ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
}}
 
'''บ่าง''' หรือ '''พุงจง''' หรือ '''พะจง''' ใน[[ภาษาใต้]] หรือ '''ปักขพิฬาร'''<ref>[http://guru.sanook.com/dictionary/dict_royals/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A3/ [[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน]]]</ref> ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Colugo, Flying lemur, Sunda flying lemur, Malayan flying lemur) [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]จำพวกหนึ่งใน[[Dermoptera|อันดับบ่าง]] (Dermoptera)

==ลักษณะ==
มีรูปร่างคล้าย[[กระรอกบิน]]ขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] มีชื่อ[[วิทยาศาสตร์]]ว่า ''Galeopterus variegatus'' นับเป็น[[สิ่งมีชีวิต]]เพียง[[species|ชนิด]]เดียวเท่านั้นที่อยู่ใน[[genus|สกุล]] ''Galeopterus''<ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt จาก ITIS.org]</ref>
 
มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ ผิวหนังย่น ตามีขนาดใหญ่[[สีแดง]] ใบหูเล็ก มีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว สีขนมีหลากหลายมาก โดยสามารถเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ทั้ง[[สีน้ำตาล|น้ำตาล]][[แดง]] หรือ[[เทา]] รวมทั้งอาจมีลายเลอะกระจายไปทั่วตัวด้วย โดยตัวเมียมีสีอ่อนกว่าตัวผู้ หางมีลักษณะแหลมยาว มีพังผืดเชื่อมติดต่อกันทั่วตัว โดยเชื่อมระหว่างขาหน้าและขาหลัง ขาหลังกับหาง ระหว่างขาหน้ากับคอ และระหว่างนิ้วทุกนิ้ว มีความยาวหัวและลำตัวโตเต็มที่ราว 34-42 [[เซนติเมตร]] หาง 22-27 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.8 [[กิโลกรัม]]
 
==พฤติกรรมและถิ่นที่อยู่==
 
บ่างมักอาศัยและหากินอยู่บนต้นไม้สูง และสามารถอาศัยได้ในป่าทุกสภาพ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ป่าเสื่อมโทรม หรือตามเรือกสวนไร่นาที่มีการทำเกษตรกรรม ไม่ค่อยลงมาพื้นดิน ออกหากินใน[[กลางคืน|เวลากลางคืน]] โดยตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนตามยอดไม้หรือโพรงไม้ กินอาหารจำพวกพืช ได้แก่ ยอดไม้ ดอกไม้ เป็นหลัก สามารถร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นหนึ่งได้ไกลกว่ากระรอกบินมาก ใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 60 วัน ออกลูกครั้งละตัว บางครั้งอาจมี 2 ตัว ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ แม่บ่างอาจออกลูกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ลูกบ่างแรกเกิดมักมีการพัฒนาไม่มากนักคล้าย[[มาร์ซูเปียเลีย|สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง]] แม่บ่างจะเลี้ยงลูกไว้โดยให้เกาะที่ท้อง เวลาเกาะอยู่กับต้นไม้ ผังผืดระหว่างขาจึงทำหน้าที่เหมือนเปลเลี้ยงลูกเป็นอย่างดี แม้ยามมีลูกอ่อน แม่บ่างก็ร่อนหาอาหารได้เหมือนเดิม โดยลูกบ่างจะยึดเกาะขนที่หน้าท้องแม่ไว้แน่น
เส้น 36 ⟶ 41:
บ่าง เป็นสัตว์ที่มีเสียงร้องคล้ายเสียงคน[[ร้องไห้]] และความเป็นสัตว์ที่มีหน้าตาน่าเกลียดและหากินในเวลากลางคืน จึงเป็นที่รับรู้กันดีของคนที่อาศัยอยู่ชายป่าหรือผู้ที่นิยมการผจญภัย ว่าเสียงร้องของบ่างน่ากลัวเหมือน[[ผี]]
 
เมื่อ[[ดวงอาทิตย์|พระอาทิตย์]]จะลับขอบฟ้า หรือ [[สนธยา|ยามโพล้เล้โพล้เพล้]] บ่างจะแสดงพฤติกรรมชวนสงสัยแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือ จะออกมาจากที่หลบนอน แล้วห้อยตัวลงมาคล้าย[[ค้างคาว]] โดยใช้เท้าหลังทั้งสองเกาะกิ่งไม้ แล้วทิ้งลำตัวห้อยลงมาในแนวดิ่ง ส่วนหัวและเท้าหน้าจะม้วนงอเข้าหาลำตัว (หากมองผิวเผินจะเหมือน[[ค้างคาวแม่ไก่]]กำลังห้อยหัวมาก) พฤติกรรมนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้ชัดเจน บ่างจะห้อยตัวเช่นนี้ไปจนกว่าแสงสุดท้ายจะลับขอบฟ้าไป แล้วจะปีนป่ายไปหาต้นไม้ต้นประจำในการร่อน มักจะเป็นต้นไม้ที่มีทรงพุ่มสูง ๆ ที่ยืนอยู่เดี่ยว ๆ เพราะจะทำให้มีพื้นที่ในการร่อนมาก
 
บ่างในบางครั้งอาจจะสับสนกับ [[กระรอกบิน]] ซึ่งที่จริงแล้วบ่างกับกระรอกบินเป็นสัตว์คนละ[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]]กัน โดย[[ภาษาใต้]]จะเรียกบ่างว่า "พะจง" หรือ "พุงจง" แต่ใน[[ภาษาเหนือ]]และ[[ภาษาอีสาน]]จะเรียกกระรอกบินว่า "บ่าง" จึงทำให้อาจเกิดความสับสนกัน
 
ใน[[สำนวนไทย]]มีคำที่กล่าวเกี่ยวกับบ่างว่า '''บ่างช่างยุ''' มีความหมายเปรียบกับ คนที่ชอบยุแยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน
 
==ดูเพิ่ม==
*[[Cynocephalus volans|บ่างฟิลิปปิน]]
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Galeopterus variegatus}}
 
==อ้างอิง==
* [http://www.verdantplanet.org/animalfiles/colugo_(Cynocephalus_variegatus).php บ่าง, พุงจง, พะจง]
{{รายการอ้างอิง}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Galeopterus variegatus}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{wikispecies-inline|Galeopterus variegatus}}
 
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/บ่าง"