ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัสซีนี–เฮยเคินส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: จัดรูปแบบ {{ลิงก์เสีย}}
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: จัดรูปแบบ {{ลิงก์เสีย}}
บรรทัด 4:
'''แคสซีนี–ฮอยเกนส์''' ({{lang-en|Cassini–Huygens}}) เป็นภารกิจยานอวกาศร่วมระหว่าง[[นาซา]]/[[องค์การอวกาศยุโรป|ESA]]/[[องค์การอวกาศอิตาลี|ASI]] เพื่อศึกษา[[ดาวเสาร์]]และดาวบริวารตามธรรมชาติจำนวนมากตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศใน พ.ศ. 2540 หลังพัฒนาแนวคิดมานานเกือบสองทศวรรษ ยานอวกาศดังกล่าวมีส่วนโคจรดาวเสาร์และยานสำรวจและส่วนลงอุตุนิยมวิทยาสำหรับดวงจันทร์[[ไททัน (ดวงจันทร์)|ไททัน]] แม้มันจะยังส่งกลับข้อมูลอย่างอื่นอีกอย่างกว้างขวาง รวมไปถึง[[เฮลิโอสเฟียร์]] [[ดาวพฤหัสบดี]] และ[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพ|การทดสอบสัมพัทธภาพ]] ยานสำรวจไททัน ฮอยเกส์ เข้าและลงจอดบนไททันใน พ.ศ. 2548 แผนภารกิจช่วงสุดท้ายปัจจุบันคือการพุ่งชนดาวเสาร์ใน พ.ศ. 2560
 
ยานสำรวจอวกาศแคสซีนี-ฮอยเกนส์ที่สมบูรณ์ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดย ไททัน 4บี/เซ็นทอร์ และหลังการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์อันยาวนาน มันได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ยานสำรวจฮอยเกนส์ถูกแยกจากส่วนโคจรเมื่อเวลาประมาณ 02:00 [[UTC]] ฮอยเกนส์ถึงดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 เมื่อมันเคลื่อนเข้าไปในชั้นบรรยากาศของไททัน และลดระดับลงจนถึงพื้นผิว ส่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับไปยังโลกด้วยการตรวจวัดทางไกล (telemetry) ซึ่งการลงจอดดังกล่าวนับเป็นการลงจอดที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกในระบบสุริยะชั้นนอก วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551 นาซาประกาศขยายทุนสำหรับปฏิบัติการภาคพื้นดินของภารกิจนี้สองปี ซึ่งภารกิจถูกเปลี่ยนชื่อเป็น '''ภารกิจวิษุวัตแคสซีนี''' (Cassini Equinox Mission)<ref name=ExtensionTo2010>{{cite news| url=http://www.cnn.com/2008/TECH/science/04/16/NASA.Saturn.ap/index.html | title=NASA extends Saturn mission - CNN.com}} {{ลิงก์เสีย|date=Augustสิงหาคม 2010|bot=RjwilmsiBot}}</ref> และได้ขยายอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ด้วย'''ภารกิจอายันแคสซีนี''' (Cassini Solstice Mission) ที่จะมีต่อเนื่องไปจนถึง พ.ศ. 2560 แคสซีนีเป็นยานสำรวจอวกาศลำที่สี่ที่ไปถึงดาวเสาร์และลำแรกที่เข้าสู่วงโคจร
 
สิบหกประเทศทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาจัดตั้งทีมซึ่งรับผิดชอบต่อการออกแบบ การก่อสร้าง การบินและการเก็บข้อมูลจากส่วนโคจรแคสซีนีและยานสำรวจฮอยเกนส์ ภารกิจดังกล่าวบริหารจัดการโดย[[ห้องปฏิบัติการการขับดันเจ็ต]]ของนาซาในสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งส่วนโคจรถูกออกแบบและประกอบ การพัฒนายานสำรวจไททันฮอยเกนส์บริหารจัดการโดยศูนย์วิจัยอวกาศและเทคโนโลยียุโรป อุปกรณ์เครื่องมือสำหรับยานสำรวจดังกล่าวได้รับการจัดหาจากหลายประเทศ องค์การสำรวจอวกาศอิตาลี (ASI) จัดหาเสาวิทยุกำลังขยายสูงของยานสำรวจแคสซีนี และเรดาร์น้ำหนักเบาและกะทัดรัด ซึ่งทำหน้าที่อเนกประสงค์ทั้งเป็นการถ่ายภาพจากเรดาร์ (synthetic aperture radar) มาตรความสูงเรดาร์และมาตรรังสี