระเจ้าซอนจงออกไปเล่นและพบปะเช่นนั้น